การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ
ปรัชญา
กศน.ตำบลบ้านเป็ดจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อปวงชน
วิสัยทัศน์
สร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
เชิดชูคุณธรรม ก้าวนำเทคโนโลยี
สู่วิถีพอเพียง คู่เคียงประชาชน
กลุ่มเป้าหมาย
การดำเนินงาน กศน.ตำบลบ้านเป็ด มุ่งเน้นจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่พลาดโอกาส ขาดโอกาสทางการศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญดังต่อไปนี้
- กลุ่มผู้ต้องขัง
- กลุ่มผู้ใช้แรงงาน
- กลุ่มผู้สูงอายุ
- กลุ่มเกษตรกร
- กลุ่มผู้นำท้องถิ่น
- กลุ่มผู้จบการศึกษาภาคบังคับและไม่ได้เรียนต่อ
- กลุ่มนักเรียนในวัยเรียน แต่ไม่สามารถเรียนในระบบโรงเรียนได้
- กลุ่มผู้ปฏิบัติศาสนกิจ
- กลุ่มสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ยุทธศาสตร์
กศน.ตำบลบ้านเป็ด กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลและสร้าง
ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการบริหาร การบริการ
และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนและกลุ่มบุคคล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เสริมสร้างความเข้มแข็ง และประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนสามัญ ครู กศน. และภาคีเครือข่าย
กลยุทธ์
กลยุทธ์ (Strategy ) การดำเนินงาน
กลยุทธ์ที่ 1 เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง
กลยุทธ์ที่ 2 ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับสภาพกลุ่มเป้าหมาย
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาให้เป็นฐานความรู้ของชุมชน
กลยุทธ์ที่ 4 ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 5 จัดระบบบริหารเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ
การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
กลยุทธ์ที่ 1 เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง : ชุมชนเป็นฐาน (Community Based)
วิธีการ
1. ใช้เครื่องมือสำรวจรายครัวเรือน เพื่อให้ได้ข้อมูลรายบุคคล ได้แก่ ที่ตั้งครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน , สถานภาพ , การศึกษา , อายุ ,อาชีพ , รายได้
2. สร้างกระแส กระตุ้น และประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญของการยกระดับการศึกษา
การแก้ปัญหาความยากจน และการศึกษาตลอดชีวิต พัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชน / ศูนย์ข้อมูลชุมชน
กลยุทธ์ที่ 2 ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับสภาพกลุ่มเป้าหมาย
วิธีการ
1. ออกแบบ / สร้างหลักสูตรบูรณาการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ตามศักยภาพหรือให้เหมาะสมกับความสามารถแต่ละบุคคล ได้แก่ หลักสูตรสำหรับ
- การพัฒนาทักษะอาชีพ
- การพัฒนาทักษะชีวิต
- การจัดกลุ่มสนใจ
2. จัดทำคลังหลักสูตรและสื่อการเรียน ได้แก่ การรวบรวมหลักสูตรและแหล่งเรียนรู้ทั้งสถานที่และภูมิปัญญา / บุคคล
3. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร
4. จัดให้มีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ การพบกลุ่มสำหับผู้เรียนหลักสูตรพื้นฐาน
5. การเรียนจากแหล่งเรียนรู้อื่น, การให้การแนะแนวและดูแลผู้เรียน (ตามความเหมาะของบุคคล)
6. จัดให้มีเกณฑ์การวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามวิธีการเรียนรู้
7. จัดให้มีเกณฑ์มาตรฐานเพื่อเทียบโอนความรู้ / ประสบการณ์
8. จัดให้มีการประกันคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (อิงเกณฑ์ประเมิน)
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาให้เป็นฐานความรู้ของชุมชน
วิธีการ
1. การจัดทำทำเนียบแหล่งเรียนรู้
2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร (จุดประสงค์หลักสูตร) ได้แก่
2.1 ห้องสมุด
2.2 ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน
3. ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่มีความร่วมมือให้พันธมิตรและประชาชนทราบ
4. จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้โดยสื่อต่าง ๆ
4.1 วิทยุ โทรทัศน์ (ETV)
4.2 จัดกิจกรรมค่าย (ทักษะชีวิต และอื่นๆ)
4.3 การดูงาน / แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากสื่อบุคคลสื่อสถานที่
5. การจัดให้มีการออกหนังสือรับรอง ใบเกียรติบัตร ผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อประกอบการเทียบโอน
กลยุทธ์ที่ 4 ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมจัดการศึกษา
วิธีการ
1. จัดทำทำเนียบพันธมิตร / เครือข่าย
2. จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือ (MOU) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
3. ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่มีความร่วมมือให้พันธมิตรและประชาชนทราบ
กลยุทธ์ที่ 5 จัดระบบบริหารเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ
วิธีการ
1. ปรับปรุง / พัฒนาโครงสร้างและบริหารองค์กร (มอบหมายงานตามยุทธศาสตร์บุคลากรภายใน และ / หรือ พันธมิตร ภาคีเครือข่าย เพื่อให้วิธีการทำงานบรรลุผล )
2. ปรับปรุงบทบาท / พันธกิจ ของการทำงานให้เอื้อต่อการดำเนินยุทธศาสตร์
3. จัดทำระบบงานให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพ / มาตรฐานการศึกษา
4. การประกวด/แข่งขัน/ การให้รางวัล
5. การกำหนดมาตรการและเตตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
เข้าชม : 988 |