[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

คำนำ

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๘  ของ ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านม่วง  สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น  ฉบับนี้เป็นแผนที่แสดงให้เห็นภาพรวมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๘  ของศูนย์การเรียนชุมชนบ้านม่วง  ที่สนองตอบต่อทิศทางการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาล  มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๘  ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ.  ๒๕๕๑  รวมทั้งนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน  ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านม่วง ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  ๒๕๕๘

          สาระของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  ๒๕๕๘ ของ ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านม่วง ประกอบด้วยสรุปภาพรวมงาน/โครงการและงบประมาณ  รวมทั้งรายละเอียดงาน/โครงการและงบประมาณที่ดำเนินการ  ปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๘  ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

          ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านม่วง ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘  ของ ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านม่วง ฉบับนี้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  ๒๕๕๘  ของ ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านม่วง จะเป็นแนวทางในการบริหารงาน/โครงการ  และงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัด กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๘ ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการกำกับติดตามผลการดำเนินงานของผู้บริหาร  รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานและผู้สนใจกิจกรรมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต่อไป
 

สารบัญ

เรื่อง

หน้า

คำนำ    ...................................................................................................

สารบัญ    ................................................................................................

ตอนที่ ๑ บทนำ    .....................................................................................

ตอนที่ ๒  ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา.....................................................

๑๔

ตอนที่ ๓  บทบาท ภารกิจ .....................................................................................

๒๕

ตอนที่ ๔  รายละเอียดของแผนงาน/งานโครงงาน....................................................

ตอนที่ ๕  แนวทางในการยกระดับคุณภาพ.............................................................

๔๐

๕๓

      ภาคผนวก.......................................................................................................

๖๘


บทที่ ๑

บทนำ

 

ข้อมูลพื้นฐาน

.  สภาพทั่วไป

๑.๑ ประวัติความเป็นมา

ประวัติตำบลบ้านทุ่ม

              ตามที่สันนิษฐาน  บ้านทุ่มเคยเป็นหมู่บ้านระดับตำบลมานานแล้ว ย้อนยุคคืนไปหลังปี  พ.ศ. ๒๓๒๐  ในหนังสือของดี  ๗๑  จังหวัด  ของ   ประยูรพิศนาคะ  พ.ศ. ๒๕๔๑ และหนังสือเชิดชูเกียรติ  ฯพณฯ  จารุบุตร  เรืองสุวรรณ อดีตประธานรัฐสภา  พิมพ์  พ.ศ. ๒๕๒๕ เขียนไว้ว่า   ปี พ.ศ. ๒๔๓๔  (ร.ศ. ๑๑๐) เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเมืองที่อยู่ห่างไกลใหม่ โดยเปลี่ยนบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ  เป็นหัวเมืองลาวพวนนั้น  จังหวัดขอนแก่นยังขึ้นอยู่กับหัวเมืองลาวพวน  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  เป็นข้าหลวงใหญ่  ทรงเห็นว่า  เมืองขอนแก่นอยู่ที่บ้านดอนบมไม่สะดวกติดต่อราชการ  จึงย้ายเมืองขอนแก่น  มาตั้งที่บ้านทุ่ม  และเปลี่ยนนามเจ้าเมือง  เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด

            ปี  พ.ศ.  ๒๔๔๒  เนื่องจากบ้านทุ่มกันดารน้ำในฤดูแล้ง  จึงย้ายเมืองขอนแก่นไปที่บ้านบึงบอน    (เมืองเก่า)    บ้านทุ่มเป็นจังหวัดขอนแก่นพ.ศ. ๒๔๓๔ ๒๔๔๒ รวมเป็นเวลาประมาณ ๘ ปี และเมืองขอนแก่น  ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก  ในปี  พ.ศ. ๒๓๔๐  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้นที่บ้านบึงบอน (เมืองเก่า) ได้แต่งตั้งให้เจ้าเพียเมืองแพน เป็นพระนครศรีบริรักษ์ เป็นผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น คนแรก บ้านทุ่มในสมัยเป็นจังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ.๒๔๓๔ (บางแห่งเป็นพ.ศ. ๒๔๓๓) คุตาอาจารย์อุ่น นันท์ดี อาจารย์สันทัด  คำแสน ท่านได้เล่าว่า ในหมู่ที่ ๔  ปัจจุบัน เป็นเขตของ ขุนนิยม มีโฮงอัญญา  (หมู่บ้านอัญญาหรือเรือนอัญญาอุปฮาดราชวงศ์) ที่ว่าการเมืองขอนแก่น อยู่ที่สถานีอนามัยบ้านทุ่มในปัจจุบันเป็นเสาไม้ขนาดใหญ่ ทรงไทยมีชานตากแดด เป็นเราะสมัยนั้นมีไม้มากมายและมีดโรงเรียนชื่อว่า โรงเรียนขอนแก่นวิทยาคม สอนระดับขั้นประถม  อยู่ตรง ที่ตั้งบ้าน คุณตาผู้ใหญ่ฮอง มหานาม ในปัจจุบันนี้

       เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๖๐  พระบาทสมเด็จพระมลกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๖ (พระมหาธีรราชเจ้า) ได้ทรงตราพระราชบัญญัติ ตั้งนามสนามที่บ้านทุ่มขุนนิยม  จะเป็นผู้ตั้งให้  โดยใช้ขื่อแม่ขึ้นก่อน  ชื่อพ่อตามหลัง  เช่น  นามสกุลคำแสน แม่ชื่อ คำ พ่อชื่อแสน หรือสกุลเพ็งมา  แม่ชื่อเพ็ง  พ่อชื่อ มา  หรือสกุลเอาะน้อย  แม่ชื่อเอาะ พ่อชื่อน้อย  เป็นต้น นี้คือที่มาของการตั้งนามสกุลในสมัยนับตั้งแต่  ปี  พ.ศ. ๒๕๑๕  ย้อนยุคคืนไป  นายอำเภอ  และผู้ใหญ่บ้านจะเป็นผู้แต่งตั้งกำนันประตำบล  และไม่มีกำหนดอายุราชการเป็นกำนันไปจนกว่าจะหมดความสามารถครั้งในปี  พ.ศ. ๒๕๑๖ มีการเปลี่ยนให้ชาวบ้านในเขตตำบลนั้น ๆ เลือกกำนันของตน  โดยผู้ที่มีสิทธิ์เป็นกำนัน  หรือสมัครกำนันได้  ต้องเป็นผู้ใหญ่  บ้านมาก่อน  สืบมาจนถึงทุกวันนี้

๑.๒  ที่ตั้ง
          สภาพทั่วไป

ตำบลบ้านทุ่มมีระยะห่างจากอำเภอเมืองรวม ๑๔ กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกของถนนมะลิวัลย์ ( ขอนแก่น ชุมแพ ) และเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน ๑๘ ตำบลของอำเภอเมืองขอนแก่น

เนื้อที่
พื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๕๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๕,๘๘๑ ไร่
พื้นที่ทำการเกษตร ๒๗,๒๖๕ ไร่
พื้นที่อยู่อาศัย ๗,๓๓๙ ไร่
พื้นที่สาธารณประโยชน์ ๑,๒๗๗ ไร่

ภูมิประเทศ
ตำบลบ้านทุ่ม สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบมีลำห้วยไหลผ่าน เป็นดินร่วนปนทราย
- ทิศเหนือ จดตำบลสาวถี และตำบลแดงใหญ่ อำเภอเมืองขอนแก่น
- ทิศใต้ จดตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น
- ทิศตะวันออก จดตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น
- ทิศตะวันตก ตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 18 หมู่บ้าน
- จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาล . ๑๘ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑๑๘

ประชากร
- ประชากรทั้งสิ้น ๑๖,๕๘๕ คน
- แยกเป็นชาย ๗,๘๙๙ คน และเป็นหญิง ๘,๖๘๖ คน
- มีความหนาแน่นเฉลี่ย ๓๐๑.๖๔ คน / ตารางกิโลเมตร

สภาพทางเศรษฐกิจ     อุตสาหกรรม      โรงงาน  ๑๔  แห่ง
              ๑) บริษัท  เอ็นเค  แอ็พพาแรล     จำกัด    ๘) บริษัท  คอนยูโคเปีย  จำกัด                                           
              ๒) บริษัท  ซี.เค.ชูว์
  จำกัด                     ๙) บริษัท  โรงหล่อเอเชีย จำกัด                                           

              ๓) บริษัท  อินฟุส  เมติคัล  จำกัด           ๑๐) บริษัท  รวมเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด                                           

              ๔) บริษัท  เอฟ.อาร์.พลาสติก  จำกัด       ๑๑) บริษัท  อภิโชคเฟอร์นิท จำกัด                                           

              ๕) บริษัท  ซี.เค.เอส  รับเบอร์  จำกัด       ๑๒) บริษัท  ธรรมสรณ์ จำกัด                                            

              ๖) บริษัท  เวลเซฟ  จำกัด                    ๑๓) บริษัท  อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด                                           

              ๗) บริษัท  คิงบอดี้  จำกัด                    ๑๔) บริษัท  ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด

อาชีพ
- ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ การทำงาน , เลี้ยงสัตว์
- ปลูกพืช ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว มะม่วง หม่อน และผักต่าง ๆ
- เลี้ยงสัตว์ได้แก่ โค กระบือ หมู เป็ด ไก่ นกกระทา
- รับราชการ และหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
- รับจ้างทำการเกษตร และรับจ้างทั่วไป

หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
ปั๊มน้ำมันและก๊าช ๔ แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม ๗ แห่ง
- โรงสี ๑๗ แห่ง

สภาพทางสังคม

สาธารณสุข
- สถานีอนามัย ๑ แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน ๕ แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน ๑ แห่ง
- อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ๑๐๐ %

การบริการพื้นฐาน

การคมนาคม
- ถนนลาดยางผ่านหมู่บ้าน ๕ สาย ใช้ได้ทั้ง ๕ สาย
- ถนนทางหลวงแผ่นดิน ๑ สาย
- ถนนภายในหมู่บ้านส่วนมากเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก
- การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านและภายในหมู่บ้านมีความสะดวก

การสื่อสาร
- ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต ๑ แห่ง
- สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ ๓ แห่ง

การไฟฟ้า
- ไฟฟ้าเข้าถึงภายในหมู่บ้าน จำนวน ๑๘ หมู่บ้าน

แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ฝาย ๘ แห่ง
- บ่อ ๒๔ แห่ง
- บ่อบาดาล ๑๔ แห่ง 

ข้อมูลอื่น ๆ

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

- จากการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุในจังหวัดขอนแก่นของกรมทรัพยกรธรณี เมื่อ พ . ศ . ๒๕๓๓ พบว่าบริเวณหลุมเจาะบริเวณวัดศรีบุญเรือง ตำบลบ้านทุ่ม พบแร่โปรแตส ชนิดซิลไวท์ หนา ๒.๓ เมตร ลึกจากผิวดิน ๒๑๑.๖ เมตร มีความสมบูรณ์ของโปรแตส 

ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่การรวมกลุ่มของประชาชน
- จำนวนกลุ่มทุกประเภท ๓๑ กลุ่ม
แยกประเภทกลุ่ม
- กลุ่มอาชีพ ๑๔ กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ ๑๐ กลุ่ม
- กลุ่มอื่น ๆ ๗ กลุ่ม

จุดเด่นของพื้นที่ ( ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล )
- ตำบลบ้านทุ่ม มีสภาพทางกายภาพ เป็นที่ราบมีลำห้วยน้ำเค็มไหลผ่าน
- ตำบลบ้านทุ่มมีการอนุรักษ์ทรัพยากร ประเพณีและวัฒนธรรมและพื้นบ้านและท้องถิ่น
- เป็นเส้นทางผ่านไปยังต่างตำบล และต่างอำเภอ ควรได้รับการพัฒนาให้เป็นจุดศูนย์กลางในการคมนาคม ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอ
- ตำบลบ้านทุ่มมีสถานที่ที่เหมาะสม ที่จะจัดสร้างเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายผลผลิต ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
- ตำบลบ้านทุ่ม มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาให้เป็นไปในด้านต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด และแนวทางการพัฒนาของอำเภอ เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบล หมู่บ้านให้มีคุณภาพที่ดี
- ตำบลบ้านทุ่ม มีผลิตภัณฑ์แหนมหมู บ้านแดงน้อย ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มแม่บ้านบ้านเหล่านาดี เช่น แชมพู , น้ำยาล้างจาน เป็นผลิตภัณฑ์หลักตามนโยบายของรัฐบาล 

                                               ตารางที่  ๑.๒  ประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านทุ่ม 

 

 

ชื่อบ้าน

จำนวนครัวเรือน

แยกเป็น

จำนวนประชากร

(คน)

ชาย

หญิง

หมู่ที่๑  บ้านทุ่ม

๔๐๕

๘๐๕

๑,๐๕๔

๑,๘๕๙

หมู่ที่๒  บ้านทุ่ม

๓๗๖

๙๐๔

๘๐๒

๑,๗๐๖

หมู่ที่๓  บ้านทุ่ม

๓๕๔

๖๘๑

๖๖๕

๑,๓๔๖

หมู่ที่๔  บ้านทุ่ม

๓๔๐

๗๙๘

๘๖๕

๑,๖๖๓

หมู่ที่๕  บ้านเหล่าเกวียนหัก

๑๘๖

๓๙๘

๔๙๕

๘๙๓

หมู่ที่๖  บ้านแดงน้อย

๑๖๕

๓๑๗

๓๒๙

๖๔๖

หมู่ที่๗  บ้านแดงน้อย

๒๔๐

๓๗๓

๔๔๖

๘๙๑

หมู่ที่๘  บ้านหนองกุง

๑๓๐

๒๘๘

๒๙๒

๕๘๐

หมู่ที่๙  บ้านกุดนางทุย

๑๓๖

๒๗๙

๒๘๒

๕๖๑

หมู่ที่๑๐  บ้านม่วง

๑๑๘

๒๑๙

๒๙๒

๕๘๓

หมู่ที่๑๑  บ้านม่วง

๑๑๓

๒๖๙

๓๘๒

๖๕๑

หมู่ที่๑๒  บ้านทุ่ม

๑๖๐

๓๕๗

๓๗๒

๗๒๙

หมู่ที่๑๓  บ้านม่วง

๑๔๐

๓๕๔

๓๔๒

๖๙๖

หมู่ที่๑๔  บ้านม่วง

๑๗๙

๕๔๖

๕๕๒

๑,๐๙๘

หมู่ที่๑๕  บ้านม่วง

๒๕๒

๕๐๓

๖๑๗

๑,๑๒๐

หมู่ที่๑๖  บ้านแดงน้อย

๑๕๓

๑๖๕

๒๐๒

๓๖๗

หมู่ที่๑๗  บ้านแดงน้อย

๑๔๕

๓๑๑

๓๓๐

๖๔๑

หมู่ที่๑๘  บ้านหนองกุง

๑๓๓

๓๐๙

๓๑๘

๖๒๗

รวม

๓,๖๙๕

๘,๗๕๓

๘,๖๓๗

๑๖,๕๘๕

 

 * หมายเหตุ    ข้อมูลทะเบียนราษฎร  ณ  เดือนกันยายน   ๒๕๕๒

                                                           รายชื่อผู้นำตำบลบ้านทุ่ม

ลำดับที่

ชื่อ- สกุล

ตำแหน่ง

นายศักดิ์    ม่วงนิล

ผู้ใหญ่บ้านทุ่ม หมู่ที่  ๑

นายพันณรงค์  รุ่งเรือง

ผู้ใหญ่บ้านทุ่ม หมู่ที่  ๒

นายขวัญใจ  เสนามนตรี

ผู้ใหญ่บ้านทุ่ม หมู่ที่  ๓

นายถวิล   ชื่นปรีชา

ผู้ใหญ่บ้านทุ่ม หมู่ที่  ๔

นายบุญเลิศ   วัดถัง

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๕

นายหิรัญ  สุแดงน้อย

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๖

นายสมศักดิ์  เทพไกรวรรณ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๗

นางสาวยุพิน  นิ่มนวล

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๘

นายเสวย   ค่าเอ่น

กำนันตำบลบ้านทุ่ม

๑๐

นายลับ   แจ้งพรมมา

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๑๐

๑๑

นายสุวรรณ  สิมเสน

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๑๑

๑๒

นายสมศึก   จันทร์นวล

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๑๒

๑๓

นายทองจูม  คำยา

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่   ๑๓

๑๔

นายจินดา  โสหา

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่   ๑๔

๑๕

นายขันทอง   ตรีช่วย

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่   ๑๕

๑๖

นายช่วง   ไชยธรรม

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่   ๑๖

๑๗

นายทองลวด  จันทรวิชัย

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๑๗

๑๘

นายวิลัย  กงสะเด็น

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๑๘























๒. สภาพทางสังคม

๒.๑  การศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา

แห่ง

โรงเรียนมัธยมศึกษา

แห่ง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

แห่ง

ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน

แห่ง

สถานที่ออกกำลังกาย

แห่ง

สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

แห่ง

กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

แห่ง

ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านม่วง

แห่ง

 

 ๒.๒  สถาบันและองค์กรทางศาสนา

วัด/สำนักสงฆ์

๑๔

แห่ง

โบสถ์

แห่ง

ศาลเจ้า

แห่ง

 

  ๒.๓  วัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมที่สำคัญ

          .  งานบุญมหาชาติประจำปี ประมาณเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน 
          งานประเพณีสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน 
          งานบุญบั้งไฟประจำปี ประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
          งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม
          งานประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน 

  ๒.๔  สาธารณสุข

         สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน          จำนวน                                แห่ง
         ศูนย์บริการสาธารณสุข ทต.บ้านทุ่ม         จำนวน                                แห่ง
         ร้านขายยาแผนปัจจุบัน
                        จำนวน                                แห่ง

         คลินิก                                             จำนวน                                แห่ง


  ๒.๕  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                 สถานีตำรวจภูธรย่อย                           จำนวน                               แห่ง
                 กลุ่ม อปพร.                                      จำนวน               ๒๐๐            คน
                 กลุ่มรปม.                                         จำนวน                 ๘๐            คน
                 รถบรรทุกน้ำดับเพลิง                           จำนวน                               คัน
                 รถตรวจการ (สายตรวจ)                        จำนวน                              คัน 

.   การบริการพื้นฐาน

มวลชนจัดตั้ง
Ø กลุ่มสตรีแม่บ้าน                                  จำนวน                 ๒๕๗         คน
Ø กลุ่ม อสม.                                         จำนวน                 ๓๕๐         คน
Ø กลุ่ม อปพร.                                       จำนวน                 ๒๐๐         คน
Ø กลุ่ม รปม.                                         จำนวน                   ๘๐         คน
Ø อื่น ๆ (กลุ่มเยาวชน, สตรี)                       จำนวน                ๑๕๐         คน
Ø ชุมชนย่อย                                          จำนวน                  ๘๑         คน

บริการประชาชน/ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการสื่อสาร

              Ø ตู้ ATM                                              จำนวน                   ๔         แห่ง
              Ø สัญญาณเสาโทรศัพท์                              จำนวน                            แห่ง

 ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่ตำบลบ้านทุ่ม

การรวมกลุ่มของประชาชนในตำบล    

          - จำนวนกลุ่มทุกประเภท     ๓๐         กลุ่ม        แยกประเภทกลุ่ม ดังนี้

          - กลุ่มออมทรัพย์                                        จำนวน                    กลุ่ม

          - กลุ่มโครงการส่งเสริมอาชีพ                          จำนวน                    กลุ่ม

          - กลุ่มโครงการเศรษฐกิจชุมชน                       จำนวน          ๒๑        กลุ่ม 
          - ลานค้า/ตลาดนัดชุมชน                              จำนวน                    แห่ง

.   การบริการพื้นฐาน

มวลชนจัดตั้ง
Ø กลุ่มสตรีแม่บ้าน                                     จำนวน                 ๒๕๗         คน
Ø กลุ่ม อสม.                                           จำนวน                 ๓๕๐         คน
Ø กลุ่ม อปพร.                                          จำนวน                 ๒๐๐         คน
Ø กลุ่ม รปม.                                              จำนวน                   ๘๐         คน
Ø อื่น ๆ (กลุ่มเยาวชน, สตรี)                          จำนวน                ๑๕๐         คน
Ø ชุมชนย่อย                                                      จำนวน                  ๘๑         คน

บริการประชาชน/ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการสื่อสาร

           Ø ตู้ ATM                                                จำนวน                     ๔         แห่ง

           Ø สัญญาณเสาโทรศัพท์                                จำนวน                              แห่ง

 

 

ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่ตำบลบ้านทุ่ม

การรวมกลุ่มของประชาชนในตำบล    

          - จำนวนกลุ่มทุกประเภท     ๓๐         กลุ่ม        แยกประเภทกลุ่ม ดังนี้

          - กลุ่มออมทรัพย์                                                จำนวน                     กลุ่ม

          - กลุ่มโครงการส่งเสริมอาชีพ                          จำนวน                    กลุ่ม

          - กลุ่มโครงการเศรษฐกิจชุมชน                       จำนวน          ๒๑        กลุ่ม 
          - ลานค้า/ตลาดนัดชุมชน                             จำนวน                               แห่ง




คณะที่ปรึกษา

๑.  นายบุญส่ง           ทองเชื่อม                  ผู้อำนวยการ  กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

นายสุธี             สังคนนท์                     ตำแหน่ง   ครู

นางวิไลพร           บูรณ์เจริญ                ตำแหน่ง   ครู

๔.  น.ส.ธันยพัฒน์       นูเร                         ตำแหน่ง   ครู

๕.  นางศุภลักษณ์     คลังดงเค็ง                      ตำแหน่ง   ครูอาสาสมัครฯ


     ผู้พิมพ์/ออกแบบปก/จัดภาพ

๑.  นายเฉลิมชัย  แน่นอุดร                         ตำแหน่ง   พนักงานราชการ

         ๒.  นางสาวกณิกนันท์  อยู่สุข                      ตำแหน่ง   ครูประจำกลุ่ม



เข้าชม : 1639
 
 
กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  บ้านทุ่ม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี