[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 


ทำเนียบแหล่งเรียนรู้

และแหล่งท่องเที่ยวใน ชุมชน/กศน.ตำบล บ้านทุ่ม

วัดโพธิ์กลาง  ที่ตั้งหมู่ที่ 3 บ้านทุ่ม ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น  จังหวัด ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2434ผู้นำชุมชนบ้านทุ่ม หมู่ที่ พร้อมชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้นทางด้านทิศใต้หมู่บ้าน ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ งาน 0ตารางวา โดยตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์กลาง” ปัจจุบันมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ หลัง ศาลาการเปรียญ หลัง กุฏิสงฆ์ หลัง หอระฆัง/หอกลอง หลังวัดโพธิ์กลางได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2527 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร

การบริหารและปกครองวัดโพธิ์กลาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเจ้าอาวาสตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน เท่าที่ทราบนาม รูป ปัจจุบันมี พระครูปิยโพธิสาร เป็นเจ้าอาวาสวัด

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้

ความสำคัญวัดโพธิ์กลาง เป็นสถานที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่จัดงานบุญตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม (ฮีต 12) เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศากนิกชนบ้านทุ่ม หมู่ที่ และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ พระครูปิยโพธิสาร เป็นเจ้าอาวาสวัด  โทรศัพท์ -

     ที่อยู่ 3 บ้านทุ่ม ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น





  
 


  

การเพาะเห็ด นายภูมิพิชาติ จันทร์เพ็ง




ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนฟาร์มร่มแดง  
ที่ตั้ง เลขที่ 363 หมู่ 2 ตำบล บ้านทุ่ม อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

        ฟาร์มร่มแดง เป็นฟาร์มขนาดเล็ก โดยมี คุณชุลีกรณ์  คงกุทอง  เป็นผู้จัดการ ตั้งอยู่ที่  363 บ้านทุ่ม หมู่ที่ 2 บ้านทุ่ม-แดงใหญ่  ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น  จังหวัดขอนแก่น  ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น ประมาณ 14 กิโลเมตร   มีพื้นที่ทั้งหมด 8 ไร่  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายในฟาร์ม มีการจัดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย  ประกอบด้วยอาชีพการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (ผักไร้ดิน),ผักปลอดสารพิษ,

ผักกางมุ้ง,การเลี้ยงกบในกระชัง,   การเลี้ยงปลาดุก การเพาะเห็ด,ธุรกิจร้านอาหาร,นวดแผนไทยตัดผม-เสริมสวย  โฮมสเตย์ และ ห้องประชุมสัมมนา

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้

        ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน แห่งนี้เกิดขึ้น โดย  นายบุญส่ง   ทองเชื่อม  ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น  นำนโยบายของกระทรวง ศึกษาธิการด้านการส่งเสริมและการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ในชุมชน มาจัดกิจกรรมร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกอาชีพสำหรับประชาชนทั่วไป  จัดการสาธิตด้านอาชีพและด้านการตลาดในเชิงธุรกิจครบวงจร ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษางาน  สามารถนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพของตนเองได้อย่างยั่งยืน

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ นางสาวชุลีกรณ์  คงกุทอง  โทรศัพท์ 

    
  




วัดศรีบุญเรือง  
ที่ตั้งหมู่ที่ 1  ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น  จังหวัด ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2445 ผู้นำชุมชนบ้านทุ่ม หมู่ที่ 1 พร้อมชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้นทางด้านทิศตะวันออกหมู่บ้าน ต่อมาได้ย้ายวัดมาอยู่ทางด้านทิศตะวันตกหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 0 งาน 22 ตารางวา โดยตั้งชื่อว่า วัดศรีบุญเรืองปัจจุบันมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง กุฏิสงฆ์ 9 หลัง หอระฆัง/หอกลอง 1 หลัง วัดศรีบุญเรือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2520 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร

การบริหารและปกครอง วัดศรีบุญเรือง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเจ้าอาวาสตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน เท่าที่ทราบนาม 3 รูป ปัจจุบันมี พระครูวุฒิสารโกวิท เป็นเจ้าอาวาสวัด
ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้

วัดศรีบุญเรือง เป็นสถานที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่จัดงานบุญตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม (ฮีต 12) เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศากนิกชนบ้านทุ่ม หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ  พระครูวุฒิสารโกวิท

ชื่อที่ทำงาน วัดศรีบุญเรือง

ที่อยู่ 1   บ้านทุ่ม ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000

โทรศัพท์ 08 2452 4309 โทรสาร 0 4328 3414

 



วัดยอดแก้ว  
ที่ตั้งหมู่ที่ 4  ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น  จังหวัด ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

วัดยอดแก้ว เป็นวัดที่ตั้งมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามวิถีการดำเนินชีวิตของชาวพุทธทั่วไป ต่อมาเมื่อมีการย้ายเมืองขอนแก่นมาตั้งที่ตำบลบ้านทุ่ม เมื่อปี พ.ศ.2434 (ร.ศ.110) วัดยอดแก้วได้มีการพัฒนาตามลำดับ โดยได้รับอนุญาตสร้างวัดอย่างเป็นทางการ

เมื่อปี พ.ศ.2440 ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 00 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง (เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น) กุฏิสงฆ์ 7 หลัง หอพระแก้ว 1 หลัง รัตนเจดีย์ศรีนคร 1 องค์ และหอกลอง 1 หลัง วัดยอดแก้วได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2459

เมื่อปี พ.ศ.2514–2534 พระพุทธิสารสุธี (ทองสา วรลาโภ) วัดธาตุพระอารามหลวง ได้จัดทำโครงการพัฒนาวัดยอดแก้ว โดยการปลูกสร้างกุฏิวิหาร ศาลการเปรียญ ให้เป็นระเบียบสวยงามและมีทัศนียภาพร่มรื่นจากต้นไม้น้อยใหญ่นานาพันธุ์

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้

ความสำคัญ เป็นสถานที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ และเป็นสถานที่ประพิธีกรรมทางศาสนา ตามขนบธรรม เนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย เป็นศูนย์รวมของประชาชนและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศากนิกชนในหมู่บ้าน/ชุมชน

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ      -        เป็นเจ้าอาวาสวัด  โทรศัพท์ 043-382643  ที่อยู่ 4 บ้านทุ่ม ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น



   



วัดศรีชมชื่น  
ที่ตั้งหมู่ที่ 6  บ้านแดงน้อย ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น  จังหวัด ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2449 พ่อขุนมงคล อนุสุเรนทร์ ผู้นำชุมชนบ้านแดงน้อย หมู่ที่ 6 พร้อมชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจตั้งวัดประจำหมู่บ้านขึ้น ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 0 งาน 12 ตารางวา โดยตั้งชื่อวัดว่า วัดชมชื่นต่อมาได้เพิ่มชื่อวัดเป็น วัดศรีชมชื่นปัจจุบันมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ 1 หลัง อุโบสถ 1 หลัง กุฏิสงฆ์ 4 หลัง หอกลอง 1 หลัง และหอระฆัง 1 หลัง วัดศรีชมชื่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2450 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 6 เมตร ยาว 16 เมตร

การบริหารและปกครอง วัดศรีชมชื่น สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเจ้าอาวาสตั้งแต่ก่อตั้งวัดจนถึงปัจจุบันเท่าที่ทราบนาม 19 รูป ปัจจุบันมี พระสวัสดิ์ ฐานะวุฑโฒ เป็นเจ้าอาวาสวัด

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้

ความสำคัญวัดศรีชมชื่น เป็นสถานที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่จัดงานบุญตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม (ฮีต 12) เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศากนิกชนบ้านแดงน้อย หมู่ที่ 6, 7, 16, 17 และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ  พระสวัสดิ์ ฐานะวุฑโฒ เป็นเจ้าอาวาสวัด  โทรศัพท์ 08 0417 3551ที่อยู่ 6 บ้านแดงน้อย  ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น

  



วัดมนฑป  
ที่ตั้งหมู่ที่ 10  ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น  จังหวัด ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2475 ผู้นำชุมชนบ้านม่วง หมู่ที่ 10 พร้อมชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจตั้งวัดประจำหมู่บ้านขึ้น ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 16 ไร่ 0 งาน 5 ตารางวา โดยตั้งชื่อวัดว่า วัดมณฑปปัจจุบันมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ 1หลัง อุโบสถ 1 หลัง กุฏิสงฆ์ 4 หลัง หอกลอง/หอระฆัง 1 หลัง วิหารมณฑป 1 หลัง วิหารหลวงพ่อสังขจาย 1 หลัง และอาคารเอนกประสงค์ 1 หลังวัดมณฑป ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2450 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร

การบริหารและปกครอง วัดมณฑป สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเจ้าอาวาสตั้งแต่ก่อตั้งวัดจนถึงปัจจุบันเท่าที่ทราบนาม 17รูป ปัจจุบันมี พระครูใบฎีกาเสรี อิทธิเตโช เป็นเจ้าอาวาสวัด

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้

ความสำคัญ วัดมณฑป เป็นสถานที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่จัดงานบุญตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม (ฮีต 12) เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศากนิกชนบ้านม่วง หมู่ที่ 10, 11, 13, 14, 15 และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ผู้รับผิดชอบ ชื่อ พระครูใบฎีกาเสรี อิทธิเตโช เป็นเจ้าอาวาสวัด โทรศัพท์ 08 03417196 ที่อยู่ 10 บ้านม่วง ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น

   



วัดป่าอภัยวัน  
ที่ตั้งหมู่ที่ 2 บ้านทุ่ม  ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น  จังหวัด ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

ตามประวัติความเป็นมาของวัดป่าอภัยวัน  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔  โดยมีท่านเจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวิราจารย์ (พระอาจารย์สิงห์  ขนฺตยาคโม) ที่อยู่วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น ได้ส่งพระอาจารย์อุ่นพร้อมด้วยหมู่คณะมาตั้งสำนักสงฆ์หลังป่าช้า บ้านทุ่ม ต่อมาก็มีท่านพระครูญาณทัสสี (พระอาจารย์คำดี  ปภาโส)  มาอยู่จำพรรษา ต่อมาก็มีพระมาอยู่จำพรรษามิได้ขาด จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๑  ชาวบ้านทุ่มจึงยกที่ดินให้เป็นที่ปลูกสร้างวัด ทางวัดจึงได้แจ้งการครอบครอง  ส.ค. ๑ เมื่อปี  พ.ศ.๒๔๙๘   ส.ส. แก้วปลั่ง  เป็นตัวแทนของกรมการศาสนา และนายเจียม  ศรีกลชาญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่    พร้อมด้วยนายสุนทร  ชัยนิคม  ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลบ้าทุ่ม และนายวินิจ สรรพอาษา  ครูน้อยโรงเรียนประชาบาลบ้านทุ่ม เป็นพยาน มีหลวงปู่สุ่ม  ถาวโร  เป็นเจ้าอาวาสนำชี้เขต มีที่ดินตั้งวัดทั้งหมด  ๔๘  ไร่  มีนายหา  บุญมาชัย  สมัยเป็นปลัดอำเภอเมืองขอนแก่น  ได้สั่งให้กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านทุ่ม  รื้อเอาศาลากลางบ้านมาปลูกสร้างเป็นศาลาการประเรียนขึ้น    วัดป่าอภัยวันบ้านทุ่มปัจจุบัน   ต่อมาก็มีพระอาจารย์สุภี พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรมาอยู่จำพรรษาก็ได้บูรณะปลูกสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภานในวัดให้ดีตลอดมา  เมื่อท่านสุภี  จากวัดป่าอภัยวันไปแล้ว  ก็มีพระอาจารย์องค์อื่น ๆ มาอยู่จำพรรษามิได้ขาด  ไม่ได้ทอดทิ้งแต่อย่างใด  และในศกเดียวกันนี้ (มีท่านเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น  (ธรรมยุต)  ปัจจุบันนี้คือ  พระราชพิศาลสุธี ได้มีหนังสือไปเอาพระสำรอง  อาสิญาโน  ปัจจุบันเป็นพระครูพลญาณพิสุทธ  พร้อมด้วยแม่ชีสงวน  เสนามนตรี  เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๐๔  ที่วัดป่าสาลวัน  จังหวัดนครราชสีมา  ต่อมาได้สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ดังที่ปรากฏอยู่นี้คือ    ศาลาการประเปรียญ    หลัง  กุฎี    หลัง  ที่พักชี    หลัง  หอระฆัง    หลัง  สระน้ำ    สระ  ทำรั้วรอบบริเวณเขตวัด  และทำประตูปิด  เปิด  ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๐๕  ก็ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา  และได้รับพระราชทานประกาศตามราชกิจจานุเปกขา  เล่มที่  ๗๙  ตอนที่  ๖๙  ลงวันที่  ๓๐  กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๐๕  ที่พระราชทานความกว้าง  ๔๐  เมตร  ยาว  ๘๐  เมตร  ได้ทำการปักเขตวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่    กันยายน  ๒๕๑๐  การบูรณปฏิสังขรณ์  วัดป่าอภัยวัน  บ้านทุ่ม  ก็ได้อาศัยกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ตลอดถึงญาติโยม  ชาวบ้านทุ่ม  และหมู่บ้านใกล้เคียง  ตลอดถึงข้าราชการ  พ่อค้า  ประชาชนช่วยเหลือด้วยดีตลอดมา  (  พระอุโบสถหลังนี้ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่  ๑๕  เมษายน  ๒๕๑๓  
       งบประมาณในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังนี้เป็นจำนวนเงิน  ทั้งสิ้น  ๘๐๐,๐๐๐  บาท 

  (  แปดแสนบาทถ้วน  )  เมื่อพระครูพลญาณพิสุทธี  ได้มรณภาพลง ทางวัดป่าแสงอรุณ พระเทพวนคุณ ในตอนนั้น ปัจจุบันเป็น พระธรรมดิลก เจ้าคณะภาค ๙ ธรรมยุต ได้ให้คณะศรัทธาและชาวบ้านทุ่มไนิมนต์ พระครูสังฆรักษ์ทองพูน  ปุญญกาโม ซึ่งเดินทางกลับมาจากไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖  และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอภัยเมือวันที่  ๔ เดือน พฤษภาคม  พ.ศ.๒๕๔๗   ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเมื่อวันที่  ๑๓  เดือน เมษายน   พ.ศ. ๒๕๔๙   (วัดที่สร้างในประเทศสหรัฐอเมริกา คือวัดพุทธนิมิต เมืองแพสดีน่า มลรัฐเคียลิเฟอร์เนีย และวัดป่าเทสก์รังสี  เมืองเฟรดเดอร์ริคเบิก  มลรัฐเวอจิเนีย)   
         ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวัดป่าอภัยวัน อยากจะสร้างความดีถวายในหลวงอยากจะสร้างสัญลักษณ์ของตำบลบ้านทุ่มให้โดดเด่นขึ้น ให้สมกับเคยเป็นที่ตั้งจังหวัดขอนแก่นมาแต่ก่อน  พร้อมกับเป็นความดำริของพระครูสังฆรักษ์ทองพูน  ปุญญกาโม อยากจะสร้าง
พระมหานวมินทรเจดีย์ศรีอีสานเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  รัชกาลที่ ๙  ไว้บรรณจุพระบรมสารีริกธาตุ  พระอรหันต์ธาตุในวโรกาสมหามงคลสมัย สมเด็จพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ ๘๔  พรรษา ในปี  พุทธศักราช ๒๕๕๔  เป็นช่วงเวลาที่ บ้านทุ่ม จะมีอายุครบ  ๑๒๐ ป  นับจากปีที่ได้ตั้งเป็นเมืองขอนแก่น (พ.ศ. ๒๔๓๔ ๒๕๕๔ )   เป็นปีที่ตั้งเป็นวัดป่าอภัยวัน บ้านทุ่ม จะครบ ๘๐ ปีพอดี ในปี (พ.ศ.๒๔๗๔-๒๕๕๔)   จึงกำหนดวางศิลาฤกษ์ วันที่  ๑๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๕๒

วัดป่าอภัยวัน บ้านทุ่มเป็นหนึ่งในจำนวนวัด    แห่งของบ้านทุ่ม   มีประวัติความเป็นมาดังปรากฏในเอกสาร ( พระครูสังฆรักษ์  ทองพูน  ปุญญกาโม ) เป็นสถานที่ตั้ง ศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดขอนแก่น  และ สำนักงานเจ้าคณะตำบลบ้านทุ่ม (ธรรมยุต)
บ้านทุ่ม  เป็นบ้านเกิด เมืองนอน และ สถานศึกษาระดับประถม  ของผู้เป็นบิดานักกีฬาผู้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย      คือ :    
- นายแดง  คำสิงห    บิดาของ   สมรักษ์    คำสิงห์   วีรบุรุษเหรียญทอง มวยโอลิมปิก 
-นายชนะชัย  ศรีชาพันธ์   บิดาของ   ภราดร   ศรีชาพันธ์   นักกีฬาเทนนิสระดับโลก

พระครู สังฆรักษ์  ทองพูน  ปุญญกาโม  ปัจจุบัน  เป็นเจ้าคณะตำบลบ้านทุ่ม (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดป่าอภัยวัน    เป็นผู้ที่ตั้งใจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยืนยาวสืบต่อไป

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้

ความสำคัญวัดป่าอภัยวัน เป็นสถานที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่จัดงานบุญตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม (ฮีต 12) เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศากนิกชนบ้านทุ่ม หมู่ที่ 2  และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ ทองพูน  ปุญญกาโม  เป็นเจ้าอาวาสวัด  โทรศัพท์     -  ที่อยู่ 2  ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น

 
 

 


ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น
  เป็นหน่วยงานสังกัดสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  
ที่ตั้งหมู่ที่ 12  ตำบล บ้านทุ่ม  อำเภอ เมืองขอนแก่น  จังหวัด ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

 

            ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น  เป็นหน่วยงานสังกัดสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ    สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   จัดตั้งตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ..2548 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ 122 ตอนที่ 65  ก ลงวันที่  11 สิงหาคม 2548 ซึ่งได้รวมงานและบุคลากรของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดขอนแก่น(หม่อนไหมสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ส่วนแยกหม่อนไหม  กรมวิชาการเกษตร  โดยใช้สถานที่ของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดขอนแก่น (หม่อนไหมเป็นที่ตั้งศูนย์ฯ  และเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานร่วมกันเมื่อวันที่  4  พฤศจิกายน  2549

สำหรับประวัติความเป็นมาของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดขอนแก่น (หม่อนไหม)  และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ส่วนแยกหม่อนไหม มีดังนี้

 ประวัติความเป็นมาของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดขอนแก่น (หม่อนไหม)

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดขอนแก่น (หม่อนไหมเดิมชื่อศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 4 จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่เลขที่ 399 หมู่ 12 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จัดตั้งขึ้นในปี 2533 โดยขอใช้ที่ ราชพัสดุ และมีประวัติความเป็นมาโดยสังเขปดังนี้

ปี 2533 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้อนุมัติงบประมาณในการปรับปรุงพื้นที่ จัดทำแปลงหม่อน และก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในการเลี้ยงไหมเพื่อผลิตไข่ไหมสนับสนุนเกษตรกร

ปี 2535 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดตั้งโครงการพัฒนาการผลิตหม่อนไหมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ศูนย์ ฯ

ปี 2539 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีคำสั่งให้ศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 4 จังหวัดขอนแก่น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปี 2542 โครงการพัฒนาการผลิตหม่อนไหมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หมดระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการจึงได้โอนอาคารสำนักงานและวัสดุอุปกรณ์สำนักงานบางส่วนให้ศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 4 จังหวัดขอนแก่น

ปี 2545   เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร  จังหวัดขอนแก่น  

   (หม่อนไหมสังกัดสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามการปรับโครงสร้างการบริหารราชการใหม่ของกรมส่งเสริมการเกษตรมีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ฯ ดังนี้

1. นายสง่า ไฝเจริญมงคล                        .. 2533 –  2537

2. นายสวัสดิ์ บึงไกร                              .. 2538 –  2545

3. นางสาวฉันทนา   เทพบรรหาร               .. 2545  –  2548

ประวัติสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ส่วนแยกหม่อนไหม มีดังนี้

ปี 2483 จัดตั้งสถานีทดลองหม่อนไหมขอนแก่นตั้งอยู่ที่อำเภอชนบท   จังหวัดขอนแก่น

ปี 2509 ขอแบ่งพื้นที่ของสถานีขยายพันธุ์พืชขอนแก่น (ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นเพื่อสร้างสถานีแห่งใหม่ โดยใช้ชื่อว่าสถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหมขอนแก่น มีพื้นที่ทั้งสิ้น 71 ไร่

ปี 2516 กรมการข้าวและกรมกสิกรรมได้รวมกันเป็นกรมวิชาการเกษตรทำให้สถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหมขอนแก่นเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีทดลองไหมขอนแก่นสังกัดกองการไหม   กรมวิชาการเกษตร

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2526 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสถานีทดลองหม่อนไหมขอนแก่น สังกัดกองการไหม   กรมวิชาการเกษตร

ปี 2531 ได้รับอนุมัติจากจังหวัดขอนแก่นให้ใช้ที่ดินของบ้านทุ่ม หมู่ที่ 4 ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ 120 ไร่เพื่อจัดเป็นส่วนขยายตามโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์และกระจายพันธุ์ ต่อมาใน   ปี 2541 กองเกษตรวิศวกรรมได้ขอแบ่งพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 20 ไร่ เพื่อก่อสร้างศูนย์ปฏิบัติการเกษตรวิศวกรรม (ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3)

ปี 2533 ได้รับอนุมัติจากจังหวัดขอนแก่นให้ใช้ที่ดินของบ้านบ้านดอนหมากพริก ตำบลแคนเหนือ   อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นจำนวน 374 ไร่ 54.3 ตารางวา เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ผลิตไข่ไหมบริการแก่เกษตรกร (ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลแคนเหนือ)

ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานี และตำแหน่งผู้อำนวยการ มี 11 คนดังนี้

1. หลวงชำนาญ  โกศัยศาสตร์                    .. 2483 – 2485

2. นายประเสริฐ  เพ็ญจิตร                       .. 2485  - 2486  

3.  นายพ่วง  สุวรรณธาดา                       .. 2486  - 2489 

4. นายน้อม  อ่อนประไพ                          .  2489  -  2493

5. นายเจริญ  นุ่มนวล                              .. 2493 -  2499

6. นายอิ่ม   ประเสระกัง                           .. 2499  - 2507

7. นายคนึง  บัวชุม                                  .. 2507 -  2509

8. นายสถิตย์      จันทร์เจริญ                    .. 2509  -  2530

9. นายไชยยงค์    สำราญถิ่น                    .. 2530  -  2539

10. นายนิพนธ์ อาภรณ์รัตน์                     .. 2539  -  2546

11. นายประสาธน์ สุวรรณพงศ์                .. 2546  -  2548

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น

1.  นางสาวฉันทนา  เทพบรรหาร      11  สิงหาคม  พ.ศ. 2548- 14 ตุลาคม พ.ศ. 2548

2.  นายสันติ  กลึงกลางดอน            14  ตุลาคม พ.ศ. 2548- 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

3.  นายสมพงษ์  ไกรพจน์                 23  กรกฎาคม พ.ศ. 2549- 14 ตุลาคม  2552

 

รายนามผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น          

 1. นายสมบัติ  กองภา                   14 ตุลาคม  2552 - 28 ตุลาคม  2553

 

สถานที่ตั้งและการติดต่อราชการ

1. ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ ฯ ขอนแก่น ตั้งอยู่ที่เลขที่ 399 หมู่ที่ 12 บ้านทุ่ม ตำบลบ้านทุ่ม   อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 12 –13 ของทางหลวงหมายเลข 12 สายขอนแก่นชุมแพ

2. การติดต่อทางไปรษณีย์

ก)  ตู้ปณ 45 ปท.เทพารักษ์  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น (40001)

ข)  เลขที่ 399 หมู่ที่ 12 (บ้านทุ่ม) ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง

จังหวัดขอนแก่น (40000)

1.2.3 การติดต่อทางโทรศัพท์/โทรสาร/จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

โทรศัพท์  : 043-255028

โทรสาร  : 043-255036

E-mail : qssc_kkm@opsmoac.co.th

  

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดขอนแก่น(หม่อนไหมสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ส่วนแยกหม่อนไหม  กรมวิชาการเกษตร  โดยใช้สถานที่ของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดขอนแก่น (หม่อนไหม)

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ   นายณกรณ์  ไกรอนุพงษา ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯขอนแก่น



ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านทุ่ม  
ที่ตั้ง  เลขที่ 285 หมู่ที่ 1 ตำบล บ้านทุ่ม อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น
ประวัติความเป็นมา

          ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านทุ่ม เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2441 โดยให้ครูประจำกลุ่มปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งเรียกว่า ครูประจำกลุ่ม ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านทุ่ม ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่ม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้ศูนย์พัฒนาอาชีพตำบลบ้านทุ่ม เป็นสถานที่พบกลุ่มและที่ทำการ ปัจจุบัน ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านทุ่ม มีบุคลากรประจำศูนย์การเรียน จำนวน 2 คน คือ นางมลิวัลย์ อยู่สุข และนายเฉลิมชัย  แน่นอุดร และมีครู ปวช.1 คน คือ นายสาธิต ภูมิเวียงศรี

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ นางมลิวัลย์   อยู่สุข    โทรศัพท์  089-4212803 ,089-4181001

  

   


ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านม่วง  
ที่ตั้ง  หมู่ที่ 10 ตำบล บ้านทุ่ม อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

      เดิมเป็นศูนย์พัฒนาเด็กประจำบ้านม่วง เมื่อศูนย์พัฒนาเด็กย้ายที่ทำการ เทศบาลตำบลบ้านทุ่มจึงมอบให้ กศน.บ้านม่วง เพื่อใช้เป็นที่จัดกิจกรรม   และพบกลุ่มของนักศึกษา กศน.เมื่อ พ.ศ.2553 โดยมี นายเฉลิมชัย แน่นอุดร เป็น ครู กศน.ตำบล/ศูนย์การเรียนชุมชน และ นางสาวเกษมณี แคว้นน้อย เป็น ครูประจำกลุ่ม

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ นายเฉลิมชัย  แน่นอุดร  โทรศัพท์  098-1028128,0804124156

 
 



คุ้มวัฒนธรรมภูมิญาลัยอีสาน  
ที่ตั้ง  ตั้งอยู่ในโรงเรียนนครขอนแก่น ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นเครือข่ายศูนย์วัฒนธรรมในสถานศึกษาจังหวัดขอนแก่น ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น กระทรวงวัฒนธรรม

ประวัติความเป็นมา  คุ้มวัฒนธรรมภูมิญาลัย เกิดขึ้นเนื่องจากการที่กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตกลงความร่วมมือในการบูรณาการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานอำนาจหน้าที่ของทั้ง สองหน่วยงาน ตามรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยจัดการตั้งศูนย์วัฒนธรรมขึ้นในสถานศึกษา เพื่อให้ศูนย์วัฒนธรรมเป็นเครือข่ายเยาวชนและครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบความร่วมมือ ๓ ประการ ได้แก่
๑ ความร่วมมือในการทะนุบำรุง รักษา ถ่ายถอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในวิถีชีวิตและรักษาความเป็นชาติ

๒ ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชนให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

๓ ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทางประเพณีและวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของบ้าน โรงเรียน และศาสนสถานจึงได้แสดงความจำนงตกลงกัน ที่จะขับเคลื่อนการดำเนินศูนย์วัฒนธรรมในสถานศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นและระดับชาติต่อไป

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้  คุ้มวัฒนธรรมภูมิญาลัยอีสาน คุ้มวัฒนธรรม นครขอนแก่น บ้านทุ่ม ขอนแก่น ที่จัดแสดงทางวัฒนธรรม

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ   ครู มนูญ สอนเอี่ยม ครูชำนาญการ  โทรศัพท์  083-3414989

 
 


วัดโนนขาม  
ที่ตั้ง  บ้านเหล่าเกวียนหัก หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา  เมื่อปี พ.ศ. 2476 พ่อขุนอรัญ พร้อมชาวบ้านเหล่าเกวียนหัก หมู่ที่ 5 ได้ร่วมแรงร่วมใจตั้งวัดประจำหมู่บ้านขึ้น ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 0 งาน 0 ตารางวา โดยตั้งชื่อวัดว่า วัดโนนขามปัจจุบันมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ 1หลัง กุฏิสงฆ์ 6 หลัง หอกลอง/หอระฆัง 1 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 1 หลังและเจดีย์อรหันต์ 1 องค์

การบริหารและปกครอง วัดโนนขาม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเจ้าอาวาสตั้งแต่ก่อตั้งวัดจนถึงปัจจุบันเท่าที่ทราบนาม 16รูป ปัจจุบันมี พระดาว วรธมฺโม เป็นเจ้าอาวาสวัด

ความสำคัญ วัดโนนขาม เป็นสถานที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่จัดงานบุญตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม (ฮีต 12) เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนบ้านเหล่าเกวียนหัก หมู่ที่ 5 และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้  วัดโนนขาม ประวัติวัด บ้านเหล่าเกวียนหัก บ้านทุ่ม ตำบลบ้านทุ่ม เมืองขอนแก่น ขอนแก่น

 ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ  พระดาว วรธมฺโม  โทรศัพท์   08 4422 8913

 
 


วัดศรีโพธิ์ทอง  
ที่ตั้ง  บ้านกุดนางทุย หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา   เมื่อปี พ.ศ. 2478ผู้นำชุมชนบ้านกุดนางทุย หมู่ที่ 9 พร้อมชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจตั้งวัดประจำหมู่บ้านขึ้น ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 56 ตารางวา โดยตั้งชื่อวัดว่า วัดศรีโพธิ์ทองเพราะมีต้นโพธิ์ใหญ่ 2-3 ต้น อยู่ในที่ดินตั้งวัด ปัจจุบันมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ 1 หลัง กุฏิสงฆ์ 4 หลัง หอกลอง/หอระฆัง 1 หลัง

การบริหารและปกครองวัดศรีโพธิ์ทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเจ้าอาวาสตั้งแต่ก่อตั้งวัดจนถึงปัจจุบันเท่าที่ทราบนาม 8 รูป ปัจจุบันมี พระอธิการทองอินทร์ ชุตินฺธโร เป็นเจ้าอาวาสวัด

ความสำคัญวัดศรีโพธิ์ทอง เป็นสถานที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่จัดงานบุญตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม (ฮีต 12) เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนบ้านกุดนางทุย หมู่ที่ 9 และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้  ขอนแก่น เมืองขอนแก่น ตำบลบ้านทุ่ม บ้านกุดนางทุย ประวัติวัด วัดศรีโพธิ์ทอง

ผู้รับผิดชอบ  ชื่อ  พระอธิการทองอินทร์ ชุตินฺธโร  โทรศัพท์  09 0341 8951

   


\\********************************************************************//

ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น

 


ตอนที่  1  ข้อมูลส่วนตัว

          1.  ชื่อ  นางบัวลอย   สกุล   แสนวังสี                                                 

          2.  เกิดวันที่     12  เดือน   พฤศจิกายน      พ.ศ.  2503    อายุ  52    ปี

          3.  วุฒิการศึกษา  ประถมศึกษาปีที่ 6     จากสถานศึกษา  กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

          4.  ที่อยู่  312    หมู่    ตำบล  บ้านทุ่ม    อำเภอ   เมืองขอนแก่น

                   จังหวัด  ขอนแก่น     รหัส  40000     โทรศัพท์ 

          5.  ความรู้ภูมิปัญญาเรื่อง  การทำแหนมปลาตอง

               ประเภทความรู้    เกี่ยวกับอาหาร

ตอนที่  2  ข้อมูลการทำงาน

          1.  ประกอบอาชีพ  รับจ้าง    สถานที่ทำงาน  312 บ้านทุ่ม หมู่ที่ 1

          2.  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง แม่บ้าน

ตอนที่  3  ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ประจักษ์  (สรุปลักษณะผลงานโดยย่อมีภาพประกอบ)

  

********************************************************


ตอนที่  1  ข้อมูลส่วนตัว

          1.  ชื่อ  นายสมยศ      สกุล   ศรีกลชาญ

          2.  เกิดวันที่     30  เดือน   กรกฏาคม      พ.ศ.  2510    อายุ    45    ปี

          3.  วุฒิการศึกษา  มัธยมศึกษาตอนปลาย     จากสถานศึกษา  กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

          4.  ที่อยู่   24    หมู่    ตำบล  บ้านทุ่ม    อำเภอ   เมืองขอนแก่น

                   จังหวัด  ขอนแก่น     รหัส  40000     โทรศัพท์ 

          5.  ความรู้ภูมิปัญญาเรื่อง  การเลี้ยงปลาดุก

               ประเภทความรู้    เกี่ยวกับอาหาร
ตอนที่  2  ข้อมูลการทำงาน

          1.  ประกอบอาชีพ  รับจ้าง    สถานที่ทำงาน    24  บ้านทุ่ม หมู่ที่ 1

          2.  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1                

 

ตอนที่  3  ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ประจักษ์  (สรุปลักษณะผลงานโดยย่อมีภาพประกอบ)



********************************************************


ตอนที่  1  ข้อมูลส่วนตัว

          1.  ชื่อ  นายภูมิพิชาติ  สกุล  จันทร์เพ็ง   

          2.  เกิดวันที่     21 มิถุนายน  พ.ศ. 2495  อายุ  61    ปี

          3.  วุฒิการศึกษา  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

          4.  ที่อยู่  278    หมู่    ตำบล  บ้านทุ่ม    อำเภอ   เมืองขอนแก่น

                   จังหวัด  ขอนแก่น     รหัส  40000     โทรศัพท์ 

          5.  ความรู้ภูมิปัญญาเรื่อง  การเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์

               ประเภทความรู้    เกี่ยวกับอาหาร         

ตอนที่  2  ข้อมูลการทำงาน

          1.  ประกอบอาชีพ  ธุรกิจส่วนตัว    สถานที่ทำงาน  278    หมู่    

          2.  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  ครูประจำกลุ่ม

ตอนที่  3  ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ประจักษ์  (สรุปลักษณะผลงานโดยย่อมีภาพประกอบ)




********************************************************



ตอนที่  1  ข้อมูลส่วนตัว

          1.  ชื่อ  นางสาวชุลีกรณ์  สกุล  คงกุทอง   

          2.  เกิดวันที่     12 มิถุนายน พ.ศ. 2511  อายุ  45    ปี

          3.  วุฒิการศึกษา  สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดมณฑป (โรงเรียนบ้านม่วง) ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

          4.  ที่อยู่  363 บ้านทุ่ม หมู่  2     ตำบล  บ้านทุ่ม    อำเภอ   เมืองขอนแก่น

                   จังหวัด  ขอนแก่น     รหัส  40000     โทรศัพท์ 

          5.  ความรู้ภูมิปัญญาเรื่อง  การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

               ประเภทความรู้    เกี่ยวกับอาหาร

ตอนที่  2  ข้อมูลการทำงาน

          1.  ประกอบอาชีพ  ธุรกิจส่วนตัว    สถานที่ทำงาน  363 บ้านทุ่ม หมู่  2     

          2.  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง -

ตอนที่  3  ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ประจักษ์  (สรุปลักษณะผลงานโดยย่อมีภาพประกอบ)



เข้าชม : 5133
 
 
กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  บ้านทุ่ม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี