[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

เนื้อหา : หนังสือหายาก
หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์
หัวข้อเรื่อง : แผนจุลภาค

พุธ ที่ 27 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2558



 แผนจุลภาค (Micro Planning) กศน.ตำบล บ้านทุ่ม

ประจำปีงบประมาณ 2558

คำนำ

              แผนจุลภาค (Micro Planning)  กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558  โดยยึดแนวทางตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ 2558 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น และยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น ตลอดจนบริบท ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เพื่อกำหนดเป็นแนวปฏิบัติและแนวทางในการดำเนินงาน กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

      การจัดทำแผนจุลภาค (Micro Planning)  กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  ประจำปีงบประมาณ 2558 เล่มนี้ สำเร็จลุล่วงด้วยดี ด้วยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย และผู้เกี่ยวข้องร่วมกันระดมความคิดเห็น  โดยนำสภาพปัญหาและผลการดำเนินงานมาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง 

              คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  แผนจุลภาค (Micro Planning)  กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ประจำปีงบประมาณ 2558 เล่มนี้ จะเป็นแนวทางในการดำเนินงานของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และมีคุณภาพตามเป้าหมาย ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

                  

กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

    กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

สำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่น

                                                                                                       พฤศจิกายน  2557


สารบัญ

                                                                                                                   

คำนำ                                                                                                                     

สารบัญ                                                                                                                    

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผน                                                                                   

           สภาพทางกายภาพของชุมชน (ตำบล/แขวง)                                                                   

           สภาพทางสังคม-ประชากร                                                                                     

           สภาพทางเศรษฐกิจ                                                                                             

           แหล่งวิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา           

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม กศน.ตำบล/แขวง (SWOT Analysis)                                            

ส่วนที่ 3 แนวทาง/กลยุทธ์การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล/แขวง    

ส่วนที่ 4 แผนปฏิบัติการ การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558                                                                               

ส่วนที่ 5 แผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับกลุ่มเป้าหมายในตำบล                 

ภาคผนวก

          ภาคผนวก ก  ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                 ประจำปีงบประมาณ 2558                                                                     

          ภาคผนวก ข  นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ                        

          ภาคผนวก ค  โครงการ/กิจกรรม/หลักสูตร                                                                     

ผู้จัดทำ                   
                                                                                                 

ส่วนที่ 1

ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผน


ส่วนที่ 1

ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

 

1. สภาพทางกายภาพของชุมชน ตำบลบ้านทุ่ม

          1.1 ชื่อ : กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

1.2 สังกัด

          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

 

          1.3 ประวัติความเป็นมา

          กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี 2554 เนื่องจากตำบลบ้านทุ่มมีพื้นที่กว้าง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ และ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  จัดตั้งขึ้นตามประกาศ  จังหวัดขอนแก่น  ลงวันที่  28  ธันวาคม  2552 ความเห็นชอบของสำนักงาน กศน. จังหวัดขอนแก่น  ให้ปรับศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านทุ่ม  หมู่ที่  1 ตำบลบ้านทุ่ม  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  มีพิธีเปิด   เมื่อวันอาทิตย์ที่  3  เดือน มีนาคม  2553   โดยนายจีราวัฒน์ อุดมวรรธน์   นายกเทศบาลตำบลบ้านทุ่มเป็นประธานในพิธีเปิด    กศน.ตำบลบ้านทุ่ม โดยมีนางมลิวัลย์  อยู่สุข ครูกศน.เป็นผู้รับผิดชอบ  กศน.ตำบลบ้านทุ่ม เป็นหน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ของ กศน. อำเภอเมืองขอนแก่น และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ   ส่งเสริมการเรียนรู้ ของประชาชนในตำบลบ้านทุ่ม และพัฒนา เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลบ้านทุ่ม

1.4 ขนาดพื้นที่ ที่ตั้ง อาณาเขตติดต่อ

ตำบลบ้านทุ่ม มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองขอนแก่นประมาณ  14 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกของถนนมะลิวัลย์ (ขอนแก่น- ชุมแพ) ติดถนนมะลิวัลย์ ตำบลบ้านทุ่มมีหมู่บ้านทั้งหมด 18 หมู่บ้าน ปัจจุบันได้ยกฐานะการบริหารการปกครองเป็นเทศบาลเมืองบ้านทุ่ม

เนื้อที่

 

พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 54 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ     38,733          ไร่                                                            
          พื้นที่ทำการเกษตร                                               32,815          ไร่                                                        
          พื้นที่อยู่อาศัย 
 เขตชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง                    4,434          ไร่                                                    
          พื้นที่สาธารณประโยชน์  
                                         1,211         ไร่                                             
          เขตแหล่งน้ำ                                                           273          ไร่

อาณาเขตติดต่อ 

ตำบลบ้านทุ่ม  มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง  คือ
                    ทิศเหนือ             ติดต่อกับ    
ตำบลสาวะถี  และตำบลแดงใหญ่ อำเภอเมืองขอนแก่น
                    ทิศใต้                 ติดต่อกับ    
ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น
                    ทิศตะวันออก        ติดต่อกับ    
ตำบลบ้านเป็ด  อำเภอเมืองขอนแก่น                              
                    ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ    
อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ

          ด้านหน้า         ติดต่อกับ         ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1

          ด้านหลัง                   ติดต่อกับ         นิภาพรการแพทย์

          ด้านขวา          ติดต่อกับ         สนามกีฬาเอนกประสงค์

          ด้านซ้าย                   ติดต่อกับ         ชุมสายองค์การโทรศัพท์บ้านทุ่ม

เนื้อที่ 
          เนื้อที่ทั้งหมดของตำบลบ้านทุ่ม  คิดเป็นตารางกิโลเมตรได้ 
54  ตารางกิโลเมตร         

คิดเป็นไร่ได้ 38,733  ไร่  และบริเวณของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  มีพื้นที่ประมาณ  2 งาน 88 ตารางวา

 

          สภาพภูมิประเทศ
                     ตำบลบ้านทุ่ม  สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบมีลำห้วยไหลผ่าน เป็นดินร่วนปนทราย และดินเค็ม

สภาพทางสังคม-ประชากร

ประชากร 
          จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น
17,188   แยกเป็นชาย 8,379  คน หญิง 8,809 คน จำนวนครัวเรือน

ทั้งหมด  5,305   หลังคาเรือน

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชาย

หญิง

รวม

จำนวนครัวเรือน

1

บ้านทุ่ม

837

871

1,708

518

2

บ้านทุ่ม

793

821

1,614

591

3

บ้านทุ่ม

790

795

1,585

462

4

บ้านทุ่ม

729

820

1,549

514

5

บ้านเหล่าเกวียนหัก

462

468

930

221

6

บ้านแดงน้อย

322

362

684

240

7

บ้านแดงน้อย

415

452

867

294

8

บ้านหนองกุง

316

343

659

324

9

บ้านกุดนางทุย

299

297

596

173

10

บ้านทุ่ม

297

306

603

173

11

บ้านทุ่ม

419

430

849

231

12

บ้านทุ่ม

324

334

658

258

13

บ้านทุ่ม

289

311

600

169

14

บ้านทุ่ม

546

569

1,115

292

15

บ้านทุ่ม

526

564

1,090

287

16

 บ้านแดงน้อย

409

411

820

224

17

บ้านแดงน้อย

336

366

702

204

18

บ้านหนองกุง 

270

289

559

130

รวม

8,379

8,809

17,188

5,305

ข้อมูล ณ. เดือน ธันวาคม  พ.ศ.2556

 

 ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

พิจารณาจากชื่อหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ในแถบพื้นที่เขตอีสานมักจะตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะเด่นของที่ตั้งหมู่บ้าน เช่น ตามลักษณะภูมิประเทศ ตามลักษณะแหล่งน้ำ ตามลักษณะพืชพรรณ รวมทั้งตามชื่อต้นไม้ที่พบเห็นได้โดยทั่วไป เช่น

ดังนั้น ชื่อ “บ้านทุ่ม” อาจเป็นชื่อที่ได้มาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งที่พบได้มากในที่แห่งนี้ ในอดีตบ้านทุ่มคงมี “ต้นท่ม” ภาคกลางเรียกว่า “กระท่ม” โดยภาษาถิ่นอีสานเรียกว่า “ท่ม”

ต้นกระทุ่มเป็นต้นไม้ที่มีเปลือกหนา ใบเล็กดกค่อนข้างหนา ลำต้นนิยมนำมาทำเป็นครกกระเดื่องไว้ตำข้าวกิน อีกประการหนึ่ง คนสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เมื่อสูงวัยขึ้นมักนิยมไว้ทรงผมแบบดอกกระทุ่ม คือ ลักษณะดอกกระทุ่ม จะเป็นทรงกลม บริเวณต้นดอกจะมีเส้นดอกสั้นแล้วจะยาวออกไปเมื่อสูงขึ้นไปถึงยอดอย่างเป็นระเบียบสวยงาม

คุณประกอบ นวลบุดดี อดีตกำนันตำบลบ้านทุ่ม เล่าว่าบริเวณที่นาของนายคาน นางจวน อยู่ทางตะวันออกของบ้านทุ่ม ห่างจากบ้านนายสุ่ม หนองแก ประมาณ ๑ เส้น ที่นาในย่านนี้มีต้นท่มมากมาย(กระทุ่ม) จนได้ชื่อว่า “นาหนองท่ม” (นาหนองทุ่ม) ตามความที่กล่าวในข้างต้นหรือจะเป็นไปได้ว่า ชื่อ “บ้านท่ม” อาจมาจากชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ก็ได้ ซึ่งน่าจะมีความเป็นไปได้อย่างมากทีเดียว

ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จประภาสอีสาน เสด็จมาถึงล้านทุ่มช่วงเป็นที่ตั้งเมืองขอนแก่น จากประวัติศาสตร์บ้านทุ่มเป็นที่ตั้งจังหวัดขอนแก่นมาก่อน

คำขวัญบ้านทุ่ม

หลวงพ่อองค์กาสศักดิ์สิทธิ์

แหล่งผลิตข้าวพระยาสารท

เคยประกาศเป็นเมืองขอนแก่น

ดินแดนแห่งวัฒนธรรม

เกษตรนำ เศรษฐกิจพอเพียง

ร้อยเรียงรู้รักสามัคคี

 

 

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

อาชีพ   อาชีพหลัก คือ ค้าขาย  และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบล ทำนา การเลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทำไร่ อาชีพรอง คือ รับจ้าง  ได้แก่  รับจ้าง ทำการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม                                              รายได้เฉลี่ย คือ 60,000 บาท/คน/ปี

 

ตารางอัตราส่วนการประกอบอาชีพของประชากรในพื้นที่ตำบลบ้านทุ่ม

ที่

อาชีพ

ร้อยละ

หมายเหตุ

1

เกษตรกรรม

การเลี้ยงสัตว์                                                    ทำสวน                                                                ทำไร่                                                             ทำนา

 

3                  

3

5

12

                                                    

 

2

รับจ้าง

30

 

3

รับราชการ

10

 

4

ค้าขาย

37

 

 

          ประชากรประกอบอาชีพ เช่น การเกษตร ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทำไร่ ทำนา

          ปลูกพืช ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว มะม่วง หม่อน และผักต่างฯ

          เลี้ยงสัตว์ได้แก่ โค กระบือ หมู เป็ด ไก่

 รับราชการ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

รับจ้างทำการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

ทรัพยากรธรรมชาติ

ประชากรประกอบอาชีพ เช่น การเกษตร ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทำไร่ ทำนา

ปลูกพืช ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว มะม่วง หม่อน และผักต่างฯ

          เลี้ยงสัตว์ได้แก่ โค กระบือ หมู เป็ด ไก่

 รับราชการ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

รับจ้างทำการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม

การบริการทางสังคม

1.        1.1   โรงเรียนประถมศึกษา  จำนวน  2  แห่ง  คือ

1)      โรงเรียนบ้านทุ่มประชานุเคราห์    ตั้งที่ บ้านทุ่ม หมู่ที่ 12

2)      โรงเรียนบ้านเหล่าเกวียนหัก  ตั้งที่ บ้านเหล่าเกวียนหัก   หมู่ที่ 5

3)      โรงเรียนหนองกุง  ตั้งที่ บ้านหนองกุง

1.2    โรงเรียนมัธยมศึกษา  จำนวน  4 แห่ง คือ

1)       โรงเรียนนครขอนแก่น  ตั้งที่ บ้านทุ่ม หมู่ที่ 12

2)       โรงเรียนบ้านเหล่าเกวียนหัก  ตั้งที่ บ้านเหล่าเกวียนหัก   หมู่ที่ 5

3)       โรงเรียนบ้านแดงน้อย  ตั้งที่ บ้านแดงน้อย หมู่ที่ 17

4)      โรงเรียนบ้านม่วง  ตั้งที่ บ้านม่วง  หมู่ที่ 11

1.3   โรงเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน  1แห่ง  โรงเรียนคุวนันท์

2.       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน  4   แห่ง

3.      สาธารณสุข  จำนวน  1  แห่ง  ตั้งที่ บ้านทุ่ม หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านทุ่ม

 

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

วัด  จำนวน 6  แห่ง  คือ

1)      วัด  ศรีบุญเรือง             ตั้งที่หมู่ที่ 2    บ้านทุ่ม

2)      วัด โพธิ์กลาง               ตั้งที่หมู่ที่ 3     บ้านทุ่ม

3)      วัด  ยอดแก้ว              ตั้งที่หมู่ที่ 4     บ้านทุ่ม

4)      วัด  ป่าอภัยวัน            ตั้งที่หมู่ที่ 12   บ้านทุ่ม

5)      วัด  โนนขาม               ตั้งที่หมู่ที่  5    บ้านเหล่าเกวียนหัก

6)      วัด  มนฑป                 ตั้งที่หมู่ที่  14   บ้านม่วง

7)      วัด  ศรีชมชื่น              ตั้งที่หมู่ที่   6    บ้านแดงน้อย

8)      วัด  โฆษิตาราม            ตั้งที่หมู่ที่ 8      บ้านหนองกุง

9)      วัด  ป่าสันติธรรม          ตั้งที่หมู่ที่ 18     บ้านหนองกุง

10)  วัด  ศรีโพธิ์ทอง            ตั้งที่หมู่ที่ 9       บ้านกุดนางทุย

11)  วัดหนองแวงโพนทอง      ตั้งที่หมู่ที่  1     บ้านทุ่ม

หน่วยงานธุรกิจในเขต เทศบาลตำบล

 

ที่

สถานที่

จำนวน

ที่

สถานที่

จำนวน

1

โรงแรม(รีสอร์ท)

4    แห่ง

2

ปั๊มน้ำมัน

5  แห่ง

3

ร้านแก๊ส

4   แห่ง

4

โรงงาน

18  แห่ง

5

ร้านค้า

285  แห่ง

6

โรงสีข้าว

6  แห่ง

7

ร้านอาหาร

23 แห่ง

8

ร้านค้าวัสดุ

11   แห่ง

9

ร้านเช่าวีดีโอ

5   แห่ง

10

ร้านเกมส์

6   แห่ง

11

ร้านซักรีด

7   แห่ง

12

ร้านเย็บผ้า

15   แห่ง

13

ร้านเสริมสวย

45   แห่ง

14

ร้านตัดผมชาย

14   แห่ง

15

รับซื้อของเก่า

4   แห่ง

16

ร้านเชื่อมโลหะ

6   แห่ง

17

บริษัท

38  แห่ง

18

คลังสินค้า

11   แห่ง

19

หอพัก ห้องเช่า

189  แห่ง

20

โรงขนมจีน

5   แห่ง

21

โรงกลึง

2   แห่ง

22

ล้างอัดฉีด

2   แห่ง

23

อู่ซ่อมรถยนต์/จักรยานยนต์

15   แห่ง

 

 

 

 

สภาพทางสังคม

วัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมที่สำคัญ

          1.   งานบุญมหาชาติประจำปี ประมาณเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน 
          2งานประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ  ประมาณเดือน เมษายน 
          3งานบุญบั้งไฟประจำปี ประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
          4งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม
          5งานประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน

สาธารณสุข

1

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

1  แห่ง

2

สถานพยาบาลเอกชน

5  แห่ง

3

ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 

7  แห่ง

4

อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ

100 %

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

1

สถานีตำรวจภูธรย่อย

1  แห่ง

2

กลุ่มรปม. 

80   คน

3

รถตรวจการ (สายตรวจ)

2  คัน

4

กลุ่ม อปพร. 

200  คน

5

รถบรรทุกน้ำดับเพลิง

1  คัน

6

กรรมการหมู่บ้าน

18  แห่ง

 

การคมนาคมทางบก 
              นับว่ามีความสะดวกในการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีถนนสายสำคัญตัดผ่าน ถนนภายในหมู่บ้านโดยทั่วไปอยู่ในสภาพใช้งานได้ดีส่วนมากเป็นถนนคอนกรีต   ถนนทางหลวงที่พาดผ่าน เทศบาลตำบลบ้านทุ่ม ได้แก่  ทางหลวงหมายเลข  12  (ขอนแก่น ชุมแพ)  ส่วนถนนสายสำคัญของหมู่บ้านจะเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านและมีรถยนต์โดยสารประจำทางอยู่หลายสายด้วยกัน ได้แก่

± รถยนต์โดยสารประจำทางบ้านทุ่ม สาย 5 (สีเขียว) รับผู้โดยสารบ้านทุ่ม หมู่ที่ 1,2,3,18 

± ถนนลาดยางผ่านหมู่บ้าน 5 สายใช้ได้ทั้ง 5 สาย

± ถนนทางหลวงแผ่นดิน 1 สาย (ถนนมลิวัลย์)

การไฟฟ้า

           ± เทศบาลตำบลบ้านทุ่ม อยู่ในเขตบริการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลิตกระแส ไฟฟ้าจากพลังน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์  และพลังงานความร้อนในเขตอำเภอน้ำพองทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้  

ตารางรายชื่อกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน

 

ที่

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

หมู่ที่

หมายเหตุ

1

นายศักดิ์   ม่วงนิล

ผู้ใหญ่บ้าน

1

 

2

นายพันณรงค์  รุ่งเรือง

ผู้ใหญ่บ้าน

2

 

3

นายขวัญใจ  เสนามนตรี

กำนัน

3

 

4

นายถวิล    ชื่นปรีชา

ผู้ใหญ่บ้าน

4

 

5

นายบุญเลิศ  วัดถัง

ผู้ใหญ่บ้าน

5

 

6

นายหิรัญ   สุแดงน้อย

ผู้ใหญ่บ้าน

6

 

7

นายสมศักดิ์  เทพไกรวัลย์

ผู้ใหญ่บ้าน

7

 

8

นายทองไสย์   หล่ำแขก

ผู้ใหญ่บ้าน

8

 

9

นายเสวยสุข    ค่าเอ่น

ผู้ใหญ่บ้าน

9

 

10

นายสมจิต   ทองบ้านทุ่ม

ผู้ใหญ่บ้าน

10

 

11

นายสุวรรณ  สิมเสน

ผู้ใหญ่บ้าน

11

 

12

นายธีรพจน์  ดีด้วง

ผู้ใหญ่บ้าน

12

 

13

นายมานะ  ธรรมโคตร

ผู้ใหญ่บ้าน

13

 

14

นายจินดา   โสหา

ผู้ใหญ่บ้าน

14

 

15

นายสำเรียน   คำยา

ผู้ใหญ่บ้าน

15

 

16

นายช่วง   ไชยธรรม

ผู้ใหญ่บ้าน

16

 

17

นายทองลวด จันทรวิชัย

ผู้ใหญ่บ้าน

17

 

18

นางยุพิน  นิ่มนวล

ผู้ใหญ่บ้าน

18

 


แหล่งวิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา

หมู่ที่

ชุมชน

แหล่งวิทยาการ

หมายเหตุ

1

บ้านทุ่มหมู่ที่ 1

นางสาววิราวรรณ  คำสิงห์

วิทยากรการแปรรูปอาหารปลาส้ม

2

บ้านทุ่มหมู่ที่ 1

นายสมยศ  ศรีกลชาญ

วิทยากรเลี้ยงปลาดุกในท่อ

3

บ้านทุ่มหมู่ที่ 2

นางเพราพิลาส  ราเวน

วิทยากรไวส์เลิศรส

4

บ้านทุ่มหมู่ที่ 3

นางทองมา  จุลจันทนโพธิ์

วิทยากรกระยาสาร์ททิพย์

5

บ้านเหลาเกวียนหักหมู่ที่ 5

นางผล   วัดถัง

วิทยากรน้ำยาล้างจาน

6

บ้านแดงน้อยหมู่ที่ 6

นางวิไล  สุขา

วิทยากรแหนมหมู

 

2  ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

1 ขนาด กศน.ตำบล  จำนวนผู้เรียน/นักศึกษา  ระดับการศึกษาที่ให้บริการ

กศน.ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดชอนแก่น เป็นอาคาร ขนาด กว้าง 9.65 เมตร ยาว 13.75 เมตร หรือเท่ากับ 132.69 ตารางเมตร มีบริเวณสนามหญ้า ลานกีฬา  สามารถเป็นสถานที่จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนได้เป็นอย่างดี  มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการจัดกิจกรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีการศึกษา 2/2557

ผลการจัด (คน)

ชาย

หญิง

1.  กิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ

350

55

295

2.  ระดับประถมศึกษา

13

2

11

3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

148

42

106

4.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

146

30

116

5.  ระดับ ปวช.  (กศน.)

174

22

152

6. การเทียบระดับการศึกษา

7

4

3

รวม

838

155

683












2 ความต้องการทางการศึกษาของประชาชน

          ประชาชนส่วนใหญ่ มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับพอใช้  ประกอบอาชีพการเกษตรและมีรายได้ไม่แน่นอน  มาตรฐานด้านความต้องการการศึกษายังมีน้อย  เนื่องจากไม่เห็นคุณค่าของการศึกษา  มีความเชื่อด้านการดำรงชีวิตเป็นไปตามการสืบทอดตามครอบครัว  และเมื่อมีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการศึกษาจากทุกภาคส่วนราชการ  รวมทั้งการบังคับจากภาครัฐให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีการศึกษาในระดับภาคบังคับ 9 ปี ทำให้ในปัจจุบันมีประชาชนเข้ารับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น  คนที่ขาดโอกาสทางการศึกษามาก่อนก็จะเข้ามาให้ กศน.เป็นผู้เติมเต็มในส่วนนี้ให้  และสามารถจำแนกความต้องการให้จัดการศึกษาดังนี้

ที่

รูปแบบการจัดการศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

หมายเหตุ

1

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. เยาวชนพลาดโอกาสจากในระบบ

2. ผู้นำชุมชนที่ต้องการวุฒิการศึกษา

3. ลูกจ้างในสถานประกอบการต่าง ๆ

 

2

การศึกษาด้านอาชีพ / อาชีพเสริม / เพิ่มศักยภาพอาชีพเดิม

1. เยาวชนนอกระบบ

2. กลุ่มแม่บ้าน

3. นักเรียนสถาบันศึกษาปอเนาะ

 

3

การจัดอบรมพัฒนาทักษะชีวิต

1. เยาวชนนอกระบบ

2. ผู้สูงอายุ

3. ผู้นำชุมชน

4. ผู้นำศาสนา

 

4

การจัดอบรมพัฒนาสังคมและชุม

1. เยาวชนนอกระบบ

2. ผู้สูงอายุ

3. ผู้นำชุมชน

4. ผู้นำศาสนา

 

5

การจัดอบรมด้านภาษา

1. เยาวชนนอระบบ

2. อสม.

3. ประชาชนทั่วไป

 

6

การส่งเสริมการรู้หนังสือ

1.  ประชาชนที่ลืมหนังสือ

2.  ประชาชนที่ไม่รู้หนังสือ

 


ส่วนที่ 2

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม กศน. ตำบลบ้านทุ่ม (SWOT Analysis)

ส่วนที่ 2

การวิเคราะห์ SWOT ของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

1.  ผลการวิเคราะห์ SWOT  ของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  ปีงบประมาณ 2558

          1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน

จุดแข็ง  (Strengths) - ปัจจัยภายในสถานศึกษา(ศูนย์การเรียนชุมชน)

จุดแข็ง (Strengths - S)

          1)  ด้านบุคลากร  กศน.ตำบลบ้านทุ่มมีบุคลากรที่เป็นลูกจ้าง  และมีครูเครือข่าย อาสาสมัคร กศน. จำนวนมาก จึงสามารถปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึง   และบุคลากรยังเป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นบุคคลในพื้นที่และเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน สามารถเข้ากับนักศึกษาได้ทุกระดับ  จึงปฏิบัติงานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

2) ด้านการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนให้กับประชาชน / ชุมชน ที่สามารถดำเนินการอย่างทั่วถึงเนื่องจากศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านทุ่มมีนักศึกษาอยู่ทุกหมู่บ้าน

3)  ด้านเนื้อหาการเรียนการสอน ที่มีความยืดหยุ่นวิธีเรียนที่หลากหลาย สอดคล้องตามความต้องการของผู้เรียน 

4) ด้านผู้เรียน /ผู้รับบริการ มีวุฒิภาวะ ในการเรียนรู้  และสถานภาพทางสังคมสูง 

5) ด้านภาคีเครือข่าย ได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในทุกด้าน เช่น กิจกรรมกีฬาชุมชน สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมอาชีพในชุมชน

จุดอ่อน (Weakness) -  ปัจจัยภายในสถานศึกษา(ศูนย์การเรียนชุมชน)

          1)  ด้านบุคลากร  ครูผู้สอน มีวุฒิไม่ตรงสาขาที่สอน และอยากให้เพิ่มค่าตอบแทนครูประจำกลุ่มเหื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน

          2)  ด้านผู้เรียน/ผู้รับบริการ ที่มีความหลากหลายทั้งอายุ  อาชีพ  สถานะทางสังคม  ซึ่งส่วนมากเป็นเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีพื้นฐานการเรียนไม่ดี   มีข้อจำกัด  ขาดศักยภาพในการเรียนรู้  การคิด  อ่าน วิเคราะห์   ทำให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างลำบาก

1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

โอกาส(Opportunities - O)

          1) ตำบลบ้านทุ่มเป็นตำบลที่มีพื้นที่กว้างใหญ่  มีการคมนาคมที่สะดวก จำนวนประชากรมาก   มีชุมชน / เครือข่าย ที่เข้มแข็ง ให้การส่งเสริม สนับสนุน และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี

2) มีการติดต่อประสานงานกับเครือข่ายที่เข้มแข็ง ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งจากนักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ และผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือดี                              3) มีแหล่งเรียนรู้และกลุ่มอาชีพที่สำคัญในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าศึกษาตามอัธยาศัย เช่น กลุ่มเลี้ยงผึ้ง  ศูนย์หม่อนไหมขอนแก่น  ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนฟาร์มร่มแดง  เป็นต้น

จุดอ่อน (Weaknesses - W)

1. ด้านสังคม  โดยส่วนมากเป็นสังคมระหว่างเมืองกับชนบท  ต่างคนต่างทำมาหากิน  การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ลดน้อยลง  บางครั้งยังขาดความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆในการพัฒนาตำบล

2. การบริหารจัดการ  ในการเสนอแนวทางการพัฒนาของภาคประชาชน  ยังขาดความร่วมมือและข้อมูลที่แท้จริงในการพัฒนาตำบล

3. สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศ  ในระดับภูมิภาคส่งผงต่อการพัฒนาท้องถิ่น

การขยายตัวของชุมชนและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรภายในตำบลบ้านค้ออย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้ประชาชนมีระดับความต้องการในการบริการสาธารณะสูงขึ้น  ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ครอบคลุมและทั่วถึง

อุปสรรค/ความเสี่ยง (Threats - T)

กลุ่มเป้าหมาย ผู้เรียน / ผู้รับบริการ ซึ่งส่วนมากอยู่ในวัยแรงงาน นักศึกษาส่วนใหญ่ทำงานอยู่ใน

พื้นที่เกษตรกรรม จึงไม่มีเวลามาพบกลุ่มเท่าที่ควร และบางหมู่บ้านมีการอพยพไปรับจ้างต่างถิ่น ทำให้เป็นปัญหาในการจัดกิจกรรม ขาดการต่อเนื่อง และด้อยคุณภาพ    ยังพบว่าอุปสรรคอื่นๆ  สามารถแยกเป็น

1) ความเจริญทางเทคโนโลยีที่ทำให้นักศึกษาหันไปสนใจสื่ออื่นๆ

2)  ฤดูกาลทำงานไม่สามารถจัดการสอนได้ (กลุ่มเป้าหมายเกษตร,ในโรงงาน)

3)  นักศึกษาแต่ละคนมีวัยวุฒิที่ต่างกัน ทำให้มีความคิดที่แตกต่างกัน

      ส่วนที่ 3

แนวทาง/กลยุทธ์การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

ส่วนที่ 3

แนวทาง/กลยุทธ์การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อลดความเสี่ยงทางการเมือง

          หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้ดำเนินไปอย่างรุนแรง ประชาชนยังมีความแตกแยกเป็นกลุ่มก้อนการเมืองต่างๆ คนไทยแตกแยกความสามัคคี กระบวนการยุติธรรมขาดความน่าเชื่อถือประกอบกับความเสื่อมถอยทางคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทย ส่งผลให้สถาบันทางสังคมมีแนวโน้มอ่อนแอ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มุ่งเน้นการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมความสามัคคี คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทย ของประชาชนในพื้นที่โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย ประชาชนมีความสามัคคีปรองดองมากยิ่งขึ้น

แนวทางการจัดการศึกษากลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ

          จากการสำรวจข้อมูลประชากรวัยแรงงานตำบลบ้านทุ่ม พบว่ามีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการย้ายถิ่นฐานของแรงงานบ่อยเพื่อการประกอบอาชีพ จำนวนประชากรแฝงเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านอนามัยที่ถูกต้องและเหมาะสมส่งผลต่อความคุณภาพชีวิต การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้ใช้แรงงานและผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และควรจัดให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพตำบลบ้านทุ่ม  มีกลุ่มประชากรช่วงอายุ 15-19 ปีจำนวนมากไม่ได้ศึกษาต่อในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรมีรายได้น้อยเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน กลุ่มเด็กเล็กไม่ได้รับการบริการวัคซีน เนื่องจากผู้ปกครองต้องประกอบอาชีพตั้งแต่เช้าจนค่ำไม่มีเวลาให้ความสนใจเรื่องดังกล่าว  กลุ่มวัยรุ่นมีความเสี่ยงทางสุขภาพมากขึ้นมีปัญหาด้านยาเสพติด  กลุ่มวัยผู้สูงอายุในตำบลบ้านทุ่ม มีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น เช่นป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการบริโภคที่ไม่ถูกสุขอนามัย ขาดการออกกำลังกาย และขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ

 แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมวัฒนธรรม และประเพณีในถิ่น

          กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ได้ให้ความรู้กับประชาชนในชุมชน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม วัฒนธรรม และคงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงานในถิ่นให้สืบต่อไป ประชาชนในชุมชนตำบลบ้านทุ่ม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อรองรับเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกและประชาคมอาเซียน

          ตำบลบ้านทุ่ม  มีการเคลื่อนย้ายแรงงานไปยังต่างพื้นที่จำนวนมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทางการเกษตร กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เพื่อส่งเสริมด้านทักษะประกอบอาชีพและการมีงานทำอย่างยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเตรียมความพร้อมในการแข่งขันด้านฝีมือแรงงานในอนาคต

ทิศทางการพัฒนาและโอกาสของกศน.ตำบลบ้านุท่ม

1. การพัฒนาชุมชนตำบลบ้านทุ่ม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          ชุมชนตำบลบ้านทุ่ม ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร  ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ทิศทางการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสมและมีความยั่งยืนคือการใช้แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในชุมชนอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และวิถีการดำเนินชีวิตในประจำวันของคนในชุมชนเป็น 6 ทุน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางวัฒนธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะการสร้างฐานทางปัญญา เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับคนและสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียวที่มีแบบแผนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำความรู้และจุดแข็งของตำบลบ้านทุ่ม มาสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตร รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลและความสมานฉันท์ในชุมชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านทุ่ม และชุมชนใกล้เคียงอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขและเป็นธรรม

          2.การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนตำบลบ้านทุ่ม

          กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มุ่งเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาช่วยในการจัดการศึกษา เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้จากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข มีความรู้ความชำนาญด้านทักษะการประกอบอาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมใฝ่เรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสุข มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์สามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

3.การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

          กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มุ่งเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่นดังนี้

                3.1) จัดให้มีการศึกษาและการเรียนรู้โดยให้ความสำคัญการศึกษาทางเลือกตามความสนใจของผู้เรียนและกลุ่มเป้าหมาย

                3.2) สนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของกศน.ตำบล มาปรับใช้กับการจัดการศึกษาของกศน.ตำบลบ้านทุ่ม

                3.3) ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนทั่วไปจัดการการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและทั่วถึง

                3.4) จัดการศึกษาให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยเน้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งในตำบลบ้านทุ่ม

                3.5) พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู

               3.6) สนับสนุนการมีส่วนร่วมกับองค์กรทางศาสนาในชุมชน เพื่อการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การสร้างสันติสุข ค่านิยมไทย 12 ประการและจัดกิจกรรมเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชุมชนอย่างยั่งยืน

              3.7) สนับสนุนภาคีเครือข่าย ประชาชนในพื้นที่ให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาไทย และภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ การสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยและการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่คนในชุมชน

               3.8) สนับสนุนการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรมสากลตลอดจนส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นในชุมชน

               3.9) ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีให้เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ตำบลเขื่อนบางลางได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

          4.การจัดการศึกษาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ดังนี้

                   4.1) พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่

                   4.2) สร้างโอกาสทางการศึกษาในชุมชนตำบลบ้านทุ่ม โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรม

                   4.3) การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรทางการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับความรู้ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล

                   4.4) พัฒนาวิชาชีพครูเพื่อให้เป็นบุคลากรหลักในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธยาศัยในระดับตำบล

                   4.5) การบริหารและปฏิบัติราชการในกศน.ตำบลบ้านทุ่ม ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันสถานศึกษา

          5.การดำเนินงานของกศน.ตำบลบ้านทุ่ม ให้เห็นผลใน 1 ปี ได้แก่

                   5.1) เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 และการดำรงความต่อเนื่องภายหลังการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

                   5.2) พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายในชุมชนตำบลบ้านทุ่ม เพื่อรองรับการแข่งขันและสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

                   5.3) มุ่งเน้นการพัฒนาครูกศน.ตำบล และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กร/สถานศึกษาให้มีคุณภาพ

                   5.4) พัฒนาการจัดการเรียนศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยใช้สื่อสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทันสมัย

                   5.5) พัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ

6.การดำเนินงานของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ตามนโยบายเร่งด่วนซึ่งต้องดำเนินการให้เห็นผลใน 3 เดือน  ได้แก่

                   6.1) พัฒนาการจัดการนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้นักศึกษาพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ มีเวลาทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ รวมทั้งปลูกฝังในเรื่องค่านิยมหลัก12 ประการ มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างวินัย จิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสังคม การยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความภาคภูมิใจในการเป็นคนไทย

           6.2) ใช้จ่ายงบประมาณการจัดการนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีประสิทธิภาพรวมถึงการของบประมาณสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน และการจัดการศึกษาให้กับเด็กยากจน พิการ เร่ร่อน และด้อยโอกาสทางการศึกษา

                6.3) การมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดทำข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจเอกชน (MOU) ในการให้การสนับสนุนและการรับนักศึกษาเข้าทำงานหลังสำเร็จการศึกษาและสนับสนุนอื่นๆ ให้เพิ่มมากขึ้น

                   6.4) ส่งเสริมให้นักศึกษาและประชากรกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงมาตรการความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

            6.5) ดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นไปตามเป้าหมายของสถานศึกษา ตามนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาให้เห็นผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่กำหนด

โอกาสของกศน.ตำบลบ้านุท่ม

          โอกาสความสำเร็จในการนำยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ 2558 สู่การปฏิบัติเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานของ สำนักงาน กศน. และสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุผลตามบทบาทความรับผิดชอบของ กศน.ตำบล มีดังนี้

          1.การพัฒนากลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มุ่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีวินัยใฝ่รู้ รักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก โดยส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัย ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กร กลุ่มบุคคล ชุมชน ประชาชน และสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย รวมถึงส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนตำบลเขื่อนบางลางตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

          2. การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ปัจจุบันสำนักงานกศน.มีนโยบายให้กศน.ตำบล ให้บริการประชาชนผู้รับบริการ นักศึกษา กศน.ตำบล ด้านการสื่อสารโดยจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์และการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมถึงการสนับสนุนการเรียนรู้จากสื่อโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาและผู้รับบริการในชุมชน โดยประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันสำนักงาน กศน. มีนโยบายให้ กศน.ตำบล มีระบบฐานข้อมูล เว็บไซต์ กศน.ตำบล เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารชุมชน

กศน.ตำบลบ้านทุ่ม จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการในชุมชน เป็นการให้ความสำคัญกับการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้โดยง่าย รวดเร็วและเท่าเทียมกันเป็นการเปิดระบบการเรียนรู้ใหม่ของประชาชน ประชาชนในพื้นที่สามารถเรียนรู้จากการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการได้มากมาย ในเวลาเดียวกันความรู้จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขันทางเศรษฐกิจซึ่งถือว่าเป็นทุนความรู้ ทั้งนี้สำนักงาน กศน. เป็นหน่วยงานหลักของภาครัฐหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญและมีความพร้อมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน ในระบบของการศึกษาที่ไม่เป็นทางการหรือการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านทางช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเครือข่ายสารสนเทศ

          3. การพัฒนาและการจัดการศึกษาโดยใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มุ่งเน้นส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาบูรณาการเข้ากับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล แหล่งเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ประเภทวัสดุและสถานที่ แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ แหล่งเรียนรู้ประเภทเทคนิค และแหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรม  แหล่งเรียนรู้แต่ละประเภทดังกล่าวสามารถเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตอบสนองความต้องการของประชาชนในชุมชน โดยประสานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างประชาชนในพื้นที่ตำบลเขื่อนบางลางเพื่อใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา

จากสภาวะความเสี่ยงของสภาพชุมชน ทิศทางและโอกาสของการพัฒนาตำบลบ้านทุ่ม ดังที่กล่าวมานั้นมีประเด็นสำคัญที่สถานศึกษาต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา โดยนำไปกำหนดเป็นประเด็นสำคัญในข้อยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานของสถานศึกษาต่อไป ได้แก่

3.1 การสร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษา  เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายในตำบลสามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาอย่างเท่าเทียม

                   3.2 การส่งเสริมประชาชนให้เป็นพลเมืองดีของชุมชน มีคุณธรรม มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสมาชิกที่มีศักยภาพของชุมชน สังคม และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ

                    3.3 การสร้างคนในชุมชนให้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต  ประชาชนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักแสวงหาโอกาส เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นสังคมคุณธรรม สังคมเพื่อคนทั้งมวล และพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ

                    3.4 การพัฒนาการดำเนินงานการศึกษาสำหรับกศน.ตำบลทั้งด้านปัจจัย กระบวนการดำเนินงาน และงบประมาณให้สามารถดำเนินการขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาตามบริบท ภารกิจและยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ยุทธศาสตร์กศน.ตำบลบ้านทุ่ม (สามยุทธศาสตร์ที่หวังผลใน 3 เดือน)

          1. การเร่งดำเนินการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายของสถานศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบเงื่อนไขระยะเวลาที่กำหนดไว้ ดังนี้

                   1.1) ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกศน.ตำบล ตลอดจนจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ตามข้อกำหนดการดำเนินงาน กศน.ตำบล ที่กำหนดไว้และตามที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ “กศน.ตำบล” เป็นฐาน เติมเต็มความรู้ โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

                   1.2) กศน.ตำบล มีการการประเมินผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสอดคล้องกับวิถีชีวิต และสภาพปัญหาความเร่งด่วนของแต่ละชุมชน ตลอดจนพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง การพัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างแท้จริง โดยยึดหลักประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความคุ้มค่าในการดำเนินงาน

                   1.3) กศน.ตำบล มีการติดตามผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตำบล อย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ โดยมีสถานศึกษาทำหน้าที่นิเทศ กำกับ ติดตามการบริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และรายงานผลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติที่เชื่อมโยงกับสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

                   1.4) กศน.ตำบล มีการกระตุ้น ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางโดยยึดหลักความคล่องตัวในการทำงาน การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายการศึกษาที่มีคุณภาพ และความต่อเนื่องอย่างยั่งยืนของการเป็นภาคีเครือข่ายซึ่งกันและกัน

                   1.5) การสร้างความเข้าใจคณะกรรมการ กศน.ตำบล  ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          2. จัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา/หลักสูตรท้องถิ่น  กศน.ตำบล จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยประยุกต์ใช้หลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการเรียนการสอน ที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมนำความรู้ และปฏิบัติตนตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ และมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ยุทธศาสตร์กศน.ตำบลบ้านทุ่ม (สามยุทธศาสตร์ที่หวังผลใน 1 ปี)

1. การเข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง  ทุกกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มเป้าหมาย ที่มีลักษณะเฉพาะทางสังคม - ประชากรอย่างเสมอภาค และเป็นธรรมพร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          1.1) การใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แผนจุลภาค (Micro Planning) และแผนพัฒนา กศน.ตำบล เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน ทั้งการออกแบบกิจกรรม การนิเทศติดตามผล การปรับปรุงพัฒนา การตัดสินใจระดับปฏิบัติและสามารถรายงานสรุปความก้าวหน้าเป็นรายไตรมาสไปยังได้อย่างเป็นระบบ

          1.2) การนำสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่หลากหลาย และมีคุณภาพมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดการศึกษา และขยายโอกาสในการเข้าถึงการจัดบริการการศึกษาและการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน และสถานศึกษาที่หวังผลได้อย่างแท้จริง

          1.3) การส่งเสริมสนับสนุนให้กศน.ตำบล เป็นหน่วยจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน และแหล่งวิทยาการชุมชนทุกประเภทในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ และมีการอนุรักษ์ สืบสาน ประยุกต์ใช้ต่อยอดสร้างสรรค์ และพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่นตลอดจนการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ รวมทั้งพัฒนากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบของตำบลบ้านทุ่ม ให้มีความคิดวิเคราะห์ มีเหตุผล และมีจิตวิทยาศาสตร์

1.4) ดำเนินการปรับรูปแบบกิจกรรมและวิธีการดำเนินการจาก “บ้านหนังสืออัจฉริยะ” ไปสู่ “บ้านหนังสือชุมชน” และขยายการบริการให้กระจายครบทุกหมู่บ้านในตำบลเขื่อนบางลาง โดยคำนึงถึงความต้องการทางการศึกษา/การเรียนรู้ของประชาชนในพื้นที่และบริบทเฉพาะของชุมชนตำบลบ้านทุ่ม เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ การเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลและความรู้ของประชาชนอย่างทั่วถึง มีการเชื่อมโยงการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายกศน.ตำบลบ้านทุ่ม กับประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

          1.5) พัฒนาศักยภาพการจัดบริการการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่องของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ให้มีความพร้อมสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมายในชุมชน โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องการดำเนินงาน กศน.ตำบล

          1.6) มีแผนการนิเทศการจัดศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความคล่องตัวในการจัดบริการการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชน โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการนิเทศจากระดับสถานศึกษาไปสู่ระดับ กศน.ตำบล อย่างเป็นระบบ

1.7) มีแผนการดำเนินการจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์/บริบทของสถานศึกษา เพื่อให้เป็นการศึกษาทางเลือกอีกประเภทหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของประชาชนผู้รับบริการในชุมชนตำบลบ้านทุ่ม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวาง
2. การเร่งรัด ติดตาม ให้มีการพัฒนาสถานศึกษาและกศน.ตำบล  โดยยึดภารกิจหลักเป็นตัวตั้งเพื่อให้มีศักยภาพในการนำนโยบายสถานศึกษาเกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านกำลังคนและทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานของกศน.ตำบล ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนนโยบาย



จุดเน้นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

1. จุดเน้นด้านประชากรกลุ่มเป้าหมาย

          1.1 กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มุ่งเน้นสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีความเป็นธรรมให้กับประชากรทุกกลุ่มในชุมชนตำบลบ้านทุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้ด้อย ผู้พลาด และผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งนี้จำแนกประชากรกลุ่มเป้าหมายไว้ ดังนี้

                   (1) จำแนกตามช่วงอายุ มี 3 กลุ่ม ได้แก่

                   (1.1) กลุ่มวัยเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(อายุ 6-14 ปี)

                   (1.2) กลุ่มประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย

                             1.2.1 กลุ่มวัยแรงงานอายุ 15-39 ปี เป็นกลุ่มวันแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการ

การเรียนรู้เป็นกลุ่มแรก

                             1.2.2 กลุ่มวัยแรงงานอายุ 40-59 ปี เป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการ

การเรียนรู้รองลงมา

                   (1.3) กลุ่มผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย โดยให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้จากมากไปหาน้อย ตามลำดับ ดังนี้

                             1.3.1 กลุ่มอายุ 60-69 ปี

                             1.3.2 กลุ่มอายุ 70-79 ปี

                             1.3.3 กลุ่มอายุ 80-89 ปี

                             1.3.4 กลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป

 (2) จำแนกตามคุณลักษณะเฉพาะทางสังคม - ประชากรที่เกี่ยวเนื่องกับการเข้าสู่โอกาสทางการศึกษา  แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

                   (2.1) กลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้  จำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ 17 กลุ่มย่อย ดังนี้

                             2.1.1 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส  เป็นกลุ่มที่มีโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป อันเนื่องมาจาก 

1) ข้อจำกัดทางร่างกาย/จิตใจ/สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้ 

2) ข้อจำกัดทางด้านฐานะทางเศรษฐกิจ หรือความยากจน

3) ข้อจำกัดด้านการติดต่อสื่อสารอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางภาษา/

วัฒนธรรม  มี 3 กลุ่มย่อย ได้แก่

                                         (1) กลุ่มผู้พิการ

                                         (2) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพแรงงานนอกระบบ

                                         (3) กลุ่มชาติพันธุ์ (ชนกลุ่มน้อย)

2.1.2 กลุ่มผู้พลาดโอกาส  เป็นกลุ่มที่พลาดโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อันเนื่องมาจาก 

1) ความไม่สามารถในการที่จะรับการศึกษา/การเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง หรือไม่มีความ

ประสงค์ที่จะรับการศึกษา การเรียนรู้จนจบหลักสูตรหรือระดับชั้นการศึกษาใดๆ ที่ผ่านมา 

2) การย้ายถิ่น/เร่ร่อน

3) เงื่อนไข ข้อจำกัดเกี่ยวกับอายุ มี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่

                                      (1) กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่ออกกลางคันจากระดับการศึกษาภาคบังคับ

                                      (2) กลุ่มผู้จบการศึกษาภาคบังคับแต่ไม่ได้เรียนต่อ

                                      (3) กลุ่มทหารกองประจำการที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับ

                                      (4) กลุ่มเด็ก/เยาวชนเร่ร่อน/ไร้บ้าน

                                      (5) กลุ่มเด็ก/เยาวชน/ลูกกรรมกรก่อสร้าง

                                      (6) กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่มีความพร้อมแต่ไม่ต้องการรับการศึกษาในระบบปกติ

                                      (7) กลุ่มผู้สูงอายุ

                             2.1.3 กลุ่มผู้ขาดโอกาส  เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อันเนื่องมาจาก

1) การอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล หรือยากลำบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร 

2) การถูกจำคุก คุมขังหรือจำกัดบริเวณตามคำพิพากษา

3) การไม่มีสิทธิ

ภาพในฐานะพลเมืองไทย มี 4 กลุ่มย่อย ได้แก่

                                      (1) กลุ่มประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบในบริเวณชายแดน

                                      (2) กลุ่มประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกลหรือยากลำบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร

                                      (3) กลุ่มผู้ต้องขัง (แล้วแต่กรณีที่มีกลุ่มเป้าหมายนี้)

                                      (4) กลุ่มเด็ก/เยาวชนในสถานพินิจ (แล้วแต่กรณีที่มีกลุ่มเป้าหมายนี้)       

                   (2.2) กลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ 

จำแนกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่

                             2.2.1 กลุ่มบุคคลผู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือปราชญ์ชาวบ้าน

                             2.2.2 กลุ่มผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

                             2.2.3 กลุ่มประชาชนทั่วไป

2. จุดเน้นของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม และภาคีเครือข่าย

          2.1 ผู้บริหารสถานศึกษาครูบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการ กศน.ตำบล และครู กศน.ตำบล ทุกคน ได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

          2.2 มีการประสานเชื่อมโยงการทำงานตามโครงสร้างภายในกศน.ตำบล กับภาคีเครือข่ายทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยมีเอกภาพในเชิงนโยบาย และเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นเป้าหมายความสำเร็จในการทำงาน

          2.3 กศน.ตำบล มีแผนจุลภาค(Micro Planning)  เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมหรือออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ สภาพทางกายภาพของชุมชน ปัญหา/ความต้องการทางการศึกษาของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย แต่ละกลุ่ม แต่ละประเภท แหล่งวิทยากรชุมชน (ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ และทุนการเงิน) ซึ่งมีการปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันทุกรอบปีงบประมาณ

3. จุดเน้นด้านผลสัมฤทธิ์ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

          3.1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายตำบลบ้านทุ่ม ที่สำเร็จหลักสูตรหรือร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลสัมฤทธิ์ที่มีคุณภาพ ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือกิจกรรมการศึกษา/การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ และสามารถนำความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง

          3.2 นักศึกษา ที่สำเร็จหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในการดำเนินชีวิตและมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

 ตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

          ความสำเร็จในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน มุ่งที่ผลลัพธ์หรือกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำคัญ มี 10 ตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้

          1. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลบ้านทุ่ม ที่ได้รับการบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละกลุ่มอายุต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          2. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลบ้านทุ่ม ที่ได้รับการบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบกลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ และกลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          3. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลบ้านทุ่ม ที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบในพื้นที่ชนบท/และพื้นที่เมืองต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

4. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลบ้านทุ่ม ที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยแต่ละกลุ่มอายุต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          5. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลบ้านทุ่ม ที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ และกลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          6. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลบ้านทุ่ม  ที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ชนบท/และพื้นที่เมืองต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          7. สัดส่วนผู้เรียน/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม แต่ละหลักสูตร/กิจกรรมที่จบหลักสูตรแต่ละระดับหรือแต่ละกิจกรรมต่อจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตร หรือแต่ละกิจกรรมทั้งหมด และจำแนกรายหลักสูตรหรือรายกิจกรรม

          8. ร้อยละของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ที่มีคะแนนผลการสอบแต่ละภาคเรียนในวิชาคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์/ภาษาอังกฤษ/ภาษาไทย ร้อยละ 55 ขึ้นไปของคะแนนเต็มแต่ละวิชาดังกล่าว

          9. ร้อยละของผู้จบหลักสูตรการศึกษา/การฝึกอบรมทางการศึกษานอกระบบของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม แต่ละหลักสูตรที่สามารถนำความรู้ หรือประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ได้จริงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้นๆ

          10. ร้อยละของผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบ/การศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ที่ยึดถือค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

ปัจจัยหลักแหล่งความสำเร็จ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม

          1. กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ยึดหลักวิชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักปรัชญาคิดเป็น หลักธรรมาภิบาล และผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการ  ทั้งด้านวิชาการงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปทั้งภายในกศน.ตำบลบ้านทุ่ม และการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย

          2. กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ใช้ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ในการดำเนินงาน  ทั้งที่ยึดพื้นที่ ยึดสภาวะแวดล้อม ยึดกลุ่มเป้าหมาย ยึดประเด็นปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือประเด็นการพัฒนา ยึดความสำเร็จ และยึดนโยบายเป็นฐาน

          3. กศน.ตำบลบ้านทุ่ม การเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน  ทั้งเครือข่ายเชิงพื้นที่ เครือข่ายเชิงภารกิจและการสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือและความยั่งยืนในการเป็นภาคีเครือข่าย

          4. กศน.ตำบลบ้านทุ่ม เป็นฐานและสถานีปลายทาง  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติงานตลอดเวลา

          5. กศน.ตำบลบ้านทุ่ม ใช้สถานศึกษาเป็นกลไกขับเคลื่อนการบริหารนโยบายในระดับพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการ กศน.ตำบล  เป็นผู้เสนอแนะ กำกับติดตาม นิเทศการดำเนินงานเพื่อให้สามารถจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

          6. กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มตามจุดเน้น มาใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          7. กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มีระบบการนิเทศกำกับติดตามและรายงานผล การปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณที่สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8. กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มีกลไก/ระบบที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษา เช่น ระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วนหรือนโยบายเฉพาะที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          9. กศน.ตำบลบ้านทุ่ม มีหน่วยงาน/สถานศึกษารับผิดชอบตัวชี้วัดความสำเร็จ  ตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นที่ตรงตามภารกิจอย่างชัดเจนที่เชื่อมโยงการกำกับติดตามและรายงานผลตัวชี้วัดทั้งส่วนกลาง ระดับจังหวัด และระดับสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

ส่วนที่ 4

แผนปฏิบัติการ การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

ส่วนที่ 4 : แผนปฏิบัติการ การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (1)

ที่

โครงการ/กิจกรรม/งาน

เป้าหมาย (คน)

กลุ่มเป้าหมาย

งบประมาณ (บาท)

แผนและผลการจัดบริการกลุ่มเป้าหมายและการใช้จ่ายงบประมาณ

1.ผู้ด้อยโอกาส

2.ผู้พลาดโอกาส

3.ผู้ขาดโอกาส

ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 2

ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 4

1.1

1.2

1.3

2.1

2.2

2.3

2.4

2.5

2.6

2.7

3.1

3.2

3.3

3.4

3.5

3.6

3.7

แผน

ผล

แผน

ผล

แผน

ผล

แผน

ผล

 ผู้พิการ

 ประกอบอาชีพแรงาน

 ชาติพันธ์ (ชนกลุ่มน้อย)

 ออกกลางคัน

 จบการศึกษาแต่ไม่ได้เรียนต่อ

 ทหารกองประจำการ

 เร่ร่อน/ไร้บ้าน

 ลูกกรรมกรก่อสร้าง

 ไม่ต้องการศึกษาในระบบ

 ผู้สงอายุ

 ประชาชนในพื้นทีเสี่ยงภัย

 ประชาชนในพื้นที่ชนบท

 คนไทยในต่างแดน

 ผู้ต้องขัง

 เด็ก/เยาวชบในสถานพินิจ

 แรงงานต่างด้าว (ข้ามชาติ)

 คนไร้ชาติ/ไร้รัฐ

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

1

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ประถมศึกษา

100

-

75

-

-

-

-

-

-

-

25

-

-

-

-

-

-

-

-

100

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

มัธยมศึกษาตอนต้น

300

-

185

-

-

72

-

-

-

-

43

-

-

-

-

-

-

-

-

300

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

มัธยมศึกษาตอนปลาย

300

-

155

-

-

85

-

-

-

-

60

-

-

-

-

-

-

-

-

300

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ประกาศนียบัตรวิชาชีพ

300

-

153

-

37

85

-

-

-

-

25

-

-

-

-

-

-

-

-

300

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ทางไกล

10

-

10

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

10

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

1,010

-

578

-

37

242

-

-

-

-

153

-

-

-

-

-

-

-

-

1,010

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-


ส่วนที่ 4 : แผนปฏิบัติการ การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (2)

ที่

โครงการ/กิจกรรม/งาน

เป้าหมาย (คน)

กลุ่มเป้าหมาย

งบประมาณ (บาท)

แผนและผลการจัดบริการกลุ่มเป้าหมายและการใช้จ่ายงบประมาณ

1.ผู้ด้อยโอกาส

2.ผู้พลาดโอกาส

3.ผู้ขาดโอกาส

ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 2

ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 4

1.1

1.2

1.3

2.1

2.2

2.3

2.4

2.5

2.6

2.7

3.1

3.2

3.3

3.4

3.5

3.6

3.7

แผน

ผล

แผน

ผล

แผน

ผล

แผน

ผล

 ผู้พิการ

 ประกอบอาชีพแรงาน

 ชาติพันธ์ (ชนกลุ่มน้อย)

 ออกกลางคัน

 จบการศึกษาแต่ไม่ได้เรียนต่อ

 ทหารกองประจำการ

 เร่ร่อน/ไร้บ้าน

 ลูกกรรมกรก่อสร้าง

 ไม่ต้องการศึกษาในระบบ

 ผู้สงอายุ

 ประชาชนในพื้นทีเสี่ยงภัย

 ประชาชนในพื้นที่ชนบท

 คนไทยในต่างแดน

 ผู้ต้องขัง

 เด็ก/เยาวชบในสถานพินิจ

 แรงงานต่างด้าว (ข้ามชาติ)

 คนไร้ชาติ/ไร้รัฐ

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

2

การศึกษานอกระบบ

 

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

กิจกรรมการศึกษานอกระบบ

1,000

-

557

-

176

-

-

-

-

153

123

-

-

-

-

-

-

-

-

1,000

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

700

-

186

-

52

231

-

-

-

87

144

-

-

-

-

-

-

-

-

700

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน

700

-

157

-

52

284

-

-

-

43

164

-

-

-

-

-

-

-

-

700

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง

200

-

86

-

-

56

-

-

-

-

58

-

-

-

-

-

-

-

-

200

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

กิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ

500

-

315

-

67

63

-

-

-

23

32

-

-

-

-

-

-

-

-

500

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

300

-

145

-

-

24

-

-

-

67

64

-

-

-

-

-

-

-

-

300

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

โครงการเทียบโอนความรู้

15

-

-

-

15

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

15

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ม.6 จบภายใน 8 เดือน

20

-

5

-

-

15

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

20

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ฯลฯ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

3,435

-

1,451

-

649

673

-

-

-

373

585

-

-

-

-

-

-

-

-

3,435

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-


แผนปฏิบัติการ การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (3)

ที่

โครงการ/กิจกรรม/งาน

เป้าหมาย (คน)

กลุ่มเป้าหมาย

งบประมาณ (บาท)

แผนและผลการจัดบริการกลุ่มเป้าหมายและการใช้จ่ายงบประมาณ

1.ผู้ด้อยโอกาส

2.ผู้พลาดโอกาส

3.ผู้ขาดโอกาส

ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 2

ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 4

1.1

1.2

1.3

2.1

2.2

2.3

2.4

2.5

2.6

2.7

3.1

3.2

3.3

3.4

3.5

3.6

3.7

แผน

ผล

แผน

ผล

แผน

ผล

แผน

ผล

 ผู้พิการ

 ประกอบอาชีพแรงาน

 ชาติพันธ์ (ชนกลุ่มน้อย)

 ออกกลางคัน

 จบการศึกษาแต่ไม่ได้เรียนต่อ

 ทหารกองประจำการ

 เร่ร่อน/ไร้บ้าน

 ลูกกรรมกรก่อสร้าง

 ไม่ต้องการศึกษาในระบบ

 ผู้สงอายุ

 ประชาชนในพื้นทีเสี่ยงภัย

 ประชาชนในพื้นที่ชนบท

 คนไทยในต่างแดน

 ผู้ต้องขัง

 เด็ก/เยาวชบในสถานพินิจ

 แรงงานต่างด้าว (ข้ามชาติ)

 คนไร้ชาติ/ไร้รัฐ

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

3

การศึกษาตามอัธยาศัย

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย

500

-

250

-

45

55

-

-

-

58

92

-

-

-

-

-

-

-

500

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

การส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชน

500

-

267

-

55

63

-

-

-

89

26

-

-

-

-

-

-

-

500

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

บ้านหนังสืออัจฉริยะ

500

-

196

-

62

57

-

-

-

97

88

-

-

-

-

-

-

-

500

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ฯลฯ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

1,500

-

713

-

162

175

-

-

-

244

206

-

-

-

-

-

-

-

1,500

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-


แผนปฏิบัติการ การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (3)

ที่

โครงการ/กิจกรรม/งาน

เป้าหมาย (คน)

กลุ่มเป้าหมาย

งบประมาณ (บาท)

แผนและผลการจัดบริการกลุ่มเป้าหมายและการใช้จ่ายงบประมาณ

1.ผู้ด้อยโอกาส

2.ผู้พลาดโอกาส

3.ผู้ขาดโอกาส

ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 2

ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 4

1.1

1.2

1.3

2.1

2.2

2.3

2.4

2.5

2.6

2.7

3.1

3.2

3.3

3.4

3.5

3.6

3.7

แผน

ผล

แผน

ผล

แผน

ผล

แผน

ผล

 ผู้พิการ

 ประกอบอาชีพแรงาน

 ชาติพันธ์ (ชนกลุ่มน้อย)

 ออกกลางคัน

 จบการศึกษาแต่ไม่ได้เรียนต่อ

 ทหารกองประจำการ

 เร่ร่อน/ไร้บ้าน

 ลูกกรรมกรก่อสร้าง

 ไม่ต้องการศึกษาในระบบ

 ผู้สงอายุ

 ประชาชนในพื้นทีเสี่ยงภัย

 ประชาชนในพื้นที่ชนบท

 คนไทยในต่างแดน

 ผู้ต้องขัง

 เด็ก/เยาวชบในสถานพินิจ

 แรงงานต่างด้าว (ข้ามชาติ)

 คนไร้ชาติ/ไร้รัฐ

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

 เป้าหมาย (คน)

 งบประมาณ (บาท)

4

การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวมทั้งสิ้น

5,945

-

2,742

-

848

1,090

-

-

-

770

944

-

-

-

-

-

-

-

 

5,945

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-


ส่วนที่ 5

แผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                                                           สำหรับกลุ่มเป้าหมายในตำบล

ตอนที่ 5  แผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำหรับกลุ่มเป้าหมายในตำบล

กลุ่มเป้าหมาย

(ตามการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา)

ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

(จำนวนเป้าหมาย (คน) /รายกิจกรรม)

รวม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

การรู้หนังสือ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านอาชีพ

ด้านทักษะชีวิต

ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน

ด้านปรัชญา  ของเศรษฐกิจพอเพียง

การศึกษาตามอัธยาศัย

สามัญ

ปวช.

1.กลุ่มผู้ด้อยโอกาส

-

-

-

-

-

-

-

-

-

 

1.1 กลุ่มผู้พิการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.2 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพแรงงานนอกระบบ

5

5

-

-

-

-

-

-

10

1.3 กลุ่มชาติพันธุ์ (ชนกลุ่มน้อย)

-

-

-

-

-

-

-

-

 

รวม

5

5

-

-

-

-

-

-

10

2. กลุ่มผู้พลาดโอกาส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.1 กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่ออกกลางคันจากระดับการศึกษาภาคบังคับ

10

50

5

-

-

-

-

-

65

2.2 กลุ่มผู้จบการศึกษาภาคบังคับแต่ไม่ได้เรียนต่อ

-

30

10

-

-

-

-

-

40

2.3 กลุ่มทหารกองประจำการที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

2.4 กลุ่มเด็ก/เยาวชนเร่ร่อน/ไร้บ้าน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

2.5 กลุ่มเด็ก/ เยาวชน/ลูกกรรมกรก่อสร้าง

-

-

-

-

-

-

-

-

-

2.6 กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่มีความพร้อมแต่ไม่ต้องการรับการศึกษาในระบบปกติ

30

70

10

-

-

-

-

-

110

2.7 กลุ่มผู้สูงอายุ

150

130

-

250

200

200

200

300

1,130

รวม

200

290

25

250

200

200

200

300

1,365

 

กลุ่มเป้าหมาย

(ตามการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา)

ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

(จำนวนเป้าหมาย (คน) /รายกิจกรรม)

รวม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

การรู้หนังสือ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านอาชีพ

ด้านทักษะชีวิต

ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน

ด้านปรัชญา  ของเศรษฐกิจพอเพียง

การศึกษาตามอัธยาศัย

สามัญ

ปวช.

3. กลุ่มผู้ขาดโอกาส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.1 กลุ่มประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย/ก่อความไม่สลบในบริเวณชายแดน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

 

3.2 กลุ่มประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกล/ยากลำบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร

-

-

-

-

-

-

-

-

-

 

3.3 กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ

 

2

2

-

-

-

-

-

-

4

 

3.4 กลุ่มผู้ต้องขัง

-

-

-

-

-

-

-

-

-

 

3.5 กลุ่มเด็ก/เยาวชนในสถานพินิจ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

 

3.6 กลุ่มแรงงานต่างด้าว(แรงงานข้ามชาติ)

-

-

-

-

-

-

-

-

-

 

3.7 กลุ่มคนไร้สัญชาติ/ไร้รัฐ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

 

รวม

2

2

-

-

-

-

-

-

4

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

(ตามการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา)

ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

(จำนวนเป้าหมาย (คน) /รายกิจกรรม)

รวม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

การรู้หนังสือ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านอาชีพ

ด้านทักษะชีวิต

ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน

ด้านปรัชญา  ของเศรษฐกิจพอเพียง

การศึกษาตามอัธยาศัย

สามัญ

ปวช.

4. กลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้

150

50

45

50

-

-

55

--

300

 

4.1 กลุ่มบุคคลผู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาพื้นบ้าน หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน

-

-

-

-

-

-

-

50

50

 

4.2 กลุ่มผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

-

-

-

-

-

-

-

20

20

 

4.3 กลุ่มนักเรียน/นักศึกษาในระบบโรงเรียนที่สนใจเติมเต็มความรู้

-

35

5

-

-

-

-

25

65

 

4.4 กลุ่มประชาชน

-

15

-

50

20

45

15

50

 

 

รวม

150

100

50

100

20

45

70

145

435

 

รวมทุกกลุ่มเป้าหมาย

352

382

75

350

220

245

270

445

1,804

 

ภาคผนวก ก

ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                                                           ประจำปีงบประมาณ 2558 

ส่วนที่ 1

สภาวะความเสี่ยงของสังคมไทย

ทิศทางการพัฒนาประเทศและโอกาสของสำนักงาน กศน.

สภาวะความเสี่ยงของสังคมไทย

          สภาวะความเสี่ยงของสังคมไทยที่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในบทบาทความรับผิดชอบของสำนักงาน กศน.จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการคลี่คลายและเตรียมการรองรับที่สำคัญ ได้แก่ สภาวะความเสี่ยงดังต่อไปนี้

          1. ความขัดแย้งทางการเมืองที่อยู่ในภาวะวิกฤตตลอดช่วงระยะเวลากว่า 6 เดือน

          ก่อนวันที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่  22  พฤษภาคม  2557  ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้ดำเนินไปอย่างรุนแรง ประชาชนมีความแตกแยกเป็นกลุ่มก้อนการเมืองต่างๆ มีการประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน มีการใช้ความรุนแรงซึ่งกันและกันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต รัฐบาลตกอยู่ในสภาพที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่เพื่อบริหารประเทศได้ตามปกติ เศรษฐกิจ และการปกครองตกอยู่ในภาวะชะงักงัน เป็นยุคที่คนไทยแตกแยกความสามัคคี และเกลียดชังต่อกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน กระบวนการยุติธรรมขาดความน่าเชื่อถือประกอบกับความเสื่อมถอยทางคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมไทยส่งผลให้สถาบันทางสังคมมีแนวโน้มอ่อนแอ คนในสังคมขาดความไว้เนื้อเชื่อใจและขาดการมีส่วนร่วมทางสังคม

          2. โครงสร้างประชากรมีแนวโน้มประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น

          ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง สัดส่วนประชากรวัยเด็ก : วัยแรงงาน : ผู้สูงอายุ ลดลงจากร้อยละ 20.5 : 67.6 : 11.9 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 18.3 : 66.9 : 14.8 ในปี 2559 ขณะเดียวกันคนไทยขาดความรู้ความเข้าใจด้านอนามัย การเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมส่งผลต่อความไม่สมดุลระหว่างปริมาณและคุณภาพของประชากรของประเทศ นอกจากนี้การย้ายถิ่นของประชากรจากชนบทเข้าสู่เมืองอย่างต่อเนื่องทำให้มีการขยายตัวของความเป็นเมืองมากขึ้น โดยสัดส่วนประชากรในเขตเมืองเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 31.1 ในปี 2543  เป็นร้อยละ 45.7 ในปี พ.ศ. 2553

          3. คนไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวัยแต่ยังมีปัญหาด้านสติปัญญา คุณภาพการศึกษาและมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ

          เด็กวัยเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าร้อยละ 50.0 มาตรฐานความสามารถของผู้เรียนในเรื่องการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ความเสี่ยงทางสุขภาพทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มสูงขึ้น อัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี เพิ่มจาก 54.9 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน ในปี 2548 เป็น 56.2 ในปี 2553 ขณะที่กลุ่มวัยทำงานภาพรวมกำลังแรงงานมีการศึกษาสูงขึ้น โดยในปี 2553 มีกำลังแรงงานจบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45.4 แต่อัตราการเพิ่มของผลิตภาพแรงงานในช่วงปี พ.ศ.2550-2551 โดยเฉลี่ยยังคงอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.8 อีกทั้งแรงงานในกลุ่มอายุ 25-50 ปี มีเพียงร้อยละ 19.7 เท่านั้นที่ออกกำลังกาย กลุ่มวัยผู้สูงอายุแม้จะมีอายุยืนยาวขึ้นแต่ประสบปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น โดยพบว่าร้อยละ 31.7 ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง รองลงมาคือ เบาหวาน ร้อยละ 13.3 และโรงหัวใจร้อยละ 7.0 ส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของภาครัฐในอนาคต

4. สังคมไทยเผชิญวิกฤตความเสื่อมถอยด้านคุณธรรมจริยธรรมมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและมีแนวโน้มเป็นสังคมปัจเจกมากขึ้น

          โดยคนไทยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าส่วนรวม ในปี พ.ศ.2552 ประเทศไทยได้รับคะแนนความโปร่งใสไม่ทุจริต และคนในประเทศยอมรับไม่ได้กับการทุจริตเพียง 3.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน จัดอยู่ในลำดับที่ 84 จาก 180 ประเทศ และอยู่ในลำดับที่ 11 ของภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ภาคส่วนต่างๆ ได้มีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ แต่การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวมยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัวมีความเปราะบางจนนำไปสู่ปัญหาทางสังคมเพิ่มขึ้น เช่น อัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้นจาก 4.5 คู่ต่อพันครัวเรือนในปี พ.ศ.2548 เป็น 5.5 คู่ต่อพัน ในปี พ.ศ.2553  ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศต่อเด็กและสตรีเพิ่มขึ้น

5. บริบทการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกก่อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคีรวมทั้งความร่วมมือในประชาคมอาเซียน

          ความร่วมมือกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ในปี พ.ศ.2553  มีแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายจำนวน 378,078 คน และผิดกฎหมายจำนวน 955,595 คน  ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2558 จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะฝีมืออย่างเสรีตามกรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีดังกล่าวจะส่งผลให้การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรง มีความต้องการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศทั้งในส่วนแรงงานที่มีทักษะฝีมือ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวการณ์มีงานทำของแรงงานไทย นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของคนไทยในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น

ทิศทางการพัฒนาประเทศและโอกาสของสำนักงาน กศน.

1. ทิศทางการพัฒนาประเทศ

          1.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2558)

          กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันในมิติต่างๆ ให้แก่ ปัจเจกครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ โดยใช้แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งขยายการนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพจาก 3 ทุน ทั้งทุนสังคม ทุนเศรษฐกิจ และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม     เป็น 6 ทุน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางวัฒนธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะการสร้างฐานทางปัญญา เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับคนและสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียวที่มีแบบแผนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำความรู้และจุดแข็งของ อัตลักษณ์ไทยมาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจบนฐานนวัตกรรมที่เข้มแข็ง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างรู้เท่าทัน สร้างความยั่งยืนของภาคเกษตร และความมั่นคั่งด้านอาหารและพลังงานรวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลและความสมานฉันท์ในทุกภาคส่วนและทุกระดับเป็นฐานการพัฒนาประเทศที่มั่นคงและสมดุลมุ่งสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขและเป็นธรรม

1.2 แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559)

          กำหนดวิสัยทัศน์ให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้คนไทยทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ และมีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยเป็นคนดี เก่ง มีความสุข มีความรู้เชิงวิชาการและสมรรถนะทางวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมใฝ่เรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสุข มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์สามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพื่อเป็นเป้าหมายและฐานหลักของการพัฒนาประเทศ

1.3 นโยบายรัฐบาล (ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี)

          ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 โดยในส่วนของนโยบายด้านการศึกษาปรากฏอยู่ในนโยบายที่ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีสาระของนโยบาย 10 ประเด็นได้แก่

          1) จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน

          2) ปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษาและจัดให้มีคูปองการศึกษาเพื่อการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน

          3) ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้

          4) พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยเน้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน

          5) ส่งเสริมอาชีวศึกษาและการศึกษาระดับวิทยาลัยชุมชนสร้างแรงงานที่มีทักษะและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้เชื่อมโยงกับมาตรฐานวิชาชีพ

          6) พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู

          7) สนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การสร้างสันติสุขและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมอย่างยั่งยืน

          8) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาไทย และภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ การสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยและการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ

          9) สนับสนุนการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรมสากล

          10) ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีให้เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

          1.4 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการพลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายเมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557  โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มนโยบาย ดังนี้

          (1) นโยบายทั่วไป มี 5 ประเด็นของนโยบาย ได้แก่

                   1.1) การพัฒนาและปฏิรูปการศึกษาจะต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจและความต้องการของทุกภาคส่วนในสังคม

                   1.2) การสร้างโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรม

1.3) การพัฒนาระบบการจัดการศึกษา เจตนารมณ์ตามหลักสูตรทางการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับความรู้ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล

                   1.4) ส่งเสริมและยกสถานะของครูซึ่งเป็นบุคลากรหลักในระบบการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงในสังคม

                   1.5) การบริหารและปฏิบัติราชการกระทรวงในทุกระดับที่ให้ความสำคัญกับการบูรณาการของทุกหน่วยงานในสังกัดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

          (2) นโยบายเฉพาะ มี 7 ประเด็นนโยบาย ซึ่งต้องดำเนินการให้เห็นผลใน 1 ปี ได้แก่

                   2.1) การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

                   2.2) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 และการดำรงความต่อเนื่องภายหลังการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

                   2.3) การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

                   2.4) การมุ่งเน้นการผลิตและการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ                

2.5) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทันสมัย

                   2.6) การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ

                   2.7) การดำเนินการตามแผนการศึกษาแห่งชาติและการปฏิรูปการศึกษา

          (3) นโยบายเร่งด่วน มี 10 ประเด็นนโยบายซึ่งต้องดำเนินการให้เห็นผลใน 3 เดือน  ได้แก่

                   3.1) เร่งสำรวจและให้ความช่วยเหลือเยียวยา รวมทั้งฟื้นฟูโรงเรียน สถานศึกษา นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ที่ได้รับผลจากอุทกภัยโดยเร็ว

                   3.2) เร่งแก้ปัญหาความรุนแรงและเหตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษาอาชีวศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

                   3.3) เร่งสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา ปรับภาพลักษณ์และกำหนดมาตรฐาน เพื่อจูงใจให้นักเรียน นักศึกษา พ่อแม่และผู้ปกครอง มีความยินดีและส่งเสริมให้บุตรหลาน เข้ารับการศึกษาในสายอาชีพ อาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอาชีพที่ขาดแคลน และเป็นความต้องการของตลาดแรงงาน

                   3.4) ทบทวนหลักสูตร การเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ มีเวลาทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ รวมทั้งปลูกฝังในเรื่องค่านิยมหลัก มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างวินัย จิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสังคม การยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความภาคภูมิใจในการเป็นคนไทย

                   3.5) เร่งพิจารณาทบทวนการอุดหนุนรายหัวแก่นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งของภาครัฐและเอกชน การช่วยเหลือค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนสายอาชีพ อาชีวศึกษา และการช่วยเหลือเด็กยากจน พิการ และด้วยโอกาส

                   3.6) เร่งขยายบทบาทของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมในระบบการศึกษาโดยเฉพาะการจัดทำข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจเอกชนในการให้การสนับสนุนและการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าทำงานหลังสำเร็จการศึกษาและสนับสนุนอื่นๆ ให้เพิ่มมากขึ้น

3.7) เร่งปรับระบบการบรรจุครูและการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครู ให้เอื้อต่อการเพิ่มโอกาสให้มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมเข้ามาในระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรอาชีวศึกษา และครูสาขาขาดแคลนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                   3.8) เร่งทบทวนมาตรการการจัดกิจกรรมรับน้องของนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ และมาตรการติดตาม ควบคุมการลักลอบการจัดกิจกรรมรับน้อง ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา ให้เป็นไปแนวทางที่สร้างสรรค์ ปลอดภัย ปราศจากการใช้ความรุนแรง การละเมิดและการคุกคามทางเพศรวมทั้งไม่ขัดต่อหลักศีลธรรม ขนบประเพณีอันดีงาม และเป็นไปตามหลักมนุษยชน โดยให้มีผลบังคับใช้ ให้ทุกสถาบันยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

                   3.9) เร่งทบทวนมาตรการความปลอดภัยสำหรับสถาบันการศึกษาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนอกสถานศึกษา และมาตรการในการเดินทาง และการขนส่งเป็นหมู่คณะนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยมีผลบังคับใช้ในทุกสถาบันการศึกษายึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

                   3.10) เร่งดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ทั้งที่เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักและหน่วยสนับสนุน ให้เห็นผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่กำหนด

2. โอกาสของสำนักงาน กศน.

          โอกาสความสำเร็จในการนำยุทธศาสตร์ กศน.สู่การปฏิบัติเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลตามทิศทางการพัฒนาประเทศให้บรรลุผลตามบทบาทความรับผิดชอบของสำนักงาน กศน.มีเงื่อนไขที่เป็นโอกาสสัดส่วนที่เป็นนโยบายของรัฐบาล (นโยบายของคณะรัฐมนตรีและนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) และบริบทความเปลี่ยนแปลงของประเทศที่สำคัญ ดังนี้

          2.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยมุ่งสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน มีวินัยใฝ่รู้ รักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก และส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัย ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กร กลุ่มบุคคล ชุมชน ประชาชน และสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย รวมถึงส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

          2.2 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย  ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้บริการด้านการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยความเร็วสูง รวมถึงการสนับสนุนการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอิสระ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารงานภายใน และการให้บริการแก่ประชาชน โดยประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันมีหลายหน่วยงานของราชการจัดทำรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ให้บริการผ่านเว็บไซต์ เช่น การให้บริการของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ โดยมีผู้ให้บริการ Universal Resource Locator  หรือ URL คือ http://www.gitt.net.th หรือการให้บริการของกระทรวงศึกษาธิการที่ http://www.moe.go.th นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ให้บริการเช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันภาคเอกชนต่างๆ หรือองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ต่างก็ให้ความสำคัญกับการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งาน และเมื่อมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งรับผิดชอบทางด้านนโยบายการใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ยิ่งทำให้กิจการเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยก้าวหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้โดยง่าย รวดเร็วและเท่าเทียมกันเป็นการเปิดระบบการเรียนรู้ใหม่ของประชาชน ความรู้จะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้หมด ผู้คนสามารถเรียนรู้จากการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการได้มากมาย ในเวลาเดียวกันความรู้จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขันทางเศรษฐกิจซึ่งถือว่าเป็นทุนความรู้ ทั้งนี้สำนักงาน กศน.เป็นหน่วยงานหลักของภาครัฐหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญและมีความพร้อมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน ในระบบของการศึกษาที่ไม่เป็นทางการหรือการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านทางช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเครือข่ายสารสนเทศ

          2.3 ประเทศไทยมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือแหล่งวิทยาการชุมชนประเภทต่างๆ กระจายอยู่ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ทั่วประเทศ  พร้อมรองรับและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนแต่ละแห่ง ประมาณ 75,098 หมู่บ้าน  ซึ่งแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน จะมีแหล่งเรียนรู้มากกว่า 1 ประเภท  แต่ละประเภทมีมากกว่า 1 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล แหล่งเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ประเภทวัสดุและสถานที่ แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ แหล่งเรียนรู้ประเภทเทคนิค และแหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรม  แหล่งเรียนรู้แต่ละประเภทดังกล่าวสามารถเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยประสานเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับ กศน.ตำบล/ศูนย์การเรียนชุมชน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ของสำนักงาน กศน. ในพื้นที่

จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะความเสี่ยงของสังคมไทยและทิศทางการพัฒนาประเทศ และโอกาสของสำนักงาน กศน. ดังที่กล่าวมานั้น มีประเด็นสำคัญที่สำนักงาน กศน. ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา โดยนำไปกำหนดเป็นประเด็นสำคัญในข้อยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานต่อไป ได้แก่

          1. การสร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษา  เพื่อสร้างความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางการศึกษา ให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย

          2. การเตรียมคนไทย  ให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ มีความคิดเชิงวิเคราะห์ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสมาชิกที่มีศักยภาพของประชาคมอาเซียน และเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ

          3. การสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ประชาชนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักแสวงหาโอกาส เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นสังคมคุณธรรม สังคมเพื่อคนทั้งมวล และพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ

          4. การพัฒนากลไกการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ทั้งด้านปัจจัยดำเนินงาน และกระบวนการดำเนินงาน ให้สามารถดำเนินการขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาประเทศตามบทบาท และภารกิจของสำนักงาน กศน. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนที่  2

ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

          บนพื้นฐานของสถานการณ์สภาวะความเสี่ยงของสังคมไทยและทิศทางการพัฒนาประเทศและโอกาสของสำนักงาน กศน. ดังที่กล่าวแล้วในส่วนที่ 1  สำนักงาน กศน. จึงกำหนดยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ และพันธกิจที่ใช้เป็นหลักยึดและตัวกำกับทิศทางยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ไว้ดังต่อไปนี้

วิสัยทัศน์

          คนไทยทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย เข้าถึงโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพทั่วถึงเท่าเทียม เป็นพลเมืองดี มีศักยภาพ และมีความพร้อมในการแข่งขันในระดับสากล

เป้าประสงค์

          ประชาชนผู้รับบริการ ทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย มีความรู้ความสามารถรอบด้านเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มีศักยภาพในการผลิตทางเศรษฐกิจ การสร้างสังคมคุณภาพ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

พันธกิจ

          สำนักงาน กศน. มีพันธกิจหลัก ดังนี้

          1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

          2. ส่งเสริม สนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อตอบสนองความต้องการทางการศึกษาของประชาชนอย่างหลากหลาย

          3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ และภารกิจ ทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติของหน่วยงาน สถานศึกษา รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

ยุทธศาสตร์  :  3  ยุทธศาสตร์ที่หวังผลใน 3 เดือน

          1. การเร่งปฏิรูปการดำเนินการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลทุกระดับในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบเงื่อนไขระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดย

                   1.1) การทบทวนและปรับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและสถานศึกษาทุกประเภท  ทุกระดับ ตลอดจนหน่วยจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ ให้ทำหน้าที่ตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ “กศน.ตำบล” เป็นฐาน (สถานี) เติมเต็มความรู้ โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

1.2) การประเมิน ทบทวนและปรับกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสอดคล้องกับวิถีชีวิต และสภาพปัญหาความเร่งด่วนของแต่ละชุมชน ตลอดจนพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง การพัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างแท้จริง โดยยึดหลักประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความคุ้มค่าในการดำเนินงาน

                   1.3) กำกับและติดตามให้หน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับบริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้นโยบายและแผน ตลอดจนระบบการกระจายอำนาจเป็นกลไกการดำเนินงานที่สำคัญ โดยมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้นโยบายและแผนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

                   1.4) การกระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง โดยยึดหลักความคล่องตัวในการทำงาน การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายการศึกษาที่มีคุณภาพ และความต่อเนื่องอย่างยั่งยืนของการเป็นภาคีเครือข่ายซึ่งกันและกัน ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ

                   1.5) การเร่งรัดสร้างความเข้าใจกรรมการ กศน.จังหวัด  กรรมการสถานศึกษา  และกรรมการ กศน.ตำบล  ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   1.6) การเร่งรัดพัฒนาครู กศน.ตำบล ทุกคนให้สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          2. การเร่งรัดดำเนินการนำคูปองการศึกษาหรือคูปองการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาใช้  เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของประชาชนผู้รับบริการให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นธรรมอย่างแท้จริง

          3. การเร่งรัดปรับปรุงหลักสูตรแกนกลาง และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา/หลักสูตรท้องถิ่น  ตลอดจนหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการเรียนการสอน ที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมนำความรู้ และปฏิบัติตนตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ และมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 

ยุทธศาสตร์  :  3  ยุทธศาสตร์ที่หวังผลใน  1 ปี

1. การเร่งรัดการกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้สามารถเข้าถึงประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนอย่างทั่วถึง  ทุกกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มเป้าหมาย ที่มีลักษณะเฉพาะทางสังคม - ประชากรอย่างเสมอภาค และเป็นธรรมพร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งระบบโดย

          1.1) การใช้แผนและการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการทั้งการออกแบบกิจกรรม การนิเทศ การติดตามผล การปรับปรุง การพัฒนา และการตัดสินใจทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติและสามารถรายงานสรุปความก้าวหน้าเป็นรายไตรมาส และรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้าง ระบบงานกฎหมาย ระบบการบริหารจัดการและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระบบ

          1.2) การนำสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่หลากหลาย และมีคุณภาพมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดการศึกษา และขยายโอกาสในการเข้าถึงการจัดบริการการศึกษาและการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่หวังผลได้อย่างแท้จริง

1.3) การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษา และหน่วยจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน และแหล่งวิทยาการชุมชนทุกประเภทในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ และมีการอนุรักษ์ สืบสาน ประยุกต์ใช้ ต่อยอดสร้างสรรค์ และพัฒนา เพื่อความยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่นตลอดจนการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ รวมทั้งพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้มีความคิดวิเคราะห์ มีเหตุผล และมีจิตวิทยาศาสตร์

          1.4) การปรับรูปแบบกิจกรรมและวิธีการดำเนินการจาก “บ้านหนังสืออัจฉริยะ” ไปสู่ “บ้านหนังสือชุมชน” และขยายการบริการให้กระจายครบทุกหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ โดยคำนึงถึงความต้องการทางการศึกษา/การเรียนรู้ของประชาชนในพื้นที่และบริบทเฉพาะของหมู่บ้าน/ชุมชนแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ การเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลและความรู้ของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยเชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่ายกับ กศน.ตำบล/ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

          1.5) การพัฒนาศักยภาพและความพร้อมในการจัดบริการการศึกษาเพื่อการรู้หนังสือขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

          1.6) การวางระบบการนิเทศการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มุ่งเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความคล่องตัวในการจัดบริการการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการนิเทศจากระดับนโยบายสู่ระดับภูมิภาคระดับจังหวัด ระดับอำเภอ/ระดับสถานศึกษา และระดับหน่วยจัดบริการ อย่างเป็นระบบ

1.7) การกำหนดแนวทางและดำเนินการในข้อกฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การศึกษาทางเลือก เป็นการศึกษาอีกประเภทหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของประชาชนผู้รับบริการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมในการจัดของภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวาง

          2. การกำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยมีการเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบ และสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อให้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นกลไกหนึ่งที่มีพลังในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในบทบาทที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการนิเทศ กำกับติดตามและรายงานผลอย่างเคร่งครัด และปรับเปลี่ยนได้อย่างทันท่วงทีตามนโยบายและสถานการณ์

          3. การเร่งรัด ติดตาม ให้มีการพัฒนาหน่วยงาน สถานศึกษาและหน่วยงานจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยทุกแห่งทั่วประเทศ  โดยยึดภารกิจหลักเป็นตัวตั้งเพื่อให้มีศักยภาพในการนำนโยบายรัฐบาลและนโยบายที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านกำลังคนทุกระดับ และทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว

จุดเน้นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์

1. จุดเน้นด้านประชากรกลุ่มเป้าหมาย

          1.1) มุ่งเน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีความเป็นธรรมให้กับประชากรทุกกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้ด้อย ผู้พลาด และผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งนี้จำแนกประชากรกลุ่มเป้าหมายไว้ ดังนี้

          (1) จำแนกตามช่วงอายุ มี 3 กลุ่ม ได้แก่

                   1.1) กลุ่มวัยเรียนการศึกษาภาคบังคับ แต่อยู่นอกระบบโรงเรียน (อายุ 6-14 ปี)

                   1.2) กลุ่มประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย

                             1.2.1 กลุ่มวันแรงงานอายุ 15-39 ปี เป็นกลุ่มวันแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการ

การเรียนรู้เป็นกลุ่มแรก

                             1.2.2 กลุ่มวัยแรงงานอายุ 40-59 ปี เป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการ

การเรียนรู้รองลงมา

                   1.3) กลุ่มผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย โดยให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้จากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้

                             1.3.1 กลุ่มอายุ 60-69 ปี

                             1.3.2 กลุ่มอายุ 70-79 ปี

                             1.3.3 กลุ่มอายุ 80-89 ปี

                             1.3.4 กลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป

          (2) จำแนกตามคุณลักษณะเฉพาะทางสังคม – ประชากรที่เกี่ยวเนื่องกับการเข้าสู่โอกาสทางการศึกษา 

แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

                   2.1) กลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ 

จำแนกเป็น  3 กลุ่มใหญ่ 17 กลุ่มย่อย ดังนี้

                             2.1.1 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส  เป็นกลุ่มที่มีโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป อันเนื่องมาจาก  (1) ข้อจำกัดทางร่างกาย/จิตใจ/สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้  (2) ข้อจำกัดทางด้านฐานะทางเศรษฐกิจ หรือความยากจนหรือ  (3) ข้อจำกัดด้านการติดต่อสื่อสารอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางภาษา/วัฒนธรรม  มี 3 กลุ่มย่อย ได้แก่

(1) กลุ่มผู้พิการ

                             (2) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพแรงงานนอกระบบ

                             (3) กลุ่มชาติพันธุ์ (ชนกลุ่มน้อย)

                             2.1.2 กลุ่มผู้พลาดโอกาส  เป็นกลุ่มที่พลาดโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อันเนื่องมาจาก  (1) ความไม่สามารถในการที่จะรับการศึกษา/การเยนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง หรือไม่มีความประสงค์ที่จะรับการศึกษา การเรียนรู้จนจบหลักสูตรหรือระดับชั้นการศึกษาใดๆ ที่ผ่านมา  (2) การย้ายถิ่น/เร่ร่อน หรือ  (3) เงื่อนไข ข้อจำกัดเกี่ยวกับอายุ มี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่

                             (1) กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่ออกกลางคันจากระดับการศึกษาภาคบังคับ

(2) กลุ่มผู้จบการศึกษาภาคบังคับแต่ไม่ได้เรียนต่อ

                             (3) กลุ่มทหารกองประจำการที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับ

                             (4) กลุ่มเด็ก/เยาวชนเร่ร่อน/ไร้บ้าน

                             (5) กลุ่มเด็ก/เยาวชน/ลูกกรรมกรก่อสร้าง

                             (6) กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่มีความพร้อมแต่ไม่ต้องการรับการศึกษาในระบบปกติ

                             (7) กลุ่มผู้สูงอายุ

                             2.1.3 กลุ่มผู้ขาดโอกาส  เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อันเนื่องมาจาก  (1) การอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย/การก่อความไม่สงบบริเวณชายแดน  (2) การอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล หรือยากลำบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร  (3) การมีถิ่นพำนักอยู่ในต่างประเทศ  (4) การถูกจำคุก คุมขังหรือจำกัดบริเวณตามคำพิพากษา หรือ  (5) การไม่มีสิทธิภาพในฐานะพลเมืองไทย มี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่

                             (1) กลุ่มประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบในบริเวณชายแดน

                             (2) กลุ่มประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกลหรือยากลำบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร

                             (3) กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ

                             (4) กลุ่มผู้ต้องขัง

                             (5) กลุ่มเด็ก/เยาวชนในสถานพินิจ

                             (6) กลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือแรงงานข้ามชาติ

                             (7) กลุ่มบุคคลที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์

                   2.2) กลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ 

จำแนกเป็น  4 กลุ่มย่อย ได้แก่

                             2.2.1 กลุ่มบุคคลผู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือปราชญ์ชาวบ้าน

                             2.2.2 กลุ่มผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

                             2.2.3 กลุ่มนักเรียน/นักศึกษาในระบบโรงเรียนที่สนใจเติมเต็มความรู้

                             2.2.4 กลุ่มประชาชนทั่วไป

 

2. จุดเน้นด้านผู้จัดบริการและภาคีเครือข่าย

          2.1 ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกประเภท คณะกรรมการ กศน.จังหวัด คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการ กศน.ตำบล และครู กศน.ตำบล ทุกคน ได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

          2.2 มีการประสานเชื่อมโยงการทำงานตามโครงสร้างภายในหน่วยงานกับภาคีเครือข่าย ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยมีเอกภาพในเชิงนโยบาย และเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นเป้าหมายความสำเร็จในการทำงาน

          2.3 กศน.ตำบลทุกแห่งใช้แผนจุลภาคระดับตำบลเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมหรือออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ สภาพทางกายภาพของชุมชน ปัญหา/ความต้องการทางการศึกษาของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย แต่ละกลุ่ม แต่ละประเภท

แหล่งวิทยากรชุมชน (ทุมมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ และทุกการเงิน) เป็นต้น ทั้งนี้ให้มีการปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันทุกรอบปีงบประมาณ

3. จุดเน้นด้านผลสัมฤทธิ์

          3.1 ผู้สำเร็จหลักสูตรหรือร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลสัมฤทธิ์ที่มีคุณภาพ ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือกิจกรรมการศึกษา/การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ และสามารถนำความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง

          3.2 ผู้สำเร็จหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในการดำเนินชีวิตและมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ส่วนที่  3

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น

 

          ความสำเร็จในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน มุ่งที่ผลลัพธ์หรือกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำคัญ มี 10 ตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้

          1. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับการบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละกลุ่มอายุต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          2. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับการบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบกลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ และกลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          3. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบในพื้นที่ชนบท/และพื้นที่เมืองต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          4. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยแต่ละกลุ่มอายุต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          5. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ และกลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          6. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ชนบท/และพื้นที่เมืองต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

          7. สัดส่วนผู้เรียน/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตร/กิจกรรมที่จบหลักสูตรแต่ละระดับหรือแต่ละกิจกรรมต่อจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตร หรือแต่ละกิจกรรมทั้งหมด และจำแนกรายหลักสูตรหรือรายกิจกรรม

          8. ร้อยละของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคะแนนผลการสอบแต่ละภาคเรียนในวิชาคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์/ภาษาอังกฤษ/ภาษาไทย ร้อยละ 55 ขึ้นไปของคะแนนเต็มแต่ละวิชาดังกล่าว

          9. ร้อยละของผู้จบหลักสูตรการศึกษา/การฝึกอบรมทางการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตรที่สามารถนำความรู้ หรือประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ได้จริงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้นๆ

          10. ร้อยละของผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบ/การศึกษาตามอัธยาศัยที่ยึดถือค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

ส่วนที่  4

ปัจจัยหลักแหล่งความสำเร็จ

          1. การยึดหลักวิชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักปรัชญาคิดเป็น หลักธรรมาภิบาล และผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการ  ทั้งด้านวิชาการงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปทั้งภายในองค์กร ระหว่างองค์กร และการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย

          2. การใช้ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ในการดำเนินงาน  ทั้งที่ยึดพื้นที่ ยึดสภาวะแวดล้อม ยึดกลุ่มเป้าหมาย ยึดประเด็นปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือประเด็นการพัฒนา ยึดความสำเร็จ และยึดนโยบายเป็นฐาน

          3. การเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน  ทั้งเครือข่ายเชิงพื้นที่ เครือข่ายเชิงภารกิจและการสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือและความยั่งยืนในการเป็นภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          4. การใช้ กศน.ตำบล เป็นฐานและสถานีปลายทาง  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติงานตลอดเวลา

          5. การใช้กลุ่ม/โซนเป็นกลไกขับเคลื่อนการบริหารนโยบายในระดับพื้นที่ โดยมีประธานคณะกรรมการบริหารในระดับกลุ่ม/โซนทำหน้าที่ เสมือนผู้ช่วยเลขาธิการ กศน. โดยมีการกระจายอำนาจ/มอบอำนาจ เพื่อให้สามารถบริหารนโยบายในระดับพื้นที่ ได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

          6. การมีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มตามจุดเน้น มาใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          7. การมีระบบการนิเทศกำกับติดตามและรายงานผล การปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณที่สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          8. การมีกลไก/ระบบที่สามารถเชื่อมโยงการทำงาน กับส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการ เช่น ระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วนหรือนโยบายเฉพาะที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          9. การมีหน่วยงาน/สถานศึกษารับผิดชอบตัวชี้วัดความสำเร็จ  ตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นที่ตรงตามภารกิจอย่างชัดเจนที่เชื่อมโยงการกำกับติดตามและรายงานผลตัวชี้วัดทั้งส่วนกลาง ระดับจังหวัด และระดับสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

ภาคผนวก ข

                                    นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ 

นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2555-2558  โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมทั้งในเมืองและชนบทบนพื้นฐานที่ว่าประชาชนที่เข้มแข็งและมีความรู้คือทุนที่มีพลังในการต่อสู้กับความยากจน โดยจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเด็ก เยาวชน ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทุกคนให้เท่าเทียมกันทั้งในเมืองและชนบท ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเทียบเท่า พัฒนาความเป็นพลเมืองโลกที่ทันสมัย มีทักษะหลากหลาย มีความสามารถในการแข่งขันสู่ตลาดโลกโดยบูรณาการการจัดการศึกษาภายใต้ 7 ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ อันได้แก่

1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับทุกประเภท โดยมุ่งเน้นเป้าหมายคือนักเรียน เป็นศูนย์กลาง

2) การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม

3) การปฏิรูปครูเพื่อยกฐานะครูและวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง

4) การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และการฝึกอาชีพให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

5) การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้การศึกษาทัดเทียมกับนานาชาติ

6) การสนับสนุนการพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ

7) การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนโดยมีกรอบแนวคิดหลักของของคุณภาพและความเท่าเทียม รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ต้องมุ่งเน้นหลักการในการดาเนินงาน ประกอบด้วย

- โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน

- โอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้ โดยขึ้นกับฐานะของผู้ปกครอง

-โอกาสในการเพิ่มพูนและฝึกฝนทักษะ ผู้เรียนทุกคนสามารถเติบโตได้ในโลกที่เป็นจริง ผ่านการเรียนรู้บน

ฐานกิจกรรม (Activity-Based Learning)

- โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้เทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจัดการศึกษาโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพสามารถพัฒนาสมอง สร้างจินตนาการได้อย่างไม่มีขีดจากัด ได้รับการดูแลอย่างรอบด้านประหนึ่งลูกหลานในครอบครัว ดูแลครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาดั่งญาติพี่น้องเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ และบริหารจัดการทุกระดับอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่มีการทุจริตและประพฤติมิชอบดังนั้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา จึงยึดแนวคิดพื้นฐาน 3 ประการ เพื่อนาหลักการสู่การปฏิบัติ ดังนี้

1. คำนึงถึงศักยภาพและบริบทรอบๆ ตัวผู้เรียน

2. พัฒนาและยกระดับองค์ความรู้และกระบวนการเรียนการสอนให้ทัดเทียมอารยะประเทศด้วยการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่

3. มุ่งสู่เป้าหมายของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพให้แข่งขันได้ในระดับสากล

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จึงกำหนดกรอบแนวคิดว่า การศึกษาจะต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ผลผลิตของการศึกษาจะต้องนำไปสู่การเตรียมประชาชนคนไทยในอนาคต ที่มีความเป็นไทย มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพเพียงพอที่จะก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางและกระจายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมทั้งในเมืองและชนบท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่สนองนโยบายรัฐบาลและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2556 กล่าวคือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับทุกประเภทโดยมุ่งเน้นเป้าหมายนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

1. การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา

2. จัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา

3. การพัฒนาการศึกษาในเขตพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

4. การจัดการศึกษาปฐมวัย

5. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก

6. นวัตกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

7. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประชาธิปไตย ดนตรี นาฏศิลป์ไทย กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้าน

8. การพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

9. ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

10. โรงเรียนในฝันสู่มาตรฐาน

11. พัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา

12. ส่งเสริมเพื่อให้นักเรียนระดับตำบลมีงานทำ

13. พัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม

1. การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาทางเลือกเน้นเด็กตกหล่น ออกกลางคันและจบ ม.6 ที่ไม่เรียนต่อและนักเรียนพักนอนในพื้นที่ยากลำบาก

3. การจัดการศึกษาเพื่อนักเรียนพิการโดยโรงเรียนศึกษาพิเศษ

4. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสโดยโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์

ยุทธศาสตร์ที่ 3  การปฏิรูปครูเพื่อยกฐานะครูและวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง

1. พัฒนาครูทั้งระบบเต็มตามศักยภาพ

2. ครูคลังสมอง

3. สนับสนุนบุคลากรให้สถานศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และการฝึกอาชีพให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

1. ส่งเสริมให้นักเรียนทางานหารายได้ระหว่างปิดภาคเรียน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาทัดเทียมกับนานาชาติ

1. จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การสนับสนุนการพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 7การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

1. จัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน

2. ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

3. ส่งเสริมภาษาต่างประเทศที่สอง

4. สร้างความตระหนักรู้การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้กับสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

ภาคผนวก ค

โครงการ/กิจกรรม/หลักสูตร

ผู้จัดทำ

 

          ชื่อ-นามสกุล                                  มลิวัลย์  อยู่สุข

ที่อยู่ปัจจุบัน                                  476 หมู่ที่ 23 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ทำงาน/สังกัด                                 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                                                                   อำเภอเมืองขอนแก่น  จังหวัดขอนแก่น

          ตำแหน่งปัจจุบัน                              :  ครู กศน.ตำบลปฏิบัติงานประจำ กศน.ตำบลบ้านทุ่ม 

อำเภอเมืองขอนแก่น

          การศึกษา

          พ.ศ. 2537                                    ระดับปริญญาตรี  วิทยาลัยครูเลย จังหวัดเลย

          พ.ศ. 2556                                    :  ระดับปริญญาโท  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กรุงเทพฯ



เข้าชม : 1280


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่ชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งพาตนเอง 29 / มิ.ย. / 2567
      สรุปผลการปฏิบัติงาน 29 / มิ.ย. / 2567
      การทำมาลัยผ้าขาวม้า 29 / มิ.ย. / 2567
      ผลการปฏิบัติงงาน ครูมลิวัลย์ 22 / ก.พ. / 2566
      งานการศึกษาต่อเนื่อง 14 / ก.พ. / 2566


ความคิดเห็นที่ 1
พฤหัสบดี ที่ 10 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2559 เวลา 20:47:59
chanyuan11.11
north face outlet
tiffany and co jewelry
fitflops sale
ugg canada
rolex watches
coach outlet
michael kors outlet online
coach handbags
swarovski crystal
coach outlet
polo ralph lauren
tiffany and co
michael kors outlet clearance
cheap jordans
fitflops sale
air max 90
adidas nmd
hermes birkin
canada goose outlet
true religion jeans
nike free running
ugg boots
canada goose jackets
michael kors factory outlet
cartier outlet
polo ralph lauren
the north face outlet
ralph lauren polo
ugg boots
longchamp handbags
ferragamo outlet
louis vuitton outlet
ghd hair straighteners
abercrombie and fitch
air max 90
montblanc pens
ugg outlet
louis vuitton handbags
prada handbags
gucci outlet
ugg outlet
ugg outlet
marc jacobs outlet
nike air force 1
canada goose jackets
toms shoes
mulberry outlet
uggs outlet
canada goose outlet
true religion sale
cheap mlb jerseys
mulberry outlet
uggs
cazal sunglasses
canada goose outlet online
nike blazer pas cher
mulberry handbags
oakley sunglasses wholesale
tiffany jewellery
mizuno running shoes
canada goose jackets
oakley sunglasses
lululemon outlet
mcm outlet
ray ban sunglasses sale
true religion outlet
michael kors canada
michael kors handbags
tods outlet
ugg outlet
air max 90
mbt shoes
adidas wings
polo ralph lauren
north face outlet
canada goose outlet
ray-ban sunglasses
nike free run
coach outlet online
yeezy boost 350
hollister clothing
prada sunglasses
ugg outlet
ferragamo outlet
air max uk
michael kors outlet
beats by dr dre
chrome hearts
longchamp pliage
michael kors outlet
nike outlet store
ralph lauren polo
mac cosmetics
north face jackets
louis vuitton
michael kors outlet
michael kors outlet
ugg boots
tory burch outlet
rolex outlet
ralph lauren pas cher
longchamp pas cher
the north face jackets
true religion jeans
ray ban sunglasses
louis vuitton handbags
valentino outlet
canada goose
uggs outlet
adidas trainers
michael kors factory outlet
nike free 5
michael kors outlet
air jordan 4
louis vuitton pas cher
north face jackets
louis vuitton pas cher
rolex watches
nike free run
hermes bags
beats by dr dre
reebok outlet store
michael kors outlet clearance
swarovski crystal
true religion jeans
tory burch shoes
longchamp outlet
the north face jackets
tory burch outlet
uggs canada
polo ralph lauren
true religion jeans
soccer jerseys
ralph lauren polo
fitflops outlet
michael kors outlet
true religion outlet
north face uk
michael kors handbags
michael kors handbags clearance
ferragamo outlet
sac longchamp
canada goose jackets
lacoste pas cher
tiffany outlet
coach outlet clearance
canada goose outlet
polo ralph lauren
converse shoes
swarovski crystal
canada goose outlet
coach outlet online
michael kors outlet clearance
fitflops shoes
chrome hearts outlet
canada goose outlet store
timberland boots
tiffany jewelry
uggs outlet
cheap jordans
uggs on sale
north face jackets
ferragamo shoes
michael kors outlet online
nike trainers
louis vuitton outlet stores
canada goose outlet
nike foamposite
nike outlet
true religion jeans
ugg boots
air max 90
nike roshe run
lebron james shoes
ugg outlet
nike outlet store
canada goose outlet
christian louboutin uk
cheap uggs
christian louboutin outlet
moncler outlet online
michael kors factory outlet
true religion jeans
soccer jerseys
vans shoes
louis vuitton
ugg outlet clearance
coach outlet clearance
coach outlet
cheap nike shoes
louis vuitton handbags
salomon shoes
canada goose outlet
ugg boots
ugg
uggs
coach outlet
nike air max
instyler ionic styler
basketball shoes
celine outlet
tiffany jewellery
uggs outlet
ugg boots
cheap uggs
yeezy boost
true religion jeans
michael kors handbags cheap
ugg outlet
asics
louis vuitton handbags
louis vuitton sunglasses
ugg boots
michael kors outlet clearance
moncler jackets
uggs outlet
michael kors handbags outlet
the north face jackets
longchamp pliage
longchamp outlet
canada goose jackets
kate spade handbags
true religion uk
true religion outlet
supra shoes
nfl jerseys wholesale
adidas nmd runner
longchamp handbag
michael kors bags
kate spade handbags
ugg boots
cheap jordans
michael kors outlet store
louboutin pas cher
ralph lauren shirts
toms shoes
ugg outlet
prada shoes
longchamp solde
canada goose jackets
futbol baratas
true religion jeans
air max 90
uggs on sale
ugg boots
oakley sunglasses
fitflops sale
canada goose outlet
nike air max 2015
nba jerseys
tory burch outlet
hollister uk
coach outlet
jordan shoes
jordan shoes
air jordan shoes
oakley sunglasses
ugg boots canada
cheap snapbacks
uggs outlet
moncler outlet
michael kors factory outlet
bottega veneta outlet
uggs canada
canada goose outlet
coach outlet online
cheap nfl jerseys
cheap jordans for sale
ysl outlet
coach outlet
lululemon outlet
toms shoes
ugg boots
uggs outlet
ugg sale
replica watches
fitflops sale clearance
nike store uk
uggs outlet
michael kors outlet
coach outlet online
longchamp handbags
fitflop clearance
michael kors outlet
michael kors outlet clearance
coach outlet canada
hermes outlet
ed hardy clothing
ugg slippers
swarovski jewelry
ferragamo shoes
coach outlet
ugg boots
cheap nfl jerseys
lacoste polo shirts
oakley sunglasses
mulberry handbags
coach outlet
canada goose outlet
oakley sunglasses
michael kors wallets
toms shoes
ralph lauren uk
ugg boots uk
coach outlet clearance
swarovski crystal
mulberry handbags
oakley sunglasses
chrome hearts
ugg boots
coach outlet online
new balance shoes
hollister uk
ugg outlet
uggs outlet
hermes belt
puma outlet
moncler outlet
michael kors outlet online
hollister canada
louis vuitton neverfull
kobe shoes
ferragamo shoes
coach outlet
polo ralph lauren
chrome hearts outlet
dior sunglasses
christian louboutin online
herve leger outlet
michael kors outlet
the north face jackets
michael kors outlet
ferragamo shoes
canada goose jackets
coach outlet clearance
louis vuitton outlet
ralph lauren uk
canada goose outlet
michael kors handbags
louis vuitton outlet
ugg boots
ugg boots
fitflops sale clearance
canada goose outlet
canada goose jackets
ugg outlet uk
louis vuitton bags
ray ban sunglasses
nike huarache
mulberry sale
chaussure louboutin
ralph lauren uk
rolex watches
ugg australia
ralph lauren
fred perry polo shirts
christian louboutin outlet
michael kors outlet store
juicy couture outlet
ralph lauren pas cher
oakley sunglasses
longchamp handbags
ray ban sunglasses
michael kors outlet
michael kors outlet
nike mercurial
louis vuitton outlet
prada outlet
coach factory outlet
michael kors outlet clearance
polo ralph lauren
michael kors outlet clearance
nike tn pas cher
lululemon outlet
beats headphones
cheap jordans free shipping
michael kors outlet clearance
burberry outlet
ray ban sunglasses
kobe bryant shoes
rolex watches
adidas outlet store
cheap mlb jerseys
cartier watches
michael kors handbags
cheap nba jerseys
canada goose outlet
rolex watches
rolex watches for sale
nike roshe run
versace sunglasses
ugg canada
nike huarache
coach outlet online
michael kors handbags
fitflops shoes
cartier watches
hollister clothing
air jordan 11
oakley sunglasses
adidas uk
cheap nhl jerseys
burberry outlet
true religion outlet
cheap ugg boots
cartier watches
michael kors wallets for women
michael kors outlet
mont blanc pens
kobe 9
air jordan 13
air max uk
ugg outlet
louis vuitton handbags
true religion jeans
replica watches
michael kors handbags
longchamp outlet
moncler coats
michael kors outlet clearance
north face jackets
nike roshe
michael kors handbags
iphone case
tory burch outlet
hollister sale
giuseppe zanotti outlet
beats by dre
cheap uggs
nike air force 1
air max uk
michael kors handbags
ugg boots
louis vuitton
louis vuitton
coach outlet
ralph lauren polo shirts
jordan pas cher
canada goose jackets
ray ban sunglasses
louis vuitton outlet
lebron james shoes
louis vuitton outlet stores
coach outlet
abercrombie and fitch
canada goose outlet
mulberry bags
links of london
uggs clearance
cheap jordans
north face jackets
rolex watches
football shirts
tory burch outlet
michael kors outlet
cartier watches
calvin klein underwear
pandora jewelry
omega watches
louis vuitton handbags
ugg outlet
reebok trainers
ugg outlet
canada goose jackets
ugg boots
north face outlet
louis vuitton
canada goose jackets
celine outlet
longchamp bag
ugg outlet
ugg sale
north face jackets
nike air max uk
pandora jewelry
michael kors uk
canada goose jackets
swarovski crystal
michael kors outlet online
oakley sunglasses
north face jackets
mulberry handbags
thomas sabo uk
burberry outlet
ray ban sunglasses
christian louboutin outlet
โดย : chanyuan    ไอพี : 174.139.35.38



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
กศน.ตำบลบ้านทุ่ม  บ้านทุ่ม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี