[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

 

 

ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ

ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น  ได้จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542  โดยใช้ศาลากลางบ้านเริงเปือย  หมู่ที่  13 เป็นที่ทำการจัดการเรียนการสอนสายสามัญ ในปี พ.ศ. 2549  ได้ย้ายที่ทำการโดยใช้อาคารภายในสำนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตำบลพระลับเป็นที่จัดการเรียนการสอน  ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลพระลับ  และวัดป่าแสงอรุณ  อนุญาตให้ใช้ อาคาร OTOP  หน้าวัดป่าแสงอรุณเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ  เป็นอาคารขนาดกลาง  มีเนื้อที่รอบบริเวณ   5 ไร่ เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ได้ยกระดับศูนย์การเรียนชุมชน เป็นสถานศึกษาตามประกาศจัดตั้ง ศูนย์การเรียนชุมชน

 

 

2.2  ที่ตั้ง ขนาดพื้นที่

                                2.2.1  ที่ตั้ง

                                ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ  ตั้งอยู่ที่ อาคาร หน้าวัดป่าแสงอรุณ  ถนนขอนแก่น-เชียงยืน (ถนนศรีจันทร์) ห่างจากจังหวัดขอนแก่น  3  กิโลเมตร  ตำบลพระลับ  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  โทรศัพท์  043-915107  โทรสาร  043-915107

                                2.2.2 ขนาดพื้นที่

                                ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ  เดิมเป็นอาคารแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลพระลับ  มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่

 

2.3  เครือข่ายจัดการเรียนการสอน

                                ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับมีครูเครือข่ายจัดการเรียนการสอนตามศูนย์การเรียนในหมู่บ้านในเขตตำบลพระลับ   7  แห่ง  ดังนี้
                                3.1  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ บ้านแสงอรุณ  หมู่ที่  18
                                3.2  ศูนย์การเรียนบ้านพระคือ  หมู่ที่  10
                                3.3  ศูนย์การเรียนบ้านพระคือ  หมู่ที่  16
                                3.4  ศูนย์การเรียนบ้านหนองไฮ  หมู่ที่  8
                                3.5  ศูนย์การเรียนบ้านเลิงเปือย  หมู่ที่  9
                                3.6  ศูนย์การเรียนบ้านหนองแสง  หมู่ที่  17
                                3.7  ศูนย์การเรียนบ้านผือ  หมู่ที่  1
                                3.7  ศูนย์การเรียนบ้านดอนดู่เมืองใหม่  หมี่  15
                2.4.  จำนวนครูเครือข่ายจัดการเรียนการสอน

                                4.1  นางสมถวิล  พิพ์มจักร              ข้าราชการบำนาญ
                                4.2  นางอมร  คำหนามแท่ง            ข้าราชการบำนาญ
                                4.3  นางเกษริทร์  ธนะไชย             ข้าราชการครู

                                4.4  นางสาวอุไรวรรณ  ทีคำแก้ว   ครู
                                4.5  นายวัฒนา  ศรีจุมพล                 ครู
                                4.6  นายวิวัฒน์  สุวรรณพงษ์           ครู
                                4.7  นายนัฐวุฒิ  คำพิมพ์พา             ครู

                2.5 บทบาทและภารกิจตามโครงการ
                                2.5.1  ครูศูนย์การเรียนชุมชน

                ดำเนินงานด้านการจัดขบวนการการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้กับกลุ่มเป้าหมาย  ดูแลและพัฒนาศูนย์การเรียนให้เป็นสถานศึกษาอย่างสมบูรณ์  จัดหาสื่อการเรียนการสอน  สื่อเทคโนโลยี  พัฒนาคนในชุมชนและสังคมในเขตพื้นที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจให้เต็มศักยภาพ  ประสานงานเครือข่าย
               
                2.5.2  ครูเครือข่าย
                จัดการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เต็มศักยภาพ

                                2.5.3  งานส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
               
                งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                                                -  งานส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือ
                                                -  งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                                                                1. ระดับประถมศึกษา  (ป.6)
                                                                2.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  (ม.3)
                                                                3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  (ม.6)
                                                -  งานการศึกษาสายอาชีพ
                                                                1.  วิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
                                                                2.  กลุ่มสนใจ
                                                                3.  กลุ่มพัฒนาอาชีพ
                                                -  งานการศึกษาตามอัธยาศัย
                                                                1.  ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
                                                                2.  แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
                                                                3.  แหล่งภูมิปัญญาชาวบ้าน / ปราชญ์ชาวบ้าน
                                                -  งานพัฒนาทักษะชีวิต

                                                                1.  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                                                                2.  ด้านรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
                                                                3.  ด้านประชาธิปไตย
                                                                4.  ด้านคุณธรรมจริยธรรม
                                                                5.  การศึกษานอกสถานที่

                2.6 งานโครงการ
                เป็นนโยบายที่มาจากส่วนกลางอำเภอ  ส่วนจังหวัด  หรือส่วนตำบลที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเช่น  งานโครงการ
วิทยาลัยชุมชน ร่วมกับดทศบาลตำบลพระลับ  และวัดป่าแสงอรุณ  งานการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส  งานจัดหาสื่อการเรียนการสอน  งานพัฒนาศูนย์การเรียนขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงงานประสานงานเครือข่ายต่างๆ  เป็นต้น

2.8  งานนิเทศติดตามผล
              เป็นงานติดตาม และประเมินผล  การดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูเครือข่าย  ที่จัดการเรียนการสอนตามกระบวนการจัดการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2.9 งานศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
              เป็นงานส่งเสริมและให้มีการพัฒนาทางวิชาการ  พัฒนาผู้เรียน  พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนทั้งการศึกษาสายสามัญ  สายอาชีพ  และการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนผู้รับบริการหรือกลุ่มเป้าหมาย

แผนภูมิที่ 1 : โครงสร้างระบบบริหารของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ

 

       ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.ขอนแก่น

 


                                                                                               

 

 

  ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กศน.เมืองขอนแก่นขอนแก่น

 

 

 

 


 

งานบริหาร

งานสนับสนุนการศึกษา

 

งานสายอาชีพ

 

งานสายสามัญ

                                                                                                                                               

 

 

พนักงานราชการ

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

 

 

 

 

 

 


 

ครูเครือข่าย



 



ปรัชญา

“ กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น จัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อปวงชน ”



 วิสัยทัศน์

สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม ก้าวนำเทคโนโลยี

สู่วิถีความพอเพียง คู่เคียงชุมชน

พันธกิจ

-- จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
-- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย
-- ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
-- พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
ต่อการศึกษาตลอดชีวิต
-- พัฒนาบุคลากร และภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

 

กลยุทธ์


                กลยุทธ์การดำเนินงาน

                กลยุทธ์ที่ 1  ชุมชนเป็นฐานะการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทำแผนชุมชน  เพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการ
ศึกษาตามอัธยาศัย  ตามความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน  เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง

                กลยุทธ์ที่ 2  จัดการเรียนรู้คู่ปฏิบัติจริง  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพการดำรงชีวิต  มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  สื่อ  ในลักษณะจัดการเรียนรู้คู่ปฏิบัติจริง  และการสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้  เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน

                กลยุทธ์ที่ 3  พึ่งพิงอิงเครือข่าย  มุ่งเน้นการประสานงานและพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกระดับทุกประเภทให้ตระหนักในความสำคัญในบทบาทของการจัดการความรู้และร่วมดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                กลยุทธ์ที่ 4  คิดใหม่  ฉับไว  ใส่ใจธรรมาภิบาล  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและมุ่งเน้นการบริหารตามหลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม  หลักความโปร่งใสตรวจสอบได้  หลักการมีส่วนร่วม  หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า

 

                กลยุทธ์ที่ 5  คำตอบอยู่ที่หมู่บ้านสู่มาตรฐาน  กศน.  มุ่งเน้นการนิเทศ  การติดตามและประเมินผลแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  ตัวชี้วัดทุกผลผลิตและทุกกิจกรรม  เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนอุดมปัญญาและมีความสุขโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

คิดเป็น

                  แนวความคิดเรื่องคิดเป็นมีองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงปรัชญา 3 ส่วน กล่าวคือ เป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ คือ ความสุข มนุษย์จึงแสวงหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะมุ่งไปสู่ความสุขนั้น แต่เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐานทั้งทางกายภาพ อารมณ์ สังคม จิตใจและสภาวะแวดล้อม ทำให้ความต้องการของคนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การให้คุณค่าและความหมายของความสุขของมนุษย์จึงแตกต่างกัน การแสวงหาความสุขที่แตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคนแต่ละคน การตัดสินใจนั้น จำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ซึ่งโดยหลักการของการคิดเป็น มนุษย์ควรจะใช้ข้อมูลอย่างน้อย 3 ด้าน คือ ข้อมูลตนเอง ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ทั้งทางด้านกายภาพ สุขภาพอนามัยความพร้อมต่าง ๆ ข้อมูลสังคม ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ครอบครัว สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ค่านิยมตลอดจนกรอบคุณธรรม จริยธรรม และข้อมูลทางวิชาการ คือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องคิด ตัดสินใจนั้น ๆ ว่ามีหรือไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้หรือไม่ การใช้ข้อมูลอย่างรอบด้านนี้จะช่วยให้การคิดตัดสินใจเพื่อแสวงหาความสุขของมนุษย์เป็นไปอย่างรอบคอบ เรียกวิธีการคิดตัดสินใจนี้ว่า คิดเป็นและเป็นความคิดที่มีพลวัต คือ ปรับเปลี่ยนได้เสมอ เมื่อข้อมูลเปลี่ยนแปลงไป เป้าหมายชีวิตเปลี่ยนไป

  

กระบวนการคิดเป็น

               กระบวนการคิดเป็นอาจจำแนกให้เห็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นกระบวนการคิดได้ ดังนี้(สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน.2547:31-32)

ขั้นที่  1    การระบุปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่

ขั้นที่  2    การศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและสถานการณ์นั้น ๆ โดยจำแนกข้อมูลออกเป็น 3 ประเภท คือ
ข้อมูลสังคม 
 ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวปัญหา สภาพสังคมของแต่ละบุคคล ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนและสังคมทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น

ข้อมูลตนเอง  :  ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคล ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจ เป็นข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ความพร้อมทั้งทางอารมณ์ จิตใจ เป็นต้น

ข้อมูลทางวิชาการ  :  ได้แก่ข้อมูลด้านความรู้ในเชิงวิชาการที่จะช่วยสนับสนุนในการคิดการดำเนินงาน

ขั้นที่  3    การสังเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 ด้าน เข้ามาช่วยในการคิดหาทางแก้ปัญหาภายในกรอบแห่งคุณธรรม ประเด็นเด่นของขั้นตอนนี้คือระดับของการตัดสินใจที่จะแตกต่างกันไปแต่ละคนอันเป็นผลเนื่องมาจากข้อมูลในขั้นที่ 2 ความแตกต่างของการตัดสินใจดังกล่าว มุ่งไปเพื่อความสุขของแต่ละคน

ขั้นที่  4    การตัดสินใจ เป็นขั้นตอนสำคัญของแต่ละคนในการเลือกวิธีการหรือทางเลือกในการแก้ปัญหา ขึ้นอยู่กับว่าผลของการตัดสินใจนั้นพอใจหรือไม่ หากไม่พอใจก็ต้องทบทวนใหม่
ขั้นที่  5
    เป็นการปฏิบัติตามสิ่งที่ได้คิดและตัดสินใจแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



                                                                   

 



เข้าชม : 1287
 
 
กศน.ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  หน้าวัดป่าแสงอรุณ บ้านเลิงเปือย หมู่ที่ 9 ตำบลพระลับ อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น 40000

โทรศัพท์ 0-4391-5107   082-847-8895 โทรสาร 
0-4391-5107 E-mail : phralap.nfekk@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี