[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

                                                ตอนที่ 1
                                      ข้อมูลทั่วไปตำบลพระลับ

1.1  ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ประวัติชุมชน
         
ตำบลพระลับ  อำเภอเมืองขอนแก่น  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองขอนแก่น  อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ  กิโลเมตร  ตามทางหลวงแผ่นดินเลขที่   209 ( ขอนแก่น - เชียงยืน )
ที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบล  ตั้งอยู่ที่เลขที่ 
144  หมู่  11  บ้านหนองโพธิ์  การเดินทางจากที่ว่าการอำเภอเมืองขอนแก่น  ไปที่ทำการองค์การบริการส่วนตำบลพระลับ  ถนนประชาสโมสร ไปทางทิศตะวันออก  ถนนศรีจันทร์ เลี้ยวขวา  ตามทางหลวงหมายเลข  209  (ขอนแก่น เชียงยืน )  ถึงประมาณ กิโลเมตรที่  4 -  5  เลี้ยวขวาตามถนนกรมโยธาธิการตรง  วัดป่าแสงอรุณ  ระยะจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  209  ถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพระลับประมาณ  2  กิโลเมตร
ขนาดพื้นที่และอาณาเขต
         
ตำบลพระลับ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 48 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 30,000 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
 - ทิศเหนือ ติดต่อเขต ตำบล ศิลา

 - ทิศใต้ ติดต่อเขต ตำบลดอนหัน อำเภอเมืองขอนแก่น และตำบลเขวาไร่ จังหวัดมหาสารคาม
 - ทิศตะวันออก ติดต่อเขตตำบลบึงเนียม
 - ทิศตะวันตก ติดต่อเขต เทศบาลนคร
สภาพภูมิศาสตร์

สภาพภูมิประเทศของตำบลพระลับ  ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม  เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม
 1.2  ข้อมูลด้านประชากร
จำนวนหมู่บ้าน มีหมู่บ้านจำนวน 19 หมู่บ้าน ประกอบด้วย   

ประชากร

ตำบลพระลับมีประชากรทั้งสิ้น  20,117  คน  จำนวนครัวเรือน  4,031  ครัวเรือน
ผู้สูงอายุจำนวน  2,100  คน

หมู่บ้าน

จำนวนประชากร(คน)

จำนวนประชากรวัยแรงงาน(คน)

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

หมู่ที่  1

368

314

682

291

218

509

หมู่ที่  2

702

652

1,354

587

473

1,060

หมู่ที่  3

682

634

1,316

655

609

1,264

หมู่ที่  4

481

395

876

354

251

605

หมู่ที่  5

553

419

972

472

384

805

หมู่ที่  6

525

433

958

465

393

858

หมู่ที่  7

478

414

892

400

355

755

หมู่ที่  8

822

691

1,513

687

591

1,278

หมู่ที่  9

989

825

1,814

799

749

1,544

หมู่ที่  10

612

563

1,175

441

439

880

หมู่ที่  11

498

414

912

359

247

606

หมู่ที่  12

589

538

1,127

503

400

903

หมู่ที่  13

749

689

1,438

719

533

1,272

หมู่ที่  14

464

393

857

327

298

625

หมู่ที่  15

489

402

891

400

378

778

หมู่ที่  16

395

358

753

235

221

456

หมู่ที่  17

568

386

954

347

270

617

หมู่ที่  18

362

316

678

259

239

498

หมู่ที่  19

501

454

955

372

321

693

รวม

10,827

9,290

20,117

8,672

7,358

16,057

1.3  ข้อมูลด้านการประกอบอาชีพ                    
                      อาชีพของประชากรในเขตตำบลพระลับประกอบอาชีพทางการเกษตร  เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสมกับการประกอบอาชีพทางการเกษ๖ร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตชลประทาน มีคลองส่งน้ำชลประทาน โยรับน้ำจากโครงการชลประทานหนองหวาย มีลำห้วยพระคือเป็นลำห้วยสายหลักมีน้ำตลอดปี มีประชากรที่อาศัยอยู่ริมห้วยพระคือ สามารถปลูกผักสวนครัวได้ตลอดริมห้วยทั้งสองฝั่ง จึงเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชากร นอกจากนั้นประชากรตำบลพระลับยังเข้าไปทำงานในตัวเมืองเมืองขอนแก่น เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า

ข้อมูลด้านอาชีพ

จำนวน/ครัวเรือน

ร้อยละ

อาชีพหลักเกษตรกร

5,118

64.86

อาชีพรองได้แก่
รับราชการ
รัฐวิสาหกิจ
ลูกจ้าง
ค้าขาย
รับจ้าง

 
752
377
251
444
949


9.53
4.78
3.18
5.63
12.03

รวม

7,891

100.00

รายได้ของประชากร รายได้เฉลี่ยประชากร...................บาท/คน/ปี                                          ทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากที่สุดในตำบล  ลำน้ำ, ลำห้วยธรรมชาติได้แก่ ลำห้วยพระคือ ลำน้ำชี ,ลำน้ำพอง บึง และหนองอื่นๆ 5 แห่ง ได้แก่ หนองเลิงเปือย ,หนองผือ , หนองหอย ,หนองเอียดและหนองเบ็ญ
ผลผลิตทางการเกษตรที่มีมากที่สุดในตำบลได้แก่ 1.ข้าว  2. ผัก 3. ดอกไม้

 1.4  การปกครอง

          1.4.1 เทศบาลตำบลพระลับ
 
                   นายพงศ์ธร  พิศาพิทักษ์กุล                   นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระลับ 
                   นายเอกชัย  อนุพันธ์                        ปลัดเทศบาลตำบลพระลับ
                   นายวารินทร์  อินธิสอน                      ผอ.กองการศึกษาตำบลพระลับ
                   นายเคน  ละน้อย                              ประธานสมาชิกสภาเทศบาลตำบลพระลับ

          1.4.2 กำนันผู้ใหญ่บ้าน
                   1)  นายสม  ดวงบรรเทา           กำนันตำบลพระลับ
                   2)  นายธงชัย    ใจกว้าง            ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1         บ้านผือ           
                   3)  นายสมประสงค์  ศรีทาโส      ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่
2         บ้านผือ
                             4)  นายสุขสันต์  โยคุณ             ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3         บ้านพระคือ
                             5)  นายเกษม พลเขตต์             ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4         บ้านโคกน้อย
                             6)  นายสุเนตร  ปัสสาคร          ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่5          บ้านหัวถนน  
                             7)  นายวินัย   ทองทับ             ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6         บ้านโนนสวรรค์
                             8)  นายนเรศ  ไชยหงษ์             ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7         บ้านโพธิ์ชัย
                              9)  นายบัณฑิต  พรหมพินิจ       ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8         บ้านหนองไฮ
                             10)  นายสมบัติ ฤทธิชัย            ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9         บ้านเลิงเปือย
                  11)  นายบุญชู สุวรรณสาร
         ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10        บ้านพระคือ
                  12)  นายสม  ดวงบรรเทา                    ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11        บ้านหนองโพธิ์
                  13)  นายนายวิรัตน์ ละน้อย       ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12        บ้านหนองแสง
                  14)  นายประยุทธ บรรเทา        ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13        บ้านเลิงเปือย
                  15)  นายจำรัส                      ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14        บ้านโคกน้อย
                  16)  นางจินตนา โนนศรี           ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่
15        บ้านดอนดู่เมืองใหม่
                  17)  นายเสด็จ นาเมืองจันทร์      ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่
16        บ้านพระคือ
                  18)  นายเบ็ญ ฝ่ายดำ              ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่
17        บ้านหนองแสง
                             19)  นางเบญจรัตน์  นามมณี      ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 18       บ้านพระคือ
                             20)  นายบุญศรี  คุณทุม           ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  19       บ้านผือ 
 1.5 ศาสนาและวัฒนธรรม

                       1. 5.1 ศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือคือ
                   ศาสนาพุทธ      คิดเป็นร้อยละ 95 ของประชากร

                   ศาสนาคริสต์     คิดเป็นร้อยละ  3 ของประชากร
                   ศาสนาอิสลาม    คิดเป็นร้อยละ  2 ของประชากร  
มีวัดในตำบล  11          แห่ง มีท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก สามาน สุเมโธ เจ้าคณะภาค 9 เป็นเจ้าคณะฝ่ายธรรมยุต

                    1.5.2  วัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลพระลับมีวัฒนธรรมอีสานที่เชิดหน้าชูตา คือสิมอีสาน ที่วัดป่าแสงอรุณ และวัฒนธรรมอื่นๆ ตามเทศกาลฮีตสิบสองครองสิบสี่ของภาคอีสานที่สืบทอดกันมาและมีประเพณีงานแข่งเรือ ประจำทุกปี
 1.6 การสาธารณสุข
                         มีสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ       จำนวน  2  แห่ง
                         - สถานีอนามัย 2 แห่ง : สถานีอนามัยตำบลพระลับ , บ้านผือ
                         - สถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง
                         - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1 แห่ง
                   มีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน   357       คน
                   มี....นายวิรัตน์  ละน้อย....เป็นประธาน อสม.
         
 1.7 ข้อมูลด้านการศึกษา

 
                   1.7.1 การศึกษาในระบบโรงเรียน
                        
- โรงเรียนประถมศึกษา 6 แห่ง
                         - โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง : โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2
                         - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ
                   1.7.2 การศึกษานอกระบบโรงเรียน
                                       1. มีศูนย์การเรียนชุมชน  2  แห่ง
                              2. มีแหล่งเรียนรู้  8  แห่ง

                             มีปราชญ์ชาวบ้าน 5 คน
                             ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 14 แห่ง
                             ศูนย์
ICT  1  แห่ง
                             ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 2 แห่ง
                             บ้านหนังสืออัจฉริยะ  10  แห่ง
                   3. การส่งเสริมการอ่านหนังสือ
                             ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้.....................คน
                             อ่านออกเขียนได้แต่ยังไม่คล่องแคล่วดีพอ มี.....................คน
                             ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 14 แห่ง
                             บ้านหนังสืออัจฉริยะ  10  แห่ง
                             มีสื่อเพื่ออ่าน ได้แก่

                                      - หนังสือ              เล่ม
                                      - หนังสือพิมพ์วันละๆ  2  ฉบับ
                                      -  นิตยสารผู้หญิงรายปักษ์ขวัญเรือนเดือนละ  1  เล่ม  
                                      - วารสารสัปดาห์ คู่สร้างคู่ราย   เล่ม

                             มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน  10  คน
                             จำนวนการอ่านหนังสือของคนแต่หมู่บ้านโดยเฉลี่ยปีละ 2 เล่ม
                             จำนวนโดยเฉลี่ยที่คนในแต่ละหมู่บ้านอ่านหนังสือวันละ 30 นาที
                   4. การพัฒนาอาชีพ  มีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ
                             โครงการทอสื่อและหมอนขิต
                             โครงการน้ำดื่มทางเลือก
                             โครงการดอกดาวเรือง
                             โครงการพรหมเช็ดท้าว
                             โครงการน้ำหมักชีวภาพและสวนสมุนไพร
                             โครงการขนมถั่วตัด
                             โครงการเพาะเห็ดขอนขาว
                   5. จัดการศึกษาร่วมกับโรงพยาบาลศูนย์ส่งเสริมสุขภาพตำบล          
                   6. การศึกษานอกโรงเรียนขั้นพื้นฐาน
                             - ประถมศึกษา                      54      คน
                             - มัธยมศึกษาตอนต้น                125     คน
                             - มัธยมศึกษาตอนปลาย             170     คน
                             -  นักศึกษาหลักสูตรเรียน  ม.6  จบภายใน  8  เดือน  18  คน
                                       รวมนักศึกษาทั้งสิ้น         367    คน
                             - ครู กศน.ตำบล                       1     คน
                             - ครูศูนย์การเรียนชุมชน                1    คน
                             - ครูประจำกลุ่ม                         2    คน

                   7. กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 10 ทักษะ แต่ละทักษะมีจำนวนเฉลี่ยปีละ  200  คน
                             1) ทักษะการตัดสินใจ
                             2) ทักษะการแก้ปัญหา
                             3) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
                             4) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                             5) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
                             6) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
                             7) ทักษะการตระหนักรู้ในงาน
                             8) ทักษะการเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น
                             9) ทักษะการจัดการกับอารมณ์
                              10) ทักษะการจัดการกับความเครียด
                   8. กิจกรรมที่เด่นและเป็นแบบอย่างของ กศน.ตำบลพระลับ
                   -โครงการโรงเรียนนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชน อสม. กศน. ร่วมกับเทศบาลตำบลพระลับ  โดยเป็นการยกระดับนักศึกษากลุ่มเป้าหมาย อสม.ตำบลพระลับทั้ง 2 เขต  มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับครูประกลุ่มและแพทย์พยาบาลจากโรงพยาบาลเครือข่ายจังหวัดขอนแก่น      
                   9. ปัญหาของชุมชน
                             1.ปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี
                             2. ปัญหาประชากรว่างงาน
                             3. ปัญหาวัยรุ่น

                   10. ความต้องการทางการศึกษานอกโรงเรียนของตำบล มีอะไรบ้าง
                             1) ต้องการคอมพิวเตอร์ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น
                             2) ต้องการสื่อการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น
                             3) ต้องการให้มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น
                    11. เครือข่ายงาน กศน.ตำบลพระลับ
                             1) เทศบาลตำบลพระลับ
                             2) วัดป่าแสงอรุณ
                             3) โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 สมาน สุเมโธ
                             4) โรงเรียนพระคือหนองโพธิ์วิทยา
                             5) โรงเรียนบ้านผือสวัสดิราษฎร์วิทยา
                             6) โรงเรียนบ้านหนองแสงโคกน้อย
                             7) โรงเรียนหนองไฮโพธิ์ชัย
                             8) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
                             และหน่วยงานต่างๆทั้งในภาครัฐและเอกชนในพื้นที่

2. ข้อมูลทั่วไปศูนย์การเรียน
         
2.1  ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  ตำบลพระลับ  (แอวมอง)  หมู่  9,13
         
แต่ก่อนเป็นที่นาที่สวน  ที่ทำการเกษตรของชาวบ้านพระคือ  ตำบลพระลับเดิมมีชื่อว่า  แอวมอง  ตั้งอยู่ที่ถนนสาย  ขอนแก่น – ยางตลาด  ทางหลวงสาย  209  กิโลเมตรที่  5  โดยตั้งชื่อตามสมัยก่อนบริเวณแห่งนั้นเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสมบูรณ์  มีครกกระเดื่องใหญ่หรือครกมองตำข้าว  มีปลาชุกชุมในหนองน้ำ  ทำให้ได้มีการอพยพราษฎรมาจากบ้านพระคือ  โดยครั้งแรกชาวบ้านพระคือเรียกว่า  บ้านน้อยแอวมอง  มีคนต่างถิ่น  -  คนจีนมาปลูกบ้านสมทบเพิ่มขึ้น  ผู้ก่อตั้งแรกเริ่มคือ  นายอินทร์  นามปัดถา  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก  ซึ่งได้พาราษฎรย้ายมาตั้งบ้านประมาณ  60 – 70  ปีมาแล้ว  และได้สร้างวัดป่าแสงอรุณเมื่อปีพ.ศ.  2467 
          ต่อมาทางราชการเห็นว่าชื่อ 
แอวมอง  เป็นชื่อท้องถิ่น  จึงเปลี่ยนเป็นชื่อบ้านเลิงเปือย 
(เพราะมีต้นเปือยขึ้นอยู่เต็มที่หนองเลิงเป็นจำนวนมากตามภูมิประเทศ)
  พ.ศ.2539  มีการขอแยกหมู่บ้านเลิงเปือยเป็นจำนวน  2  หมู่บ้านคือ  หมู่  9  และหมู่ที่  13
          ปัจจุบันบ้านเลิงเปือยหมู่  9  มีจำนวนครัวเรือนประมาณ  397  ครัวเรือน  ประชากรชายจำนวน  941  คน  หญิงจำนวน  971  คน  รวมทั้งสิ้นจำนวน  1,912  คน  มีนายสมบัติ  ฤทธิชัย  เป็นผู้นำมาตั้งแต่ปี  พ.ศ.2537  จนถึงปัจจุบัน  10  ปี  (สามสมัย)
  อาชีพส่วนใหญ่ของตำบลพระลับอาชีพ  ทำนา  ทำสวน  รับจ้าง  กรรมกรก่อสร้าง  หาปลาจำหน่าย  และมีหนองน้ำขนาดใหญ่มีเศรษฐกิจดี  ชื่อว่าหนองเลิงเปือย  เป็นหนองน้ำที่มีปลาธรรมชาติอาศัยอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์   และปัจจุบันหนองเลิงเปือยจะมีการปรับปรุงภูมิทัศน์  เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวตำบลพระลับ  และตำบลใกล้เคียง
หมู่บ้านเลิงเปือย  หมู่ที่  9  มีผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมนตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน  มีดังนี้คือ 
1.  นายอินทร์  นามปัดถา
2.  นายจันทร์  เสนเคน
3.  นายกมล  พฤกษเทเวศ
4.  นายสมบัติ  ฤทธิชัย  (สามสมัย)

ส่วนหมู่บ้านเลิงเปือย  หมู่ที่  13
  มีผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมนตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน  มีดังนี้คือ 
1.  นายปรีดา  พระสุวรรณ
2.  นายชัยมงคล  บรรเทา
3.  นายประยุทธ  บรรเทา  ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ชาวตำบลพระลับมีการ  จักสานตระกร้า  การทอเสื่อ  การแปรรูปอาหาร  เป็นต้น
จารีตประเพณี  ชาวตำบลพระลับมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  มีวัดป่าแสงอรุณเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  มีการทำบุญประเพณีตามเดือนต่างๆซึ่งยึดสืบต่อกันมาเช่น  บุญมหาชาติ , บุญกุ้มข้าวใหญ่ประจำปี
สิ่งปลูกสร้างต่างๆมีสถานที่สำคัญหลายแห่ง  ได้แก่  วัดป่าแสงอรุณ  สิมอีสาน  หลักหลวงปู่สีทน  กาญจโน  หลักบ้านที่ชาวบ้านนับถือ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนประจำตำบลพระลับ  โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน  2  โรงเรียนบ้านเลิงเปือย  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น  สถานีตำรวจชุมชนตำบลพระลับ 
          ปัจจุบันหมู่บ้านเลิงเปือยหมู่  13  มีจำนวนครัวเรือนประมาณ  307  ครัวเรือน   ประชากรชายจำนวน  679  คน  หญิงจำนวน  710  คน  รวมทั้งสิ้นจำนวน  1,398  คน
ผู้รู้เรื่องราวได้ดีที่ยังมีชีวิตอยู่ได้แก่
1.  พระธรรมดิลก 
(สมาน  สุเมโธ  อุบลพิทักษ์  ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ  เจ้าคณะภาค  ๙  (ธ)  ที่ปรึกษา  มจร.  วิทยาเขตขอนแก่น
2.  นายจันทร์  เสนเคน
3.  นายศักดิ์ชัย  ถาปาบุตร
          ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น  ได้จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนครั้งแรกในปี  พ.ศ.  2542  โดยใช้ศาลากลางตำบลพระลับ  หมู่ที่  13  เป็นที่ทำการจัดการเรียนการสอนสายสามัญ  ในปี  พ.ศ.  2549  ภายในสำนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตำบลพระลับเป็นที่จัดการเรียนการสอน  ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหาร  เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนปัจจุบัน  ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พุทธศักราช  2551  ได้ยกระดับศูนย์การเรียนชุมชน  เป็นสถานศึกษาตามประกาศจัดตั้ง  ศูนย์การเรียนชุมชน

               
               

                            
                             ภาพศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  หมู่ที่  13














2.2  ที่ตั้ง  ขนาดพื้นที่   
                   2.2.1  ที่ตั้ง
        

         
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย    ตั้งอยู่ที่  ศาลากลางบ้าน  บ้านเลิงเปือย 
ถนนขอนแก่น – เชียงยืน  (ถนนศรีจันทร์)
  ห่างจากจังหวัดขอนแก่น  3  กิโลเมตร  ตำบลพระลับ  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น
                   2.2.2  ขนาดพื้นที่ 
                            
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  เดิมเป็นศาลากลางบ้านขนาดกลางใช้จัดกิจกรรมของชาวบ้าน

2.3  เครือข่ายจัดการเรียนการสอน

ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  มีครูเครือข่ายจัดการเรียนการสอนตามศูนย์การเรียนในหมู่บ้านในเขตตำบลพระลับ   7  แห่ง  ดังนี้
                   3.1  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ บ้านแสงอรุณ  หมู่ที่  9
                   3.2  ศูนย์การเรียนบ้านพระคือ  หมู่ที่  3
                    3.3  ศูนย์การเรียนบ้านหนองไฮ  หมู่ที่  8
                   3.4  ศูนย์การเรียน
บ้านเลิงเปือย  หมู่ที่  13
                   3.5 ศูนย์การเรียนบ้านหนองแสง  หมู่ที่  17
                   3.6  ศูนย์การเรียนบ้านผือ         หมู่ที่  2
                   3.7  ศูนย์การเรียนบ้านดอนดู่เมืองใหม่  หมู่ที่ 15
         
                                       


รายชื่อบุคลากร  กศน.  ในตำบล


                   1.  นางอภิญญา  วงศ์การดี                            ครู  กศน.ตำบล
                   2.  นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง                          ครู  ศูนย์การเรียนชุมชน
                  
3.  นางสมถวิล  พิพ์มจักร  (ข้าราชการบำนาญ)     ครูประจำกลุ่ม
                   4.  นายสุภาพ  บะคะ                                 ครูประจำกลุ่ม
                  

         

                                               














                                               






                                                ตอนที่ 2

                   จุดเน้นและเป้าหมายตามนโยบายสำนักงาน กศน.

1.  จุดเน้นและเป้าหมายของสำนักงาน  กศน.จังหวัดขอนแก่น
      
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่น ได้กำหนดเป้าหมายและจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่สอดคล้องกับทิศทาง แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ของกระทรวงศึกษาธิการ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยมีเป้าหมายและจุดเน้นจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ และการมีอาชีพอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์

กศน.ขอนแก่น กศน.สร้างสรรค์ มุ่งมั่น ส่งเสริมให้ประชาชนคนขอนแก่นได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพ ได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ และมีอาชีพ ตลอดจนมีความสามารถเชิงการแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

          1.  ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาและเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพเพื่อยกระดับการศึกษา สมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสังคม และมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น

          2.  ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในและนอกจังหวัดขอนแก่น

          3.  พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          4.  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชน ส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ

          5.  พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าประสงค์

          1.  ประชาชนในจังหวัดขอนแก่นได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

          2.  ประชากรวัยแรงงานในจังหวัดขอนแก่นมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น และมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

          3.  ชุมชนมีฐานอาชีพที่กว้างและหลากหลาย สามารถพัฒนาไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชนที่มีความสามารถเชิงการแข่งขัน มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความเข้มแข็งของชุมชน (OTOP Mini MBA) ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          4.  ประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ แก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างสร้างสรรค์

          5.  ประชาชนในจังหวัดขอนแก่นมีความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาคและความเป็นประชาคมอาเซียน

          6.  หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในจังหวัดขอนแก่น ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายใน
การดำเนินงาน
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          7.  สถานศึกษาพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีคุณภาพและนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนในจังหวัดขอนแก่น

          8.  สถานศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิผล

          9.  สถานศึกษาและหน่วยจัดกิจกรรม (กศน.ตำบล) มีระบบการบริหารจัดการสามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีประสิทธิภาพ    

ตัวชี้วัด

          1.  ร้อยละของคนในจังหวัดขอนแก่นกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ (เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยแรงงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น) ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          2.  ร้อยละของจำนวนประชากรวัยแรงงานในจังหวัดขอนแก่น (อายุ 15-59 ปี) ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่เข้าเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          3.  จำนวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

          4.  จำนวนกศน.ตำบลที่ได้มาตรฐานอยู่ในระดับดีขึ้นไป อย่างน้อยร้อยละ 80 ของจำนวน กศน.ตำบลทั้งหมด

5.  ร้อยละของชุมชน (ตำบล/หมู่บ้าน) เป้าหมายที่ประชาชนในจังหวัดขอนแก่นที่ได้รับ
การอบรมหลักสูตร
OTOP Mini MBA ตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเพื่อการมีงานทำแล้ว สามารถจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ระดับตำบล/หมู่บ้านได้

          6.  จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการศึกษาอบรมในหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและภาษากลุ่มประเทศอาเซียนอื่นและอาเซียนศึกษา

          7.  ร้อยละของผู้เรียน/ผู้เข้ารับบริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีความพึงพอใจทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ

          8.  จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับบริการการเรียนรู้/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและสถาบันทางวิทยาศาสตร์อื่น

          9.  จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ

นโยบายเร่งด่วน

1.  ยกระดับการศึกษาประชาชนให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือน อย่างมีคุณภาพ

          1.1  ส่งเสริมสถานศึกษาพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการเทียบระดับ และการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือน อย่างมีคุณภาพ

          1.2  ส่งเสริมสถานศึกษาที่เป็นศูนย์เทียบระดับดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษาและประสบการณ์ เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน  ให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือน อย่างมีคุณภาพให้ได้อย่างน้อย 104 คน

          1.3  ส่งเสริมสถานศึกษาซักซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติการประเมินเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับการศึกษาและเข้ารับบริการประเมินเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

2.  เร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพหลักสูตร OTOP Mini MBA สู่ชุมชน

          2.1  ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตร OTOP Mini MBA ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อย่างน้อย จำนวน 26 กลุ่ม อำเภอละ 1 กลุ่ม ๆ ละ อย่างน้อย 20 คน

          2.2  พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้สามารถนำไปใช้สนับสนุนการดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตร OTOP Mini MBA ของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          2.3  พัฒนาสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตร OTOP Mini MBA ให้มีความหลากหลายและครบถ้วนเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนและการปฏิบัติจริง

          2.4  พัฒนาครูและวิทยากรผู้สอนหลักสูตร OTOP Mini MBA โดยความร่วมมือระหว่าง กศน.กับเครือข่าย เช่น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

3.  เปิดโลก กศน. สู่ กศน.อินเตอร์ เพื่อประชาคมอาเซียน

          3.1  ส่งเสริมสถานศึกษาจัดทำหลักสูตร สื่อ แบบเรียน และเครื่องมือการวัดผลประเมินผลการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษ

3.2  พัฒนาครูและผู้เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.3  ส่งเสริม สนับสนุนจัดให้มีห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้องเรียน นักศึกษาอย่างน้อย จำนวน 30 คน

3.4  ส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาและจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษ

3.5  ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาในสังกัดให้จัดการศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรระยะสั้น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาอาเซียนอื่น ให้กับกลุ่มเป้าหมายคนขับรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถรับจ้าง แม่ค้า อำเภอละ 1 กลุ่ม มีผู้รับบริการ อย่างน้อยกลุ่ม ๆ ละ 10 คน

3.6  พัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม และการวัดและประเมินผลการศึกษา เพื่อการพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับผู้เรียน 

4.  เสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชน

4.1  ประสานสถานศึกษาในสังกัดจัดให้มีระบบส่งเสริมสนับสนุนกศน.ตำบลดำเนินการสำรวจความต้องการหนังสือของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งตอบสนองความต้องการและความสนใจให้ครอบคลุมและทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

4.2  ประสานงาน ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดตั้งและดำเนินการส่งเสริมการอ่านในรูปแบบบ้านหนังสืออัจฉริยะ อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างน้อย ร้อยละ 50 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด (จำนวน 1,166 หมู่บ้าน)

4.3  ประสานสถานศึกษารับสมัครอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน จำนวน 2,331 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน รวม 2,331 คน

4.4  ประสานสถานศึกษาในสังกัดจัดให้มีระบบส่งเสริมสนับสนุนกศน.ตำบลดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมสร้างอัจฉริยะของเด็กและเยาวชน และเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 199 หมู่บ้าน/ชุมชน

5เร่งรัดจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ

5.1  ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และชุมชนในพื้นที่ร่วมดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนที่เน้นการจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติเชิงบูรณาการของชุมชน อย่างน้อย 199 ชุมชน

5.2  ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับประชาชนอย่างครบถ้วนเพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่กับสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้อย่างสมดุลและมีความสุข

6.  เร่งรัดพัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติดตาม และนิเทศเพื่อการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ
         
6.1  สำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่นร่วมกับสถานศึกษาในสังกัดเร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย
         
6.2
  จัดให้มีการพัฒนาระบบนิเทศทั้งภายในและภายนอกที่มีความเชื่อมโยงทั้งระดับตำบล อำเภอ และระดับจังหวัด

นโยบายต่อเนื่อง

1.  นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ

1.1  จัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

      1) ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดหาตำราเรียน จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทุกคน

      3) ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม และสร้างเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ได้อย่างมั่นคง

              4) ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาขยายการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชากรวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน

     5) ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งผลการเรียนอย่างเป็นระบบได้มาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตร เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในจังหวัดขอนแก่น

     6) ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน.ให้มีความครบถ้วน ถูกต้องทันสมัย และเชื่อมโยงกันในระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

              7) ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดให้มีวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะเกี่ยวกับสาระและวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              8) ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีความโปร่งใสยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนดและสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.2  การส่งเสริมการรู้หนังสือ

              1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นระบบเดียวกัน
              2
) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน โดยกำหนดให้ครูอาสาฯ จำนวน 1 คนต่อกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 14 คน และเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย กศน.อำเภอละ 2 คน รวมทั้งหมด 1,032 คน
              3
) พัฒนาครู กศน.และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
              4
) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผล และเครื่องมือการดำเนินงานการส่งเสริมการรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
              5
) พัฒนาระบบการประเมินผลระดับการรู้หนังสือให้มีมาตรฐาน
1.3  การศึกษาต่อเนื่อง

              1) มุ่งจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ทั้งในหลักสูตรต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายนํ้า รวมทั้งส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ความสามารถ เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพและทักษะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ได้จริง โดยการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เป้าหมาย ตำบลละ 22 คน รวม 9,934 คน

              2) ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางการขายและการตลาดในลักษณะเช้าขายบ่ายสัมมนา สถานศึกษาละ 1 แห่ง ผู้รับบริการ อย่างน้อย 1,194 คน

              3) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมายโดยจัดกิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองครอบครัว และชุมชน 199 ตำบล อย่างน้อยตำบลละ 35 คน รวม 6,965 คน

              4) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักสูตรอื่นตามปัญหาและตามความต้องการของชุมชนในรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่ โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี และการสร้าง
ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน การบริหารกองทุน การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ และการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน และหลักสูตรเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
199 หมู่บ้าน/ชุมชน หมู่บ้าน/ชุมชนละ 30 คน จำนวนอย่างน้อย 2,587คน โดยเน้นจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้าน/ชุมชนที่เป็นที่ตั้งกศน.ตำบลเป็นชุมชนพอเพียง

              5) ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน และสะดวกต่อการใช้งานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาต่อเนื่องของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย

          1.4  การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

              1) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและมาตรฐานของหลักสูตรได้ครบ 100 % เน้นการดำเนินการภายใต้กิจกรรมเข้าค่ายศีลธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานที่ปฏิบัติธรรมให้กับนักศึกษาใหม่ทุกคน หลักสูตร 50 ชั่วโมง (3 วัน 2 คืน) และร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อื่นตามความเหมาะสมและความจำเป็น

              2) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาได้พัฒนาครูและผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพโดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดทำแผนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล

              3) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และกิจกรรม
การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการและสภาพของกลุ่มเป้าหมายและท้องถิ่น

              4) ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรทางด้านภาษา และวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนและการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรดังกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่การเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพ

              5) ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาให้มีการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ ประกอบหลักสูตรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอนโดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างน้อย 2 ครั้ง

              6) ส่งเสริมสถานศึกษาให้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตที่หลากหลายสอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน

              7) ประสานสถานศึกษามุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพ และความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีผลสัมฤทธิ์ในสาระความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

              8) พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตรโดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการนำข้อทดสอบกลางมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  9) ประสานสถานศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมประกวดสุดยอด นักศึกษา กศน. เพื่อคัดเลือกตามเกณฑ์หรือวิธีการของสำนักงาน กศน.

          1.5  การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

              1) สถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้ได้มาตรฐานโดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในตนเอง

              2) สำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่นดำเนินการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยต้นสังกัดในปีงบประมาณ 2556 จะดำเนินการประเมินโดยต้นสังกัด จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 1) กศน.อำเภอพล 2) กศน.อำเภอแวงน้อย 3) กศน.อำเภอแวงใหญ่ 4) กศน.อำเภอพระยืน 5) กศน.อำเภอหนองสองห้อง และ 6) กศน.อำเภอเปือยน้อย ให้ผ่านการประเมินคุณภาพภายใน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

              3) ดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กศน.ที่มีผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาไม่ได้ตามมาตรฐานที่ สมศ.กำหนดโดยปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสถานศึกษาที่จะครบรอบการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. 5 ปี ประจำปีงบประมาณ 2556 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ กศน.อำเภอหนองเรือ และกศน.อำเภอบ้านไผ่

              4) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน สมศ. ผดุงระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

2นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

2.1  การส่งเสริมการอ่าน

               1) พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้ระดับอ่านคล่อง อ่านเข้าใจความ เขียนคล่อง และอ่านเชิงคิดวิเคราะห์พื้นฐาน โดยใช้เทคนิควิธีการเรียน
การสอน และสื่อที่มีคุณภาพ

               2) พัฒนาคนขอนแก่นให้มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝังและสร้างเจตคติให้เห็นประโยชน์และความสำคัญของการอ่าน ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วม และกำหนดมาตรการจูงใจเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน

      3) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและหลากหลาย รวมทั้งมีความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์ที่สนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย โดยเฉพาะงานมหกรรมรักการอ่าน

      4) ส่งเสริมให้มีบ้านหนังสืออัจฉริยะในหมู่บ้านเพื่อการดำเนินการส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างกว้างขวางในพื้นที่ 

          2.2  ห้องสมุดประชาชน

               1) มุ่งเน้นพัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน เป็นแหล่งค้นคว้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำและสร้างรายได้อย่าง

ยั่งยืนและการสร้างความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

      2) จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับให้บริการในห้องสมุดประชาชน

               3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเอง การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ของประชาชนเพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการปฏิบัติ

               4) จัดหน่วยบริการห้องสมุดเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง  26 อำเภอ จำนวน 100 ครั้ง โดยคัดเลือกพื้นที่ให้บริการเป้าหมายที่เป็น กศน.ตำบล ร้อยละ 50 ของกศน.ตำบลของแต่ละอำเภอ เพื่อให้บริการอย่างสม่ำเสมอและเพิ่มโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพของประชาชนและชุมชน

               5) พัฒนาศักยภาพ บุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการของห้องสมุดประชาชนให้มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงาน

               6) แสวงหาภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน

3.  นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน

          3.1  การพัฒนา กศน.ตำบลให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน

               1) จัดหาครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมกับ กศน.ตำบล ให้ครบทุกแห่งเพื่อสนับสนุนการบริหาร การจัดกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนได้ทันเวลา

               2) จัดหาหนังสือและสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์สื่อเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพในรูปแบบและสาระที่หลากหลาย ทันสมัย ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาชุมชน และการสร้างความบันเทิง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความสุขในชีวิตให้กับประชาชนในชุมชน

               3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัยสร้างสรรค์ ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชน โดยจัดให้มีการจัดการศึกษาผ่านทีวีสาธารณะ การฝึกอาชีพ การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การป้องกันภัยพิบัติ การศึกษาการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตย
การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และความจำเป็นเร่งด่วนต่างๆ ของแต่ละชุมชน

               4) เร่งรัดให้ กศน.ตำบล จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และส่งเสริมให้มีกลุ่มส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนรักการอ่าน โดยใช้อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่างๆ ในชุมชน โดยดำเนินงานเป็นทีมร่วมกับครู กศน.ตำบล

               5) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสภาพการรู้หนังสือและความต้องการทางการศึกษาและ
การเรียนรู้ของประชากรวัยแรงงานและผู้สูงอายุ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้ทันความต้องการ เพื่อประโยชน์ ในการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว

               6) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย กศน.ตำบล เพื่อการประสานเชื่อมโยง ส่งต่อผู้เรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ในการให้บริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

               7) พัฒนาระบบการติดตามประเมินผล กศน.ตำบลอย่างต่อเนื่องรวมทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล และจัดให้มีการรายงานต่อสาธารณะ รวมทั้งนำผลมาพัฒนาการดำเนินงาน กศน.ตำบล อย่างต่อเนื่อง
              8
) กำกับและติดตามให้ กศน.ตำบล ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานการดำเนิน กศน.ตำ
              9) ดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน กศน.ตำบลทุกแห่ง 199 ตำบลให้ได้รับมาตรฐานอยู่ในระดับดีขึ้นไป อย่างน้อยร้อยละ 80

          3.2  ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

               1) พัฒนาศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กำหนด
              2
) พัฒนาและจัดทำหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของตลาด และศักยภาพของพื้นที่โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การจัดการศึกษาอาชีพแนวใหม่ เป็นการจัดการศึกษาที่สามารถสร้างอาชีพหลักที่มั่นคงให้กับผู้เรียน โดยสามารถสร้างรายได้ได้จริงทั้งในระหว่างเรียนและสำเร็จการศึกษาไปแล้ว และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาชีพ เพื่อพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืน
              3) ประสานการดำเนินงานกับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของหน่วยงานและสถานศึกษาต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการฝึกและสร้างอาชีพของประชาชนและชุมชนในและนอกจังหวัด ขอนแก่น
              4) จัดให้มีระบบการประสานงานเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนต่าง ๆ สำหรับเป็นช่องทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอาชีพอย่างต่อเนื่องให้กับผู้เรียน
              5
) จัดให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการด้านการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชนความต้องการของตลาด

          3.3  การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกระดับ

               1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายทุกระดับ โดยจำแนกตามระดับความพร้อมในการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ให้ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามารถเชื่อมโยงกันได้ในระดับจังหวัด เพื่อประโยชน์ในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพ และระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย

               2) พัฒนาบุคลากรภาคีเครือข่ายให้มีศักยภาพในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ อย่างน้อย 2 ครั้ง

               3) ให้ กศน.อำเภอประสานการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และภารกิจเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในการเป็นกลไกสำคัญเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

          3.4  อาสาสมัคร กศน.

               1) ส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้าราชการบำนาญเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน. โดยเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและนำเสนอ
ความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยทำงานเป็นทีมร่วมกับครูในสังกัด สำนักงาน กศน
.

               2) ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายการส่งเสริมนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

               3) เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในรูปแบบต่าง ๆ แก่อาสาสมัคร กศน. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน อย่างน้อย จำนวน 2 ครั้ง
              3.5  การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน

               1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนโดยใช้ กศน.ตำบล 199 แห่ง ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

               2) ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนโดยการจัดทำแผนชุมชนจัดเวทีชาวบ้าน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/ตำบล ๆ ละ 20 กลุ่ม การศึกษาดูงาน อย่างน้อย 2 ครั้ง การฝึกอบรม อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อนำความรู้ไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน

               3) ส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้ในชุมชนให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรต่าง ๆ ของ กศน. โดยคำนึงถึงการประกอบอาชีพ และการมีงานทำของผู้เรียนที่แท้จริง เพื่อประโยชน์ในการมีงานทำและการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

               4) ส่งเสริมให้มีการขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการสืบสานและการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยให้มีการจัดทำและเผยแพร่สื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน

               5) พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้ และนักจัดการความรู้ที่สำคัญของชุมชน

4นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ

          4.1  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

               4.1.1  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ

                        1) โครงการศูนย์ศิลปาชีพโสกส้มกบ อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ 140 คน กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 140 คนและ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน 140 คน

                4.1.2  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

                        1) โครงการส่งเสริมอาชีพนักเรียนเก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 140 คน

                       2) โครงการพัฒนาการเกษตรและโภชนาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามพระราชดำริฯ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 150 คน

               4.1.3  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา

                        1) โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวบ้านหนองหัววัว อำเภอเมืองขอนแก่น กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 50 คน กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 50 คน  กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จำนวน 50 คน และกิจกรรมจัดหาสื่อหนังสือ จำนวน 100 คน

                       2) โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อผู้ป่วยในโรงพยาบาล อำเภอเมืองขอนแก่น กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 820 คน    

          4.2  การส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

                4.2.1  การส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

                   1) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 2,600 คน  เด็กด้อยโอกาส คนเร่ร่อน จำนวน 130 คน คนพิการ  จำนวน 149 คนเด็กออกกลางคัน ประกอบด้วย ระดับประถม จำนวน 21 คน ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 435 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 31 คน

                   2) พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรม ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายพิเศษแต่ละกลุ่ม

5นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

          5.1  พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายให้สามารถผลิต เผยแพร่และใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          5.2  พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ได้หลายช่องทางทั้งทางอินเทอร์เน็ต และรูปแบบอื่น ๆ เช่น Application บนโทรศัพท์มือถือและTablet, DVD,CD, VCD และ MP3 เป็นต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้บริการเพื่อเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ได้ตามความต้องการ

6.  นโยบายด้านการบริหารจัดการ

6.1  การพัฒนาบุคลากร

      1) ส่งเสริมให้ผู้บริหารและครู กศน. ได้รับการพัฒนาด้านจริยธรรมและคุณธรรม ในรูปแบบการเข้าค่ายปฏิบัติธรรม กศน.อำเภอ 3 แห่ง ได้แก่ 1) กศน.อำเภอเมือง 2) กศน.อำเภอกระนวน และ
3) กศน.อำเภอหนองเรือ

               2) พัฒนาบุคลากรทุกประเภททุกระดับให้มีสมรรถนะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งก่อนและระหว่างการดำรงตำแหน่งเพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน และบริหารจัดการการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพ

               3) พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน มีความสามารถในการดำเนินงานให้ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเป็นศูนย์กลางในการฝึกและสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับประชาชนและชุมชนและพร้อมที่จะแข่งขันในเวทีอาเซียนและเวทีสากล อย่างน้อย 2 ครั้ง

               4) พัฒนาหัวหน้า กศน.ตำบลให้มีสมรรถนะสูงขึ้นในการบริหารจัดการกศน.ตำบล/แขวง และการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเป็นนักจัดการความรู้และผู้อำนวยความสะดวกการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง อย่างน้อย 2 ครั้ง

               5) ส่งเสริมสถานศึกษาในสังกัดได้มีการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กศน.ตำบล เพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ กศน.ตำบล อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 2 ครั้ง

               6) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดได้มีการพัฒนาอาสาสมัคร กศน. ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล ที่มีคุณภาพ อย่างน้อย 2 ครั้ง

               7) เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากร รวมทั้งภาคีเครือข่ายในทุกระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร และภาคีเครือข่ายในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เช่น มหกรรมกีฬา กศน., การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากร (Organization Development: OD), การปฏิบัติธรรมร่วมกัน ตลอดจนการสันทนาการร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ อย่างน้อย จำนวน 1 ครั้ง

               8) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ

               9) ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น อย่างน้อย 2 ครั้ง

          6.2  การกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผล

               1) กำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยร่วมกับชุมชน ภาคีเครือข่าย อย่างน้อย 4 เดือน 1 ครั้ง

               2) การกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลใช้รูปแบบที่หลายหลากทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ

          6.3  โครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง

               1) จัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการปรับปรุงสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา

               2) ระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมสำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน

               3) แสวงหาภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

               4) บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้าง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน

               5) ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจัดจ้างลูกจ้าง สำหรับปฏิบัติงานในสถานศึกษาและสำนักงาน กศน.จังหวัด

6.4  การพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูล

               1) ส่งเสริมให้สถานศึกษามีการจัดการความรู้ในสถานศึกษา

               3) ส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย

               4) ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ของ กศน.ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคมเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของ กศน.ทั้งในฐานะผู้รับบริการ ผู้จัด ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กศน.

เป้าหมายการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2556

1.  จุดเน้น: ยกระดับการศึกษาประชาชนให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือน อย่างมีคุณภาพ

     ดำเนินการจัดบริการประเมินเทียบระดับการศึกษาและประสบการณ์ เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน จำนวน 104 คน จาก 13 ศูนย์ ดังนี้

         

ที่

ศูนย์เทียบระดับ

จำนวน (คน)

1

กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

8

2

กศน.อำเภอหนองสองห้อง

8

3

กศน.อำเภอชุมแพ

8

4

กศน.อำเภอกระนวน

8

5

กศน.อำเภอน้ำพอง

8

6

กศน.อำเภอหนองเรือ

8

7

กศน.อำเภอภูเวียง

8

8

กศน.อำเภอสีชมพู

8

9

กศน.อำเภอพระยืน

8

10

กศน.อำเภอชนบท

8

11

กศน.อำเภอบ้านไผ่

8

12

กศน.อำเภอพล

8

13

กศน.อำเภอมัญจาคีรี

8

รวม

104


2.  จุดเน้น: การจัดฝึกอบรมอาชีพหลักสูตร OTOP Mini MBA สู่ชุมชน

          ดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตร OTOP Mini MBA (การบริหารจัดการธุรกิจ สินค้า OTOP ธุรกิจ OTOP ส่งออก การตลาดและช่องทางการจำหน่าย)  จำนวน 26 กลุ่ม อำเภอละ 1 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน

ที่

สถานศึกษา

จำนวน (แห่ง)

1

กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

20

2

กศน.อำเภอกระนวน

20

3

กศน.อำเภอเขาสวนกวาง

20

4

กศน.อำเภอชนบท

20

5

กศน.อำเภอชุมแพ

20

6

กศน.อำเภอน้ำพอง

20

7

กศน.อำเภอบ้านไผ่

20

8

กศน.อำเภอบ้านฝาง

20

9

กศน.อำเภอพระยืน

20

10

กศน.อำเภอพล

20

11

กศน.อำเภอภูเวียง

20

12

กศน.อำเภอมัญจาคีรี

20

13

กศน.อำเภอแวงน้อย

20

14

กศน.อำเภอแวงใหญ่

20

15

กศน.อำเภอสีชมพู

20

16

กศน.อำเภอหนองเรือ

20

17

กศน.อำเภอหนองสองห้อง

20

18

กศน.อำเภออุบลรัตน์

20

19

กศน.อำเภอเปือยน้อย

20

20

กศน.อำเภอภูผาม่าน

20

21

กศน.อำเภอซำสูง

20

22

กศน.อำเภอหนองนาคำ

20

23

กศน.อำเภอโคกโพธิ์ไชย

20

24

กศน.อำเภอบ้านแฮด

20

25

กศน.อำเภอโนนศิลา

20

26

กศน.อำเภอเวียงเก่า

20

รวม

520


3.  จุดเน้น
: ด้านการศึกษานอกระบบ

          3.1  จัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2556 ดังนี้

ที่

สถานศึกษา

เป้าหมายผู้ลงทะเบียน 2/2555

เป้าหมายผู้ลงทะเบียน 1/2556

 

ประถม

ม.ต้น

ม.ปลาย

ปวช.

รวม

ประถม

ม.ต้น

ม.ปลาย

ปวช.

รวม

 

1

เมืองขอนแก่น

1,688

3,360

4,152

632

9,832

1,772

3,528

4,360

664

10,324

 

2

บ้านฝาง

1,125

1,222

1,628

350

4,325

1,181

1,283

1,709

339

4,512

 

3

พระยืน

536

883

1676

582

3,677

562

927

1,760

611

3,860

 

4

หนองเรือ

1,717

1,905

1,987

234

5,843

1,803

1,988

2,048

246

6,085

 

5

ชุมแพ

821

1,665

1,846

68

4,400

862

1,748

1,938

71

4,619

 

6

สีชมพู

806

1,246

1,230

320

3,602

1,000

1,308

1,291

500

4,099

 

7

น้ำพอง

1,011

1,806

2,055

691

5,563

1,062

1,896

2,158

725

5,841

 

8

อุบลรัตน์

820

741

1,531

-

3,092

861

778

1,608

-

3,247

 

9

กระนวน

1,301

1,037

2,189

-

4,527

1,366

1,117

2,299

-

4,782

 

10

บ้านไผ่

992

1,476

2,178

75

4,721

1,042

1,550

2,287

79

4,958

 

11

เปือยน้อย

191

690

744

-

1,625

201

724

781

-

1,706

 

12

พล

1,349

1,713

1,438

-

4,500

1,884

1,884

1,582

-

5,350

 

13

แวงใหญ่

496

579

901

-

1,976

521

608

946

-

2,075

 

14

แวงน้อย

528

829

1,149

-

2,506

554

870

1,206

-

2,630

 

15

หนองสองห้อง

260

1,219

1,888

315

3,682

273

1,280

1,982

331

3,866

 

16

ภูเวียง

346

702

1,082

141

2,271

363

737

1,136

148

2,384

 

17

มัญจาคีรี

508

879

1,210

1,222

3,819

533

923

1,270

1,283

4,009

 

18

ชนบท

1,072

1,070

1,061

683

3,886

1,126

1,124

1,114

717

4,081

 

19

เขาสวนกวาง

918

371

1,270

-

2,559

964

390

1,333

-

2,687

 

20

ภูผาม่าน

255

532

677

50

1514

268

559

711

80

1,618

 

21

ซำสูง

1,339

781

1,171

-

3,291

1,406

820

1,230

-

3,456

 

22

โคกโพธิ์ไชย

665

754

1,182

-

2,601

698

792

1,241

-

2,731

 

23

หนองนาคำ

220

377

421

76

1,094

231

396

442

80

1,149

 

24

บ้านแฮด

1,347

1,012

1,591

-

3,950

1,366

968

1,671

-

4,005

 

25

โนนศิลา

757

343

617

-

1,717

795

360

648

-

1,803

 

26

เวียงเก่า

491

397

506

-

1,394

516

417

531

-

1,464

 

รวม

21,559

27,589

37,380

5,439

91,967

23,210

28,975

39,282

5,874

97,341

 

 

          3.2  เป้าหมายผู้จบปีงบประมาณ 2555 (2/2555+1/2556)

ที่

สถานศึกษา

เป้าหมายผู้จบปีงบประมาณ 2556 (1/2554+2/2554)

ประถม

ม.ต้น

ม.ปลาย

ปวช.

รวม

1

เมืองขอนแก่น

        1,141

           450

           927

17

2,535

2

บ้านฝาง

           106

           290

           240



5

641


3

พระยืน

           168

           287

           456


61

972

4

หนองเรือ

         147

           145

           231


14

537

5

ชุมแพ

           177

           244

           750


6

1,177

6

สีชมพู

           511

           129

           427


22

1,089

7

น้ำพอง

           469

           259

           887


563

2,178

8

อุบลรัตน์

           256

           347

           893


-

1,496

9

กระนวน

           148

           216

           201


-

565

10

บ้านไผ่

           210

           366

           487


54

1,117

11

เปือยน้อย

              76

           165

           326


-

567



12



พล

         367

           775

        1,088

 

-

2,230

13

แวงใหญ่

              87

           150

           606

-

843

14

แวงน้อย

              86

           295

           228

-

609

15

หนองสองห้อง

              25

           247

           361



639

16

ภูเวียง

           251

           537

           369

12

1,169

17

มัญจาคีรี

           301

           704

           926


366

2,297

18

ชนบท

              98

           265

           401


55

819

19

เขาสวนกวาง

           285

           207

           203

-

695

20

ภูผาม่าน

           142

           308

           703

-

1,153

21

ซำสูง

           276

           563

           751

-

1,590

22

โคกโพธิ์ไชย

           486

           318

           494

-

1,298


23

หนองนาคำ

           328

           394

           875


49

1,646

24

บ้านแฮด

           337

           202

           785

-

1,324

25

โนนศิลา

              77

           335

           116

-

528

26

เวียงเก่า

           299

           143

           178

-

620

รวม

6,854

8,341

13,906

      1,230

30,331

               

 

          3.3  กิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ

               

ที่

สถานศึกษา

เป้าหมายส่งเสริมฯโดยครูอาสาฯ

ครูอาสาฯ

เป้าหมาย

1

เมืองขอนแก่น

7

100

2

บ้านฝาง

2

30

3

ภูเวียง

2

30

4

โนนศิลา

2

30

5

หนองสองห้อง

4

58

6

ซำสูง

2

30

7

หนองเรือ

5

72

8

พระยืน

2

30

9

ภูผาม่าน

2

44

10

มัญจาคีรี

3

44

11

แวงน้อย

2

30

12

บ้านไผ่

4

58

13

โคกโพธิ์ไชย

1

16

14

เปือยน้อย

2

30

15

เขาสวนกวาง

1

16

16

สีชมพู

3

44

17

น้ำพอง

4

58

18

พล

3

44

19

แวงใหญ่

1

16

20

กระนวน

2

30

21

ชุมแพ

4

58

22

ชนบท

3

44

23

อุบลรัตน์

3

44

24

บ้านแฮด

2

30

25

หนองนาคำ

2

16

26

เวียงเก่า

2

30

รวม

69

1,032

 

หมายเหตุ: กลุ่มเป้าหมายส่งเสริมการรู้หนังสือจัดโดยครูอาสาฯ จำนวนครูอาสาฯ 1 คน:กลุ่มเป้าหมาย 14 คน และเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย กศน.อำเภอละ 2 คน

3.3 การศึกษาต่อเนื่องกลุ่มเป้าหมายประชากรวัยแรงงาน

 

ที่

 

สถานศึกษา

 

ตำบล

(1)

กศ.อาชีพเพื่อการมีงานทำ

 

(3)

กศ.เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

(4)

กศ.เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

(5)

กศ.ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

กิจกรรมเช้าขายบ่ายสัมมนา

ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

1

กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

18


108


1433

630

540

234

2

กศน.อำเภอกระนวน

9

54

436

315

270

117

3

กศน.อำเภอเขาสวนกวาง


5


30


236


175


150

65

4

กศน.อำเภอชนบท

8

48

329

280

240

104

5

กศน.อำเภอชุมแพ

12

72

581

420

360

156

6

กศน.อำเภอน้ำพอง

12

75

582

420

360

156

7

กศน.อำเภอบ้านไผ่

10

60

513

350

300

130

8

กศน.อำเภอบ้านฝาง

7

42

331

245

210

91

9

กศน.อำเภอพระยืน

5

30

256

175

150

65

10

กศน.อำเภอพล

12

72

510

420

360

156

11

กศน.อำเภอภูเวียง

11

66

507

385

330

143

12

กศน.อำเภอมัญจาคีรี

8

48

423

280

240

104

13

กศน.อำเภอแวงน้อย

6

36

255

210

180

78

14

กศน.อำเภอแวงใหญ่

5

30

213

175

150

65

15

กศน.อำเภอสีชมพู

10

60

470

350

300

130

16

กศน.อำเภอหนองเรือ

10

60

528

350

300

130

17

กศน.อำเภอหนองสองห้อง

12


72


494

420

360

156

18

กศน.อำเภออุบลรัตน์

6

36

284

210

180

78

19

กศน.อำเภอเปือยน้อย

4

24

165

140

120

52

20

กศน.อำเภอภูผาม่าน

5

30

243

175

150

65

21

กศน.อำเภอซำสูง

5

30

284

175

150

65

22

กศน.อำเภอหนองนาคำ

3

18

139

105

90

39

23

กศน.อำเภอโคกโพธิ์ไชย

4

24

172

140

120

52

24

กศน.อำเภอบ้านแฮด

4

24

205

140

120

52

25

กศน.อำเภอโนนศิลา

5

30

206

175

150

65

26

กศน.อำเภอเวียงเก่า

3

18

139

105

90

39

 

 

199

1,194

9,934

6,965

5,970

2,587

 

หมายเหตุ: 1) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เป้าหมาย ตำบลละ 22 คน

          2) กิจกรรมเช้าขายบ่ายสัมมนา ตำบลละ 35 คน

              3) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป้าหมายจำนวน 35 คน: ตำบล
             4) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป้าหมายจำนวน 30 คน
: ตำบล
            5) การจัดการศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมายจำนวน
13 คน:ตำบล

4จุดเน้น: ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

          4.1 อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน จำนวน 2,331 หมู่บ้าน อาสาสมัคร หมู่บ้านละ 1 คน

ที่

สถานศึกษา

ตำบล

จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด

      อาสาสมัคร

       ส่งเสริมการอ่าน

1

กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

18

269

269

2

กศน.อำเภอกระนวน

9

93

93

3

กศน.อำเภอเขาสวนกวาง

5

56

56

4

กศน.อำเภอชนบท

8

80

80

5

กศน.อำเภอชุมแพ

12

147

147

6

กศน.อำเภอน้ำพอง

12

167

167

7

กศน.อำเภอบ้านไผ่

10

147

147

8

กศน.อำเภอบ้านฝาง

7

74

74

9

กศน.อำเภอพระยืน

5

46

46

10

กศน.อำเภอพล

12

132

132

11

กศน.อำเภอภูเวียง

11

114

114

12

กศน.อำเภอมัญจาคีรี

8

116

116

13

กศน.อำเภอแวงน้อย

6

74

74

14

กศน.อำเภอแวงใหญ่

5

50

50

15

กศน.อำเภอสีชมพู

10

107

107

16

กศน.อำเภอหนองเรือ

10

149

149

17

กศน.อำเภอหนองสองห้อง

12

135

135

18

กศน.อำเภออุบลรัตน์

6

68

68

19

กศน.อำเภอเปือยน้อย

4

32

32

20

กศน.อำเภอภูผาม่าน

5

41

41

21

กศน.อำเภอซำสูง

5

34

34

22

กศน.อำเภอหนองนาคำ

3

34

34

23

กศน.อำเภอโคกโพธิ์ไชย

4

40

40

24

กศน.อำเภอบ้านแฮด

4

45

45

25

กศน.อำเภอโนนศิลา

5

45

45

26

กศน.อำเภอเวียงเก่า

3

36

36

 

รวม

199

2,331

2,331

 

หมายเหตุ:- อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน จำนวน 2,331 หมู่บ้าน อาสาสมัคร หมู่บ้านละ 1 คน

              - ที่มาข้อมูลจำนวน หมู่บ้าน จากที่ทำการปกครองจังหวัดขอนแก่น ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

       4.2  เสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชน

    จัดตั้งและดำเนินการส่งเสริมการอ่านในรูปแบบบ้านหนังสืออัจฉริยะ ร้อยละ 50 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด

ที่

สถานศึกษา

ตำบล

จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด

หมู่บ้านหนังสือ

(ร้อยละ 50

ของหมู่บ้านทั้งหมด)

1

กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

18

269

135

2

กศน.อำเภอกระนวน

9

93

46

3

กศน.อำเภอเขาสวนกวาง

5

56

28

4

กศน.อำเภอชนบท

8

80

40

5

กศน.อำเภอชุมแพ

12

147

74

6

กศน.อำเภอน้ำพอง

12

167

84

7

กศน.อำเภอบ้านไผ่

10

147

74

8

กศน.อำเภอบ้านฝาง

7

74

37

9

กศน.อำเภอพระยืน

5

46

23

10

กศน.อำเภอพล

12

132

66

11

กศน.อำเภอภูเวียง

11

114

57

12

กศน.อำเภอมัญจาคีรี

8

116

58

13

กศน.อำเภอแวงน้อย

6

74

37

14

กศน.อำเภอแวงใหญ่

5

50

25

15

กศน.อำเภอสีชมพู

10

107

54

16

กศน.อำเภอหนองเรือ

10

149

75

17

กศน.อำเภอหนองสองห้อง

12

135

68

18

กศน.อำเภออุบลรัตน์

6

68

34

19

กศน.อำเภอเปือยน้อย

4

32

16

20

กศน.อำเภอภูผาม่าน

5

41

21

21

กศน.อำเภอซำสูง

5

34

17

22

กศน.อำเภอหนองนาคำ

3

34

17

23

กศน.อำเภอโคกโพธิ์ไชย

4

40

20

24

กศน.อำเภอบ้านแฮด

4

45

23

25

กศน.อำเภอโนนศิลา

5

45

23

26

กศน.อำเภอเวียงเก่า

3

36

18

 

รวม

199

2,331

1,170

 

       4.3  จัดหน่วยบริการห้องสมุดเคลื่อนที่

              จัดหน่วยบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ให้บริการ จำนวน 100 ครั้ง โดยคัดเลือกพื้นที่ให้บริการเป้าหมายที่เป็น กศน.ตำบล ร้อยละ 50 ของกศน.ตำบลของแต่ละอำเภอ

ที่

สถานศึกษา

ตำบล

กศน.ตำบลเป้าหมาย

(ร้อยละ 50 ของ กศน.ตำบลทั้งหมด)

1

กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

18

9

2

กศน.อำเภอกระนวน

9

5

3

กศน.อำเภอเขาสวนกวาง

5

3

4

กศน.อำเภอชนบท

8

4

5

กศน.อำเภอชุมแพ

12

6

6

กศน.อำเภอน้ำพอง

12

6

7

กศน.อำเภอบ้านไผ่

10

5

8

กศน.อำเภอบ้านฝาง

7

3

9

กศน.อำเภอพระยืน

5

3

10

กศน.อำเภอพล

12

6

11

กศน.อำเภอภูเวียง

11

5

12

กศน.อำเภอมัญจาคีรี

8

4

13

กศน.อำเภอแวงน้อย

6

3

14

กศน.อำเภอแวงใหญ่

5

2

15

กศน.อำเภอสีชมพู

10

5

16

กศน.อำเภอหนองเรือ

10

5

17

กศน.อำเภอหนองสองห้อง

12

6

18

กศน.อำเภออุบลรัตน์

6

3

19

กศน.อำเภอเปือยน้อย

4

2

20

กศน.อำเภอภูผาม่าน

5

2

21

กศน.อำเภอซำสูง

5

2

22

กศน.อำเภอหนองนาคำ

3

2

23

กศน.อำเภอโคกโพธิ์ไชย

4

2

24

กศน.อำเภอบ้านแฮด

4

2

25

กศน.อำเภอโนนศิลา

5

3

26

กศน.อำเภอเวียงเก่า

3

2

 

รวม

199

100


5.  จุดเน้น: ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน

          5.1  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน กศน.ตำบล จำนวน 199 แห่ง ครบทุกตำบล

ที่

สถานศึกษา

กศน.ตำบล

1

กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

18

2

กศน.อำเภอกระนวน

9

3

กศน.อำเภอเขาสวนกวาง

5

4

กศน.อำเภอชนบท

8

5

กศน.อำเภอชุมแพ

12

6

กศน.อำเภอน้ำพอง

12

7

กศน.อำเภอบ้านไผ่

10

8

กศน.อำเภอบ้านฝาง

7

9

กศน.อำเภอพระยืน

5

10

กศน.อำเภอพล

12

11

กศน.อำเภอภูเวียง

11

12

กศน.อำเภอมัญจาคีรี

8

13

กศน.อำเภอแวงน้อย

6

14

กศน.อำเภอแวงใหญ่

5

15

กศน.อำเภอสีชมพู

10

16

กศน.อำเภอหนองเรือ

10

17

กศน.อำเภอหนองสองห้อง

12

18

กศน.อำเภออุบลรัตน์

6

19

กศน.อำเภอเปือยน้อย

4

20

กศน.อำเภอภูผาม่าน

5

21

กศน.อำเภอซำสูง

5

22

กศน.อำเภอหนองนาคำ

3

23

กศน.อำเภอโคกโพธิ์ไชย

4

24

กศน.อำเภอบ้านแฮด

4

25

กศน.อำเภอโนนศิลา

5

26

กศน.อำเภอเวียงเก่า

3

 

รวม

199

 

หมายเหตุ: พัฒนา กศน.ตำบลให้ได้รับมาตรฐานอยู่ในระดับดีขึ้นไป อย่างน้อย ร้อยละ 80


6.  จุดเน้น: ด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ

6.1  กิจกรรมโครงการพระราชดำริฯ

สถานศึกษา

โครงการ/กิจกรรม

พื้นที่

จำนวนเป้าหมาย(คน)

กศน.อำเภอสีชมพู

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 

โครงการศูนย์ศิลปาชีพโสกส้มกบ  

อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

(1) กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
(2) กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
(3) กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

บ้านโสกส้มกบ

อำเภอสีชมพู

จังหวัดขอนแก่น

 

 

 

 

(1) 140 คน
(2) 140 คน
(3) 140 คน

กศน.อำเภอกระนวน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ศูนย์ฝึกอาชีพนักเรียนเก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)ภาค 2

(1) กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

บ้านห้วยยาง

อำเภอกระนวน

จังหวัดขอนแก่น

 

 

 

 

 

(1) 140 คน

กศน.

อำเภอหนองสองห้อง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โครงการพัฒนาการเกษตรและโภชนาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามพระราชดำริฯ

(1) กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

อำเภอหนองสองห้อง  จังหวัดขอนแก่น

 

 

 

 

(1) 150 คน

กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ 
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์
พระวรชายา ฯ

โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว

     (1) กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

     (2) กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
     (3) กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
     (4) กิจกรรมจัดหาสื่อหนังสือ

บ้านหนองหัววัว

ต.โคกสี อ.เมือง

จ.ขอนแก่น

 

 

 

 

(1) 50 คน

(2) 50 คน
(3)  50 คน
(4)  100 คน

 

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อผู้ป่วย
ในโรงพยาบาล  อำเภอเมืองขอนแก่น

กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

โรงพยาบาลขอนแก่น

อ.เมือง จ.ขอนแก่น

 

820 คน





6.2  การศึกษาต่อเนื่องกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

ที่

สถานศึกษา

(1)

กลุ่มผู้สูงอายุ

(2)

กลุ่ม

เด็กเร่ร่อน

(3)

กลุ่มผู้พิการ

(กศ.พื้นฐาน)

(4)

กลุ่มเด็กออกกลางคัน

 

ประถม  

ม.ต้น

ม. ปลาย


1

กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

100

130

120


21

435

31

2

กศน.อำเภอกระนวน

100

-

-

1

26

-

3

กศน.อำเภอเขาสวนกวาง

100

-

-

-

-

-

4

กศน.อำเภอชนบท

100

-

-

-

-

-

5

กศน.อำเภอชุมแพ

100

-

-

-

-

-

6

กศน.อำเภอน้ำพอง

100

-

-

-

-

-

7

กศน.อำเภอบ้านไผ่

100

-

-

-

-

-

8

กศน.อำเภอบ้านฝาง

100

-

-

-

-

-

9

กศน.อำเภอพระยืน

100

-

29

-

-

-

10

กศน.อำเภอพล

100

-

-

-

-

-

11

กศน.อำเภอภูเวียง

100

-

-

-

-

-

12

กศน.อำเภอมัญจาคีรี

100

-

-

-

-

-

13

กศน.อำเภอแวงน้อย

100

-

-

-

-

-

14

กศน.อำเภอแวงใหญ่

100

-

-

-

-

-

15

กศน.อำเภอสีชมพู

100

-

-

-

-

-

16

กศน.อำเภอหนองเรือ

100

-

-

-

-

-

17

กศน.อำเภอหนองสองห้อง

100

-

-

-

-

-

18

กศน.อำเภออุบลรัตน์

100

-

-

-

-

-

19

กศน.อำเภอเปือยน้อย

100

-

-

-

-

-

20

กศน.อำเภอภูผาม่าน

100

-

-

-

-

-

21

กศน.อำเภอซำสูง

100

-

-

-

-

-

22

กศน.อำเภอหนองนาคำ

100

-

-

-

-

-

23

กศน.อำเภอโคกโพธิ์ไชย

100

-

-

-

-

-

24

กศน.อำเภอบ้านแฮด

100

-

-

-

-

-

25

กศน.อำเภอโนนศิลา

100

-

-

-

-

-

26

กศน.อำเภอเวียงเก่า

100

-

-

-

-

-

รวม

2,600

130

149

22

461

31

 

 2.  นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น  
ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 255
6

 

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่สนองนโยบายจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน.  แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  สำนักงาน  กศน. จังหวัดขอนแก่น  โดยมีนโยบายและจุดเน้นจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพได้ทุกที่ทุกเวลา อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ การมีอาชีพและการมีความสามารถเชิงการแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน


นโยบายเร่งด่วน

1.  ยกระดับการศึกษาประชาชนให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือน อย่างมีคุณภาพ

1.1  ส่งเสริมสถานศึกษาพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการเทียบระดับ  และการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่  6  ภายใน  8  เดือน  อย่างมีคุณภาพ

1.2  ส่งเสริมสถานศึกษาที่เป็นศูนย์เทียบระดับดำเนินการประเมินเทียบระดับศึกษาและประสบการณ์  เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน  ให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่  6  ภายใน  8  เดือน  อย่างมีคุณภาพให้ได้อย่างน้อย  18  คน

1.3  ส่งเสริมสถานศึกษาซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติการประเมินเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับการศึกษาและเข้ารับบริการการประเมินเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

2.  เร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพหลักสูตร OTOP Mini MBA สู่ชุมชน

                2.1  ส่งเสริมให้จัดฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตร  OTOP  Mini  MBA   ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  อย่างน้อย  จำนวน  1  กลุ่ม  ๆ  ละ  อย่างน้อย  40  คน

2.2  พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้สามารถนำไปใช้สนับสนุนการดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตร  OTOP  Mini  MBA  ของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.3  พัฒนาสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตร  OTOP  Mini  MBA   ให้มีความหลากกหลายและครบถ้วนเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนและการปฏิบัติจริง

               2.4  พัฒนาครูและวิทยากรผู้สอนหลักสูตร  OTOP  Mini  MBA   โดยความร่วมมือระหว่าง  กศน.กับเครือข่าย  เช่น  ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นต้น

3.  เปิดโลก กศน. สู่ กศน.อินเตอร์ เพื่อประชาคมอาเซียน

            3.1  ส่งเสริมให้ครูศึกษาและจัดทำหลักสูตร  สื่อ  แบบเรียน  และเครื่องมือการวัดผลประเมินผลการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษ

            3.2  พัฒนาครูและผู้เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            3.3  ส่งเสริม  สนับสนุนจัดให้มีห้องเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษ  จำนวน  1  ห้องเรียน  นักศึกษาอย่างน้อย  จำนวน  30  คน                                 

            3.4  ส่งเสริม  สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาและจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษ

            3.5  จัดการศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรระยะสั้น  ภาษาอังกฤษ  ภาษาจีน  และภาษาอาเซียนอื่น  ให้กับกลุ่มเป้าหมายคนขับรถแท็กซี่  รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง  รถรับรับจ้าง  แม่ค้า  จำนวน 2 กลุ่ม  มีผู้รับบริการ  อย่างน้อยกลุ่มละ  10  คน   

            3.6  พัฒนาระบบการนิเทศ  ติดตาม  และการวัดและประเมินผลการศึกษา  เพื่อการพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับผู้เรียน

4.
 เสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชน

4.1  ประสานหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่าย โรงเรียนในระบบ จัดให้มีระบบส่งเสริมสนับสนุน  กศน.ตำบล  ดำเนินการสำรวจความต้องการหนังสือของกลุ่มเป้าหมาย  โดยมุ่งตอบสนองความต้องการและความสนใจให้ครอบคลุมและทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

4.2  เร่งพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เรียนและประชาชนให้สามารถอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนคนขอนแก่นได้รับการพัฒนาขีดความสามารถทางการอ่านเพิ่มขึ้น

4.3  จัดหาหนังสือดีมีคุณภาพและจัดมุมส่งเสริมการอ่านและจัดหาหนังสือตามที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน  372  แห่ง     

4.4  กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น จัดให้มีระบบส่งเสริมสนับสนุน  กศน.ตำบล  ดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมสร้างอัจฉริยะของเด็กและเยาวชน  และเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของประชานทุกกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  282  หมู่บ้าน



5.  เร่งรัดจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ

5.1  ส่งเสริมสนับสนุนและประสานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  และชุมชนในพื้นที่ร่วมดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนที่เน้นการจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติเชิงบูรณาการของชุมชน  อย่างน้อย  81  ชุมชน

          5.2  ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย หน่วยงานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องร่วมจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับประชาชน เพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่กับสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ  และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติ ๆ  ในพื้นที่  ได้อย่างสมดลและมีความสุข

6.  เร่งรัดพัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติดตาม และนิเทศเพื่อการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

6.1  จัดทำแผนการนิเทศติดตามประเมินผล แบบนิเทศ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และแบบรายงานการนิเทศ งานการศึกษานอกโรงเรียนอย่างชัดเจน

6.2  แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศของ กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นเพื่อนิเทศงานการศึกษานอกโรงเรียน พร้อมรายงานผลการนิเทศต่อหัวหน้าสถานศึกษา      

นโยบายต่อเนื่อง

1.      นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ

1.1  จัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  1)  ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อตำราเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าเล่าเรียนอย่างทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จำนวน  9,832  คน

  2)  จัดหาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพตามที่สำนักงาน กศน. ให้การรับรองคุณภาพให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งจัดให้มีระบบหมุนเวียนตำราเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการตำราเรียนอย่างเท่าเทียมกัน

  3)  จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชาชนวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ

  4)  พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น ให้มีความครบถ้วน ถูกต้องทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบถามได้ตามความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน

  5)  จัดให้มีวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะเกี่ยวกับสาระและวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          1.2  การส่งเสริมการรู้หนังสือ

  1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่ให้มีความครบถ้วน ถูกต้องทันสมัย

  2)  พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผล และเครื่องมือการดำเนินงานสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือให้สอดคล้อง กับสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

  3) เพิ่มศักยภาพครู กศน.และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ

  4) มุ่งเน้นให้ กศน.ตำบล ศูนย์การเรียนชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ  การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ สำหรับให้ประชาชนได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้

  5) พัฒนาระบบการประเมินผลระดับการรู้หนังสือให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

         1.3  การศึกษาต่อเนื่อง

1.3.1  มุ่งจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ใน 5  กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย อาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และกลุ่มอำนวยการและอาชีพเฉพาะทางที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ความสามารถ เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพและทักษะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์และสร้างรายได้จริง โดยจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ สามารถสร้างรายได้ เป้าหมาย กศน.ตำบลละ 5  คน รวมทั้งสิ้น 90  คน

1.3.2  การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพอื่น ๆ (ระยะสั้น ไม่เกิน 30 ชั่วโมง)  กศน.ตำบลละ 30 คน รวมทั้งสิ้น  540  คน

               1.3.3  มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยจัดกิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน พื้นที่ 18 ตำบล ตำบลละ 60 คน รวมทั้งสิ้น 1,080 คน

               1.3.4  มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนโดยใช้รูปแบบการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่นๆ  ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย สร้างความสามัคคี ความปองดอง ความเป็นพลเมืองดี  เศรษฐกิจชุมชน การอนุรักษ์พัฒนาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน และหลักสูตรเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ 18  ตำบลละ 30  คน รวมทั้งสิ้น  540  คน

          1.3.5  จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้รูปแบบการฝึกอบรมการเข้าค่ายการประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปพัฒนาสังคมและชุมชน พื้นที่ 18 ตำบล  ตำบลละ 40  คน รวมทั้งสิ้น  720  คน

          1.4  การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

              1.4.1   เร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนใหม่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและมาตรฐานของหลักสูตรได้ครบ 80 %          

                 1)  ระดับประถมศึกษา เน้นให้มีการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ใฝ่ดี มีวินัย มีความรับผิดชอบ,อ่านคล่องเขียนคล่อง มีทักษะในการคิดขั้นพื้นฐาน มีทักษะชีวิตเพื่อการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ใฝ่ดี ใฝ่รู้ มีจิตสาธารณะ

                 2)  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีทักษะการคิดชั้นสูง การแก้ไขปัญหา การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและอยู่อย่างพอเพียง

                 3)  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยี การรักการเรียนรู้ การค้นพบตัวเอง การแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง

            1.4.2  จัดอบรมครูในการจัดทำแผนการเรียนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล อย่างน้อย 2 ครั้ง

            1.4.3  ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการและสภาพของกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย ตำบลละ 1 หลักสูตร  รวม  16  หลักสูตร

            1.4.4  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสื่อ เอกสารประกอบการเรียนรู้ ประกอบหลักสูตร อย่างน้อย 2  ครั้ง

            1.4.5  มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  มีผลสัมฤทธิ์ในสาระความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

          1.5  การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

             1.5.1  จัดให้มีการจัดทำการประกันคุณภายใน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

   1.5.2  จัดทำรายงานการประเมินตนเองปีงบประมาณ  2556

             1.5.3  ให้ความรู้เรื่องการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง  ระดับตำบล

2.  นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

            2.1  การส่งเสริมการอ่าน

                  2.2.1  การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

                   1)  ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านโดยจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในทุกหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือ วัด และโรงเรียน ในระบบ เป็นเครือข่ายส่งเสริมการอ่านในระดับชุมชน

                       1.1)  รับสมัครอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านระดับอำเภอ อย่างน้อยหมู่บ้านละ 5 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,410 คน (282X5=1,410)

                       1.2)  รับสมัครอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านระดับตำบล ตำบลละ 10  คนรวมทั้งสิ้น 180 คน (8X10=180)

                       1.3)  จัดอบรมแกนนำส่งเสริมการอ่าน อย่างน้อย 1 ครั้ง

                       1.4)  ติดตามผลการดำเนินงานของอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน อย่างน้อย 2 ครั้ง

                    2)  ให้มีสมัชชา เครือข่ายส่งเสริมการอ่านจังหวัดขอนแก่น ส่งเสริม สนับสนุน ให้สมัชชาดำเนินงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

                                    2.1)  จัดประชุมสัมมนาสมัชชาเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน อย่างน้อย 2 ครั้ง ผู้เข้าร่วมสมัชชา  ไม่น้อยกว่า 250  คน

                                    2.2)  ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และชุมชน ของจังหวัดขอนแก่น ร่วมรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน โดยประชาสัมพันธ์และสร้างกระแสการอ่านให้หน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่าย เห็นความสำคัญของการอ่าน  จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน อย่างน้อย จำนวน 2 กิจกรรม/1 หน่วยงาน

 2.1.2  การพัฒนาขีดความสามารถด้านการอ่าน

                    1)  ส่งเสริมการรู้หนังสือให้กับคน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ ประชาชนทั่วไป และผู้บกพร่องทางด้านร่างกาย โดยส่งเสริมการรู้หนังสืออย่างต่อเนื่อง

                    2)  ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสื่อนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่าน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำสื่อนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่าน อย่างน้อย 44 นวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีการจัดประกวดสื่อนวัตกรรมดีเด่น

                    3)  ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการวิจัยพัฒนาเพื่อส่งเสริมการอ่าน โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่าน ผลงานวิจัย  อย่างน้อย 5 เรื่อง

               2.1.3  การสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศแห่งการอ่าน

                    1)  พัฒนาห้องสมุดโรงเรียน/ห้องสมุดประชาชน กศน.ตำบล หรือศูนย์การเรียนชุมชน แหล่งการอ่าน สนองความต้องการของกลุ่มผู้อ่านในพื้นที่ โดยจัดประกวดห้องสมุดมีชีวิตในระดับระดับสถานศึกษา จัดประกวดมุมหนังสือ 3 ประเภท ได้แก่ 

                           (1)  มุมหนังสือในสถานประกอบการ 

                           (2)  มุมหนังสือในสถานที่ราชการ และ

                           (3)  มุมหนังสือในบ้าน

                     2)  สนับสนุนการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์ ที่สนับสนุนการอ่าน พัฒนาเว็บไซต์ชุมชนนักอ่าน ส่งเสริมและสนับสนุนห้องสมุดจัดทำเว็บไซต์ชุมชนนักอ่าน และมีการประกวดเว็บไซต์ชุมชนนักอ่าน มีเว็บไซต์ชุมชนนักอ่าน 18  ตำบล

                     3)  ส่งเสริมการให้หน่วยงานจัดจุดบริการการอ่านในระดับหน่วยงาน อย่างน้อย หน่วยงานละ 1 จุดบริการ พร้อมทั้งมีการประกวดมุมหนังสือในระดับหน่วยงาน

                     4)  จัดหาหนังสือ มีการจัดหาหนังสือดี เพื่อคนขอนแก่น โดยการประชาสัมพันธ์รับบริจาคเงินเพื่อจัดหาหนังสือที่มีคุณภาพเข้าสู่ห้องสมุดประชาชนประจำอำเภอ/ที่อ่านหนังสือประจำตำบล และแหล่งเรียนรู้ อัตราการเพิ่มขึ้นหนังสือใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

                     5)  การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด/ที่อ่านหนังสือประจำตำบล/จุดบริการการอ่าน มีการประชาสัมพันธ์ทั้งทางวิทยุ หอกระจายเสียงตามหมู่บ้าน และอื่น ๆ พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านตามจุดบริการอย่างสม่ำเสมอและมีรูปแบบที่หลากหลาย อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้รับบริการ ร้อยละ 15 (จากเดิมมีผู้รับบริการ 30 คน/วัน)

                     6)  จัดตั้งคณะกรรมการคัดกรองหนังสือ

                       6.1)  มีการจัดตั้งคณะกรรมการคัดกรองหนังสือระดับจังหวัด โดยให้สำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่นเป็นกรรมการและเลขานุการ มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศรายชื่อหนังสือดีจากหน่วยงานที่ดำเนินการคัดกรองและเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ขอรับหนังสือเพื่อคัดกรองจากสำนักพิมพ์

                           6.2)  จัดทำข้อมูลสารสนเทศรายชื่อหนังสือดี  และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศให้กับประชาชนได้รับทราบ

               2.1.4  การสร้างนิสัยรักการอ่าน

                     1)  ประชาสัมพันธ์รณรงค์ส่งเสริมการอ่าน ติดป้ายประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการอ่านทุก กศน.ตำบล ศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนคนขอนแก่นมีความสนใจในการอ่านเพิ่มขึ้น

                     2)  สร้างนิสัยรักการอ่าน มีการประชาสัมพันธ์ จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่เพื่อจัดกิจกรรม แก่ประชาชนทั่วไป จัดกิจกรรมภายใน  ห้องสมุดประชาชน กศน.ตำบล ศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านแก่ผู้เรียน โดยจัดกิจกรรมสร้างนิสัยรักการอ่าน ในแต่ละแห่ง ไม่น้อยกว่า 5  กิจกรรม

                      3)  ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างวิถีชีวิตการอ่านในครอบครัว โดยการประสานงานขอความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถึงแนวทางการจัดทำโครงการมอบหนังสือเล่มแรกให้กับเด็กแรกเกิด ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย ๓๖ ครอบครัว
           
2.1.5   การติดตามและประเมินผล

                    1) หน่วยงานองค์กรทุกแห่ง ที่ส่งเสริมการอ่านดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานมีการติดตามผลการดำเนินงาน ๒ เดือน/๑ครั้ง และจัดประชุมติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน อย่างน้อย  2 ครั้ง

             2.2  ห้องสมุดประชาชน

                       2.2.1  มุ่งเน้นพัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน เป็นแหล่งค้นคว้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และการสร้างความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำนวน 26  แห่ง

                 2.2.2  จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ สำหรับให้บริการในห้องสมุดประชาชน

                 2.2.3  จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเองของประชาชน เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการปฏิบัติ

                 2.2.4  จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง 18 ตำบล และสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพของประชาชนและชุมชน

                 2.2.5  พัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการของห้องสมุดประชาชน ให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้บริการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุด อย่างน้อย 2  ครั้ง

                 2.2.6  แสวงหาภาคีเครือข่ายให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน
3.  นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน

              3.1  พัฒนา กศน.ตำบล ให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน จำนวน 18  แห่ง

                  3.1.1  จัดหาหนังสือและสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ เทคโนโลยี ที่มีคุณภาพในรูปแบบและสาระที่หลากหลาย ทันสมัย ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาชุมชน และการสร้างความบันเทิง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความสุขในชีวิตให้กับประชาชนในชุมชน

                  3.1.2  จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชิงรุกที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการจัดการศึกษาผ่านทีวีสาธารณะ การฝึกอาชีพ การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  การป้องกันภัยพิบัติ การศึกษาการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตย การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และความจำเป็นเร่งด่วนต่าง ๆ ของแต่ละชุมชน

                  3.1.3  เร่งรัดให้ กศน.ตำบล  ศูนย์การเรียนชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และส่งเสริมให้มีกลุ่มส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนรักการอ่าน โดยใช้อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบ ต่าง ๆ ในชุมชน โดยดำเนินงานเป็นทีมร่วมกับครู กศน.ตำบล 18 แห่ง และศูนย์การเรียนชุมชนทุกแห่ง

             3.2  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกระดับ มีการทำข้อตกลงร่วมมือ (MOU) กับเครือข่าย อย่างน้อย 2  เครือข่ายต่อภาคเรียน

              3.3   อาสาสมัคร กศน.

                   3.3.1  ส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้าราชการบำนาญเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน. โดยเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยทำงานเป็นทีมร่วมกับครูในสังกัดสำนักงาน กศน.  จำนวนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ตำบลละ 10 คน (18 ตำบล X 10 คน = 180 คน)

                   3.3.2  ส่งเสริมให้อาสาสมัคร กศน. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้จัด และผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างน้อยจำนวน 2  ครั้ง

                   3.3.3  เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในรูปแบบต่าง ๆ แก่อาสาสมัคร กศน. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ  และยั่งยืน อย่างน้อยจำนวน 2 ครั้ง

              3.4  การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน

                   3.4.1  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนโดยใช้ กศน.ตำบล 18 แห่ง ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                   3.4.2  ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนโดยการจัดทำแผนชุมชน จัดเวทีชาวบ้าน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/ตำบล ๆละ 20  กลุ่ม การศึกษาดูงาน อย่างน้อย 2  ครั้ง  การฝึกอบรม อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อนำความรู้ไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน

                   3.4.3  ส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้ในชุมชนให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรต่าง ๆ ของ กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น โดยคำนึงถึงการประกอบอาชีพและการมีงานทำของผู้เรียนที่แท้จริง เพื่อประโยชน์ในการมีงานทำและการเทียบโอนความรู้  และประสบการณ์

                   3.4.4  ส่งเสริมให้มีการขยายและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยให้มีการจัดทำ และเผยแพร่สื่อเพื่อการธำรงรักษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน จำนวน  42 แห่ง

                   3.4.5  พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน

4.  นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ

                4.1  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                     ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเนื่องจากพระราชวงศ์อย่างมีคุณภาพและเกิดผลโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

                       4.1.1  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  เพื่อผู้ป่วยเรื้อรัง  (โครงการหนังสือข้างเตียง)

                       4.2.1  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ   ได้จัดโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวบ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี  อำเภอเมืองขอนแก่น ดังนี้

                               1)  กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 50 คน

                               2)  กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 50 คน

                               3)  กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จำนวน  50  คน 

                               4)  กิจกรรมจัดหาสื่อหนังสือ  จำนวน 100  คน 

                                                รวมทั้งสิ้น จำนวน  250  คน

                        4.2.2  จัดทำฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน. ที่สนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                 4.2  โครงการส่งเสริมและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา

                        4.2.1  มีการสำรวจและรายงานสภาพการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา

                        4.2.2  สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและส่งเสริมให้มีการบำบัดสำหรับผู้ติดยาเสพติดโดยมีกิจกรรมป้องกันยาเสพติดอย่างน้อย ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ปีละ 4 ครั้ง/สถานศึกษา เช่น กิจกรรมบ้านหลังเรียน   เป็นต้น

                 4.3  การส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

                        4.3.1  ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้แก่

                                1)  จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ  จำนวน 120  คน

                                2)  จัดการศึกษาสำหรับ เด็กด้อยโอกาส คนเร่ร่อน จำนวน 130  คน 

                                3)  จัดการศึกษาพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 150  คน

                                4)  จัดการศึกษาสำหรับเด็กออกกลางคัน จำนวน 487  คน

                        4.3.2  พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรม ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายพิเศษแต่ละกลุ่ม

5.  นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

          5.1  ส่งเสริมให้มีการบริการ ใช้ประโยชน์จาก ETV และสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ

          5.2  พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ได้หลายช่องทางทั้งทางอินเทอร์เน็ต และรูปแบบอื่น ๆ เช่น DVD,CD,VCD, และ MP3 เป็นต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้บริการได้ตามความต้องการ ห้องสมุดประชาชน 1  แห่ง

6.  นโยบายด้านการบริหารจัดการ

          6.1  การพัฒนาบุคลากร

                 6.1.1  พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน และมีความสามารถในการบริหารจัดการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนให้เป็นศูนย์กลางในการฝึกและสร้างอาชีพที่มั่นคง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยจัดให้มีการอบรมพัฒนาบุคลากร อย่างน้อย  2 ครั้ง/ภาคเรียน

                           1)  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ภาคเรียน

                           2จัดการพัฒนาบุคคลากรด้านการใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศ

                           3)  จัดอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา/ แผนการเรียนรู้รายภาค /การวัดและประเมินผล

                                 4)  จัดอบรมเรื่องการจัดทำการศึกษาวิจัยในชั้นเรียน

                                 5)  จัดอบรมการจัดทำแผนงบประมาณ/แผนปฏิบัติการ กศน.ตำบล

                                 6)  จัดประชุมบุคลากรประจำสัปดาห์ (ทุกวันพฤหัสบดีของสัปดาห์)

                                 7)  จัดการอบรมการจัดทำการบริหารจัดการเว็บไซต์และ การใช้โปรแกรม

                                 8)  จัดทัศนศึกษาดูงาน

                  6.1.2  จัดอบรม สัมมนาผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ อย่างน้อย 3 ครั้ง

                  6.1.3  พัฒนาหัวหน้า กศน.ตำบลให้มีสมรรถนะสูงขึ้นในการบริหารจัดการ กศน.ตำบล และการปฏิบัติงาน ตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเป็นนักจัดการความรู้และผู้อำนวยความสะดวกการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง อย่างน้อย 2  ครั้ง

                  6.1.4  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กศน.ตำบล เพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ กศน.ตำบล อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 2  ครั้ง

                  6.1.5  พัฒนาอาสาสมัคร กศน.ตำบล ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล ที่มีคุณภาพ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง

                   6.1.6  เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากร รวมทั้งภาคีเครือข่ายในทุกระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร และภาคีเครือข่ายในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เช่น ประชุม  อบรมสัมมนา มหกรรมกีฬา กศน. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง

                   6.1.7  จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา  คณะกรรมการ กศน.ตำบล ภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาท ภารกิจของคณะกรรมการฯ และภาคีเครือข่าย      

            6.2  การกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผล

                   6.2.1  การติดตาม ตรวจเยี่ยม และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย สำนักงาน กศน. อย่างน้อย  3  เดือน 1  ครั้ง

                   6.2.2  สถานศึกษานิเทศกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อยกิจกรรมละ 1  ครั้ง

            6.3    โครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง

                   6.3.1   จัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการปรับปรุงสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา

                   6.3.2  ระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมสำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน

                   6.3.3  แสวงหาภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                   6.3.4  บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน

         6.3.5   ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจัดจ้างลูกจ้าง สำหรับปฏิบัติงานใน

สถานศึกษาและสำนักงาน กศน.จังหวัด

            6.4   การพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูล

                   6.4.1  ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานและสถานศึกษา

                   6.4.2  พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง เป็นระบบเพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องถือสำคัญในการบริหาร และจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

                   6.4.3  สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของ กศน.ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีการงานทำ เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคม  เห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของ กศน.ทั้งในฐานะผู้รับบริการ ผู้จัด ผู้ส่งเสริม   และสนับสนุนการดำเนินงานของ กศน.

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมหรือปัจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การ

1. ปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมภายนอก (Eritrean  Factor)

ด้านจุดแข็ง  (Strength)

  1.  มีเครือข่ายให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม เช่น องค์กรในชุมชน เอกชน อบต. วัด 

          2.  มีแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในชุมชน
          3.  มีนักศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปีการศึกษา
            4.  มีเครื่องมือ  อุปกรณ์  ครุภัณฑ์ทางการเรียนการสอนรวมทั้งวิทยาการเทคโนโลยี สมัยใหม่ เพื่อให้บริการกับกลุ่มเป้าหมาย ให้ทันต่อเหตุการณ์
         
 5.  มีอาสาสมัคร กศน.ทำงานร่วมกันในพื้นที่ทำงานแบบจิตอาสาร่วมกับ ครูศูนย์การเรียนชุมชน      6.  มีบุคลากร กศน.ทีมีคุณภาพ มีความสามารถ และเป็นคนในพื้นที่ จึงทำงานใกล้ชิดประชาชนได้ดี
           7.  มีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง
          8.  กลุ่มเป้าหมายมีช่องทางการเข้าถึงเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ โทรทัศน์
           9.  กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น มีสื่อให้บริการที่หลากหลาย เช่น CD  VCD  DVD  
          10.  มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสาร  วารสาร “ฟ้าหลังฝน”  ทางวิทยุ  และทาง Website
www.nfe-maungkhonkaen.com
          11.  ชุมชนมีการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์

ด้านจุดอ่อน  (Weakness)

 1.  เครือข่ายในบางตำบลให้ความสำคัญและความร่วมมือน้อย
          2. ประชาชน/ชุมชน ใช้ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมไม่คุ้มค่า ทุนทางสังคมถูกละเลยเช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น
           3.  มีความเจริญทางเทคโนโลยี กลุ่มเป้าหมายตามไม่ทัน เนื่องจากขาดความรู้ ขาดการพัฒนาตนเอง
          4.  ประชาชนมีรายได้ไม่แน่นอน
          5.  งบประมาณมีไม่เพียงพอต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
           6.  การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
           7. ชุมชนบางแห่งอยู่ในที่ห่างไกลความเจริญวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่สามารถใช้ได้ในบางจุด จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานด้านข้อมูลสารสนเทศ
          8.  ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วม

ด้านโอกาส (Opportunity)

 1.  หน่วยงาน องค์กร เครือข่าย  บุคคล ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในงาน กศน.
          2.  ประชาชนมีความสนใจกับงานการศึกษานอกโรงเรียน

 3.  เส้นทางการคมนาคมสะดวกต่อการเดินทาง
          4.  มีช่องทางการประชาสัมพันธ์งาน กศน. ต่อชุมชนที่หลากหลาย
           5.  ชุมชนมีการรวมกลุ่มเป็นพลังชุมชนในการพัฒนางาน กศน.ในพื้นที่ได้ดี เนื่องจากนักศึกษาบางส่วนเป็นผู้นำชุมชน
           6.  มีการประสานงานกับผู้นำชุมชนอย่างต่อเนื่อง
          7.  มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการลงสู่ชุมชนอย่างทั่วถึง  โดยใช้ กศน.ตำบลในการขับเคลื่อนกิจกรรม กศน.ในพื้นที่
           8.  การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีความยืดหยุ่นทั้งด้าน
สถานที่ เวลา  วิธีการเรียน การสอน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในขบวนการการจัดการเรียนการสอน
           
9.  นโยบายรัฐบาล ทำให้ประชาชนตื่นตัว เห็นความสำคัญของการศึกษา เช่นกลุ่มผู้นำชุมชน  กลุ่ม อสม.

ด้านอุปสรรค (Treat)

 1.  ผู้รับบริการบางส่วนมีเวลาว่างในการร่วมกิจกรรมไม่ตรงกัน เนื่องจากภาระทางเศรษฐกิจในครอบครัว เป็นอุปสรรคต่อการร่วมกิจกรรม
           2.  กิจกรรมกลุ่มอาชีพบางกิจกรรม มีการพัฒนาด้านการตลาดน้อย เพราะงบประมาณมีจำกัด
           3.  งบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อจะให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่
           4.  จุดให้บริการทางด้านเทคโนโลยีบางแห่งยังขาดแคลนเมื่อเทียบกับความต้องการรับบริการ
           5.  กฎหมาย  ระเบียบ  การปฏิบัติ  หลักเกณฑ์  บางอย่างยังไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก  จึงทำให้งานล่าช้ามีขั้นตอนต่าง ๆ  มากมาย  ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน
           6.  การเมืองและการปกครอง  ขณะนี้ยังผันผวนจึงทำให้เกิดผลกระทบต่อระเบียบกฎหมายทางด้านการศึกษานอกโรงเรียน
          7.  วิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม รับจ้าง มีการย้ายถิ่นเพื่อหางานทำจึงทำให้การจัดกิจกรรมได้ไม่ต่อเนื่อง  และมีจำนวนหนึ่งที่เรียนไม่จบหลักสูตร

1. ปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมภายใน (Inyernal  Factor)

ด้านจุดแข็ง  (Strength)

     1. สถานศึกษามีนโยบาย/โครงสร้างในการดำเนินงานที่ชัดเจน
           
2.สถานศึกษามีปรัชญา วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์  พันธกิจ  เป้าประสงค์ ในการดำเนินงานที่ชัดเจน
          3.  มีแผนการดำเนินการ เช่น แผนประจำปี แผนพัฒนาคุณภาพ
          4.  มีสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น หนังสือ VCD อินเตอร์เน็ต
          5.  มีการมอบหมายงาน การแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ มีการจัดระบบการทำงานเป็นทีม/กลุ่มโซน ที่ชัดเจน
          6.  สถานศึกษามีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานครอบคลุมทุกพื้นที่ ชุมชนจึงได้รับบริการอย่างทั่วถึง
          7.  มีหลักสูตรที่หลากหลายยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
          8.  บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่  ทำให้มีความคล่องตัวและการประสานงานที่ดี
          9.  บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ทำให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ
          10.  บุคลากรมีความศรัทธาและเชื่อมั่นในการบริหารงานของผู้บริหารจึงทำให้มีความร่วมมือ  เป็นอย่างดี
          11.  ผู้บริหารมีความรับผิดชอบสูง มีความสามารถ และมีประสบการณ์ในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ
          12.  ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ที่เอื้อต่อการพัฒนาทุกด้าน เป็นกำลังใจให้กับบุคลากรในการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์  เป็นผู้นำทางความคิด  ผู้นำทางวิชาการ   กล้าตัดสินใจและยึดการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการประชุมถ่ายโอนความรู้สู่ผู้ใต้บังคับบัญชา  ทำให้บุคลากรทราบทิศทางนโยบายสู่การปฏิบัติ
          13.  ผู้บริหารใช้หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี  และมีความโปร่งใสและเปิดเผยข้อมูล  ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบและเป็นผู้บริหารที่เน้นระบบการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการ
          14.  วัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีความทันสมัย  เหมาะสมกับการดำเนินจัดกิจกรรมของสถานศึกษา
          15.  การบริหารจัดการด้านบุคลากร  งบประมาณ  ด้านวิชาการและด้านทั่ว ๆ ไปมีการกระจายอำนาจ
          16.  มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี
          17.  มีการนำแนวทางการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนางานในปีต่อไป
          18.  มีการประชาสัมพันธ์งาน กศน.อย่างต่อเนื่อง

ด้านจุดอ่อน  (Weakness)

1.  บุคลากรบางรายขาดการวางแผนในการทำงาน
          2.  การจัดทำข้อมูลสารสนเทศในบางตำบลยังทำได้ไม่ดีพอ
          3.  บุคลากรจะมีการลาออกบ่อยเนื่องจากไปรับราชการที่หน่วยงานอื่น หรือประกอบอาชีพส่วนตัว  ทำให้การพัฒนาบุคลากรไม่ต่อเนื่อง
          4.  บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องการจัดทำหลักสูตร การสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การประเมินการศึกษา การทำวิจัยในชั้นเรียน และวิจัยชุมชน
          5.  บุคลากรจบการศึกษาไม่ตรงกับรายวิชาที่รับผิดชอบ หรืองานที่รับผิดชอบ
          6.  บุคลากรขาดการวางแผนในการนิเทศติดตามประเมินผล
          7.  บางครั้งมีความยากลำบากในการจัดกิจกรรมเนื่องจากการประกอบอาชีพของประชาชน เช่น ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม  ลูกจ้างห้างร้าน/บริษัท การทำเกษตรกรรม จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาให้ครบกระบวนการ
          8.  ได้รับงบประมาณในการพัฒนา กศน.ตำบล ให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนตามเกณฑ์ กศน.ตำบลไม่เพียงพอ

ด้านโอกาส (Opportunity)

1.  บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน
          2.  กลุ่มเป้าหมายได้รับโอกาสอย่างทั่วถึง
          3.  กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีความหลากหลาย
          4.  กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรม กศน. เพราะมีบางส่วนเป็นผู้นำชุมชนที่มาร่วมกิจกรรม
          5.  มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
          6.  บุคากร กศน. ส่วนใหญ่ เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมาย
          7.  บุคลากรเป็นคนในพื้นที่ทำให้สะดวกต่อการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ
          8.  บุคลากรส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาสูง  จบปริญญาตรีจึงเป็นโอกาสดีที่จะพัฒนาตนเองได้ง่ายขึ้น
          9.  บุคลากรมีความสามารถในการประสานงานที่ดี  ระหว่างองค์กร หน่วยงานอื่น ๆ  ที่ทำให้สะดวกต่อการจัดกิจกรรมร่วมกัน  และการของบประมาณมาพัฒนาสถานศึกษา

10.  ผู้บริหารเป็นผู้นำรุ่นใหม่และเป็นนักคิด  นักพัฒนางาน
          11.  มีการนำเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆมาใช้ในการบริหารจัดการ  เนื่องจากบุคลากรทางเทคนิคมีความสามารถและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
          12.  องค์กร ภาคีเครือข่ายอื่น ช่วยสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียน

ด้านอุปสรรค (Treat)

1.  กิจกรรมกลุ่มอาชีพบางกิจกรรม มีการพัฒนาด้านการตลาดน้อย เพราะงบประมาณมีจำนวนจำกัด
          2.  บุคลากรใหม่ต้องใช้เวลาในการอบรม การพัฒนาตนเอง การเรียนรู้งาน กศน. เพราะมีการลาออกบ่อย
          3.  การจัดตั้งคณะทำงานจากบุคลากรของศูนย์ไม่ตรงกับความรู้ความสามารถของบุคลากรจึงเกิดปัญหาการพัฒนางานต่าง ๆ 

          จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน  พบทั้งจุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และอุปสรรค  ที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น  มีความตระหนักในปัญหาต่าง ๆ  ที่จะต้องพัฒนาระบบบริหารจัดการ เพื่อใช้ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป
4. บทบาทหน้าที่ของ  ศรช.
                    4.1  ครูศูนย์การเรียนชุมชน

          ดำเนินงานด้านการจัดขบวนการการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้กับกลุ่มเป้าหมาย  ดูแลและพัฒนาศูนย์การเรียนให้เป็นสถานศึกษาอย่างสมบูรณ์  จัดหาสื่อการเรียนการสอน  สื่อเทคโนโลยี  พัฒนาคนในชุมชนและสังคมในเขตพื้นที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจให้เต็มศักยภาพ  ประสานงานเครือข่าย
         
          4.2  ครูเครือข่าย
          จัดการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เต็มศักยภาพ

                   4.3  งานส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
         
          งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                             -  งานส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือ
                             -  งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                                      1. ระดับประถมศึกษา  (ป.6)
                                      2.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  (ม.3)
                                      3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  (ม.6)
                             -  งานการศึกษาสายอาชีพ
                                      1.  วิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
                                      2.  กลุ่มสนใจ
                                      3.  กลุ่มพัฒนาอาชีพ
                             -  งานการศึกษาตามอัธยาศัย
                                      1.  ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
                                      2.  แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
                                      3.  แหล่งภูมิปัญญาชาวบ้าน / ปราชญ์ชาวบ้าน
                             -  งานพัฒนาทักษะชีวิต

                                      1.  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                                      2.  ด้านรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
                                      3.  ด้านประชาธิปไตย
                                      4.  ด้านคุณธรรมจริยธรรม
                                      5.  การศึกษานอกสถานที่
                    4.4  งานโครงการ
          เป็นนโยบายที่มาจากส่วนกลางอำเภอ  ส่วนจังหวัด  หรือส่วนตำบลที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเช่น  งานโครงการ
วิทยาลัยชุมชน ร่วมกับเทศบาลตำบลพระลับ  และวัดป่าแสงอรุณ  งานการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส  งานจัดหาสื่อการเรียนการสอน  งานพัฒนาศูนย์การเรียนขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงงานประสานงานเครือข่ายต่างๆ  เป็นต้น
                   4.5  งานนิเทศติดตามผล
              เป็นงานติดตาม และประเมินผล  การดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูเครือข่าย  ที่จัดการเรียนการสอนตามกระบวนการจัดการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

4.6  งานศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
              เป็นงานส่งเสริมและให้มีการพัฒนาทางวิชาการ  พัฒนาผู้เรียน  พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนทั้งการศึกษาสายสามัญ  สายอาชีพ  และการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนผู้รับบริการหรือกลุ่มเป้าหมาย

สภาพจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ของศูนย์การเรียนชุมชน
จุดแข็ง (
Strengths )

          ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  มีสภาพจุดแข็ง  ด้านการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ให้กับประชาชนและผู้พลาดโอกาสได้ในชุมชน เนื่องจากได้รับความร่วมมือจาก  ผู้บริหารเทศบาลตำบลพระลับ สนับสนุนงบประมาณครูเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอนและบุคลากร    ผู้นำชุมชนทุกชุมชน  เครือข่ายทุกภาคส่วนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลพระลับ  ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี และมีบุคลากรที่มีความสามารถในการปฏิบัติงาน มีความรู้และประสบการณ์ ในด้านการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นอย่างดี
จุดอ่อน (
Weaknesses )

          ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  มีสภาพจุดอ่อนในด้านการย้ายแหล่งทำกินของกลุ่มเป้าหมายผู้เรียน / ผู้รับบริการ ทำให้เวลามาร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบไม่ครบตามกระบวนการ  ขาดการต่อเนื่อง

 โอกาส  (  Opportunities )

          ตำบลพระลับ  ผู้นำชุมชนทุกชุมชน  เครือข่ายทุกองค์กรให้การส่งเสริม  สนับสนุน และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องอาคาร สถานที่ และการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน  และประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อศูนย์การเรียนชุมชน  และส่งเสริมงานการศึกษานอกโรงเรียนเป็นอย่างดี




อุปสรรค  ( 
Threats )

          กลุ่มผู้เรียนและผู้รับบริการ ส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน  และทำงานในโรงงาน  และบริษัท  และมีการอพยพไปรับจ้างต่างถิ่น  ทำให้เป็นปัญหาในการจัดกิจกรรมต่างๆ ทำให้ขาดการต่อเนื่อง  และยังทำให้ด้อยคุณภาพ  นอกจากนี้ยังพบว่า  มีบางส่วนที่เป็นนักศึกษา  ที่ออกจากในระบบยังขาดความรับผิดชอบการเข้าร่วมกิจกรรมจึงไม่ต่อเนื่อง


 

 

 

 

 















                                                         


                                               
ตอนที่ 
                              วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / กลยุทธ์

วิสัยทัศน์
          ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต  ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
 
พันธกิจ

         
พันธกิจของ ศรช.บ้านเลิงเปือย  ได้แก่
           1.  จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ
           2.  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
           3.  พัฒนาและนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต
           4.. พัฒนาบุคลากรและภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
           5. จัดและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาตามแนวปรัชญา
"คิดเป็น"อย่างยั่งยืน

กลยุทธ์
          กลยุทธ์การดำเนินงาน

          กลยุทธ์ที่ 1  ชุมชนเป็นฐานะการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทำแผนชุมชน  เพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ตามความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน  เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง

          กลยุทธ์ที่ 2  จัดการเรียนรู้คู่ปฏิบัติจริง  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพการดำรงชีวิต  มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  สื่อ  ในลักษณะจัดการเรียนรู้คู่ปฏิบัติจริง  และการสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้  เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน

          กลยุทธ์ที่ 3  พึ่งพิงอิงเครือข่าย  มุ่งเน้นการประสานงานและพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกระดับทุกประเภทให้ตระหนักในความสำคัญในบทบาทของการจัดการความรู้และร่วมดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          กลยุทธ์ที่ 4  คิดใหม่  ฉับไว  ใส่ใจธรรมาภิบาล  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและมุ่งเน้นการบริหารตามหลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม  หลักความโปร่งใสตรวจสอบได้  หลักการมีส่วนร่วม  หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า

          กลยุทธ์ที่ 5  คำตอบอยู่ที่หมู่บ้านสู่มาตรฐาน  กศน.  มุ่งเน้นการนิเทศ  การติดตามและประเมินผลแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  ตัวชี้วัดทุกผลผลิตและทุกกิจกรรม  เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนอุดมปัญญาและมีความสุขโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                  แนวความคิดเรื่องคิดเป็นมีองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงปรัชญา 3 ส่วน กล่าวคือ เป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ คือ ความสุข มนุษย์จึงแสวงหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะมุ่งไปสู่ความสุขนั้น แต่เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐานทั้งทางกายภาพ อารมณ์ สังคม จิตใจและสภาวะแวดล้อม ทำให้ความต้องการของคนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การให้คุณค่าและความหมายของความสุขของมนุษย์จึงแตกต่างกัน การแสวงหาความสุขที่แตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคนแต่ละคน การตัดสินใจนั้น จำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ซึ่งโดยหลักการของการคิดเป็น มนุษย์ควรจะใช้ข้อมูลอย่างน้อย 3 ด้าน คือ ข้อมูลตนเอง ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ทั้งทางด้านกายภาพ สุขภาพอนามัยความพร้อมต่าง ๆ ข้อมูลสังคม ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ครอบครัว สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ค่านิยมตลอดจนกรอบคุณธรรม จริยธรรม และข้อมูลทางวิชาการ คือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องคิด ตัดสินใจนั้น ๆ ว่ามีหรือไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้หรือไม่ การใช้ข้อมูลอย่างรอบด้านนี้จะช่วยให้การคิดตัดสินใจเพื่อแสวงหาความสุขของมนุษย์เป็นไปอย่างรอบคอบ เรียกวิธีการคิดตัดสินใจนี้ว่า คิดเป็นและเป็นความคิดที่มีพลวัต คือ ปรับเปลี่ยนได้เสมอ เมื่อข้อมูลเปลี่ยนแปลงไป เป้าหมายชีวิตเปลี่ยนไป

  

กระบวนการคิดเป็น

               กระบวนการคิดเป็นอาจจำแนกให้เห็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นกระบวนการคิดได้ ดังนี้(สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน.2547:31-32)

ขั้นที่  1    การระบุปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่

ขั้นที่  2    การศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและสถานการณ์นั้น ๆ โดยจำแนกข้อมูลออกเป็น 3 ประเภท คือ
ข้อมูลสังคม 
 ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวปัญหา สภาพสังคมของแต่ละบุคคล ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนและสังคมทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น

ข้อมูลตนเอง  :  ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคล ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจ เป็นข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ความพร้อมทั้งทางอารมณ์ จิตใจ เป็นต้น

ข้อมูลทางวิชาการ  :  ได้แก่ข้อมูลด้านความรู้ในเชิงวิชาการที่จะช่วยสนับสนุนในการคิดการดำเนินงาน

ขั้นที่  3    การสังเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 ด้าน เข้ามาช่วยในการคิดหาทางแก้ปัญหาภายในกรอบแห่งคุณธรรม ประเด็นเด่นของขั้นตอนนี้คือระดับของการตัดสินใจที่จะแตกต่างกันไปแต่ละคนอันเป็นผลเนื่องมาจากข้อมูลในขั้นที่ 2 ความแตกต่างของการตัดสินใจดังกล่าว มุ่งไปเพื่อความสุขของแต่ละคน

ขั้นที่  4    การตัดสินใจ เป็นขั้นตอนสำคัญของแต่ละคนในการเลือกวิธีการหรือทางเลือกในการแก้ปัญหา ขึ้นอยู่กับว่าผลของการตัดสินใจนั้นพอใจหรือไม่ หากไม่พอใจก็ต้องทบทวนใหม่
ขั้นที่  5
    เป็นการปฏิบัติตามสิ่งที่ได้คิดและตัดสินใจแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 



                                                             

    


                                                 




                                               







                                                ตอนที่ 4

                       รายละเอียดแผนงาน / โครงการ / ปีงบประมาณ

ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  กศน.ตำบลพระลับ  มีโครงการ / กิจกรรม ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ  2556  ดังนี้
1. โครงการพัฒนา  ศรช.  ให้เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารชุมชน (Information Center)
2. โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของชุมชน
3. โครงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. โครงการจัดการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาอาชีพ
5. โครงการจัดการศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
6. โครงการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน  บ้านหนังสืออัจฉริยะ
7. โครงการเรียนปรับพื้นฐานด้านวิชาการ 
8. โครงการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
9.โครงการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้

10. โครงการให้บริการสื่อการเรียนรู้แก่ชุมชน
11. โครงการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย
12. โครงการอาสาสมัคร กศน.
13. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
14. โครงการอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
15. โครงการนิเทศ ติตามและประเมินผล

 

 














 โครงการยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน

หลักการและเหตุผล

          ตาม พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ.  2551  กำหนดให้บุคคลได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  โดยให้บุคคลซึ่งได้รับการศึกษาไปแล้วหรือไม่ก็ตามมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยโดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้สาระที่สอดคล้องกับสอดคล้องกับความสนใจ  และความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิตจากสภาพปัจจุบัน  มีประชากรที่อยู่ในกลุ่มผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้

รับการศึกษาต่อเนื่อง  ขณะเดียวกันยังมีผู้ที่มีอายุพ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับจำนวนมากที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับ  โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานที่เป็นกำลังสำคัญในการสร้างผลผลิตของชาติ  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดการศึกษา  เพื่อยกระดับการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว  ให้มีการพัฒนาการศึกษาต่อไป

วัตถุประสงค์

          เพื่อยกระดับการศึกษาประชากรวัยแรงงานอย่างน้อยจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ตามสภาพและความต้องการของผู้เรียน

กิจกรรมหลัก

1.       ประชาสัมพันธ์สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
2.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามศักยภาพผู้เรียนที่หลากหลาย
3.  พัฒนาแหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้
4.  ประสานภาคีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้
5.  พัฒนาระบบข้อมูลและการบริการ
6.  การเทียบโอนผลการเรียนและประสบการณ์
7.  การเทียบระดับการศึกษา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.  ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรในระดับดี
2.  มีผลสัมฤทธิ์ให้หมวดวิชาหลักไม่ต่ำกว่าร้อยละ  70
3.  ผู้เรียน/ผู้รับบริการจบตามหลักสูตรร้อยละ  80


เป้าหมาย

          กลุ่มเป้าหมาย  ประชากรวัยแรงงาน  อายุ  15 – 59 ปี  เรียนการศึกษาพื้นฐาน

          ประเภทของกลุ่มเป้าหมาย                                      จำนวนเป้าหมาย

1.  ระดับประถมศึกษา                                                                104     คน

2.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น                                                           149     คน

3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย                                                        144      คน

งบประมาณ

          -

ผู้รับผิดชอบ

          นางอภิญญา  วงศ์การดี             ครู กศน.ตำบลพระลับ  
          นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง            ครูศูนย์การเรียนชุมชน

โทร. 043-910801 ,  081-8492318,  Fax. 043-915107

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 











โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน

หลักการและเหตุผล

          ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ.  2551 – 2555  ได้กำหนดนโยบายการเสริมสร้างและพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ประกอบกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ.  2551  ได้กำหนดให้สถานศึกษาสังกัด  กศน.  ให้มีศูนย์การเรียนชุมชน  เป็นหน่วยงานจัดกิจกรรมและสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน  จึงต้องมีการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้มีมาตรฐาน  และให้มีความพร้อมในการจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างแท้จริง  และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและผู้รับบริการด้านการศึกษา

วัตถุประสงค์

1.  พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนให้สามารถบริหารจัดการศูนย์การเรียนชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
          2.  เพื่อพัฒนาศักยภาพครูศูนย์การเรียนชุมชน  ให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการจัดทำฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
          3.  พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนที่มีมาตรฐาน

กิจกรรมหลัก

1.  ประชุม/สัมมนา  เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชน
2.  พัฒนาครูศูนย์การเรียนชุมชน
3.  ประชุมคณะทำงานเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน
4.  กำกับและติดตามผลการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน
          4.1  โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.  มีศูนย์การเรียนชุมชนที่มีมาตรฐาน
2.  มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนภายในศูนย์การเรียนชุมชน
3.  มีการจัดทำฐานข้อมูลและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

เป้าหมาย

          -  จำนวนผู้ใช้บริการด้านการศึกษาภายในชุมชน

          -  ศูนย์การเรียนชุมชนจำนวน  2  แห่ง



งบประมาณ

          -

ผู้รับผิดชอบ     

นางสาวณปภัช   วงษ์คณานุรักษ์  ครู  กศน.ตำบล
          นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง            ครูศูนย์การเรียนชุมชน

โทร. 043-910801 ,  081-8492318,  Fax. 043-915107

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 










 

โครงการค่ายศีลธรรมนำความรู้กลับคืนสู่ชุมชน

หลักการและเหตุผล

          การยกระดับการศึกษาให้มีคุณภาพการศึกษาของไทยนั้น  จะต้องมีการบูรณาการและสอดคล้องกัน  ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  ทั้งในระบบและนอกระบบโดยกำหนดวิธีการสร้างระบบการเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึก  ค่านิยม  คุณธรรม  วัฒนธรรม  โดยอาศัยเครือข่ายชุมชน  สถาบันศาสนา  สถานศึกษาและสื่อมวลชน  ให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักสำคัญของหลักคุณธรรมนำความรู้  และหลักคุณธรรมพื้นฐานมาปลูกฝัง  ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากร  ประชาชน  นักศึกษาได้นำหลักคุณธรรมและจริยธรรมไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  เพื่อให้เกิดความสุขในการดำรงชีวิตต่อไป

วัตถุประสงค์

          1.  เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึก  ค่านิยม  คุณธรรม  วัฒนธรรมต่อชุมชน
          2.  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากร  ประชาชน  นักศึกษาได้นำหลักคุณธรรมและจริยธรรมไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมหลัก

          1.  เข้าค่ายฝึกจิตและสมาธิ
          2.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึก
ตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ
          1.  ประชาชน นักศึกษาได้นำหลักคุณธรรมและจริยธรรมไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

เป้าหมาย

          ประชาชน , นักศึกษา ระดับประถมศึกษา , มัธยมศึกษาตอนต้น , มัธยมศึกษาตอนปลาย

งบประมาณ

          -

ผู้รับผิดชอบ

นางสาวณปภัช   วงษ์คณานุรักษ์  ครู กศน.ตำบลพระลับ 
          นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง            ครูศูนย์การเรียนชุมชน

โทร. 043-910801 ,  081-8492318, Fax. 043-915107

 

 

โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

หลักการและเหตุผล

          การพัฒนาให้ประชาชนให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  จะต้องพิจารณากำลังคนและสังคมที่ใช้ความรู้และภูมิปัญญาเป็นฐานในการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความมั่นคงและ
คุณภาพชีวิต  ดังนั้นอีกแนวทางหนึ่งที่จะมุ่งเน้นพัฒนาต่อยอดความรู้ความสามารถในการพัฒนาอาชีพ  โดยมีการจัดการความรู้และการพัฒนาอาชีพ  ภายใต้ความร่วมมือกับเครือข่าย  และภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้  และสร้างงานให้เกิดมั่นคงในอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นและยั่งยืน

วัตถุประสงค์

          1.  พัฒนากระบวนการเรียนรู้  พัฒนาอาชีพ  เพื่อการพึ่งพาตนเอง
          2.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายจัดการศึกษา  เพื่อพัฒนาอาชีพ

กิจกรรมหลัก

          1.  สำรวจตามต้องการและทำเวทีชาวบ้าน
          2.  พัฒนาทักษะการเรียนรู้อาชีพ
          3.  จัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  เพื่อพัฒนาอาชีพ
          4.  สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา  เพื่อพัฒนาอาชีพ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ

          1.  มีอาชีพที่มั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดี
          2.  มีอาชีพที่แน่นอนเพื่อเพิ่มรายได้

เป้าหมาย

          ประชาชนในชุมชน  ผู้สนใจและนักศึกษา  จำนวน  90  คน

งบประมาณ

          -ได้รับการสนับสนุนจาก กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

พื้นที่ดำเนินการ

          กศน.ตำบลพระลับ และศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย

ผู้รับผิดชอบ

          นางสาวณปภัช   วงษ์คณานุรักษ์  ครู กศน.ตำบลพระลับ
          นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง  ครูศูนย์การเรียนชุมชน

โทร. 043-910801 ,  081-8492318,  Fax. 043-915107

 



โครงการส่งเสริมการอ่าน

หลักการและเหตุผล

          ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ. 2551  กำหนดหลักการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบไว้ประการหนึ่งคือ  เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึง  และได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง  ถึงเป็นธรรมและมีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพชีวิตของประชาชน  อย่างไรก็ตามในสภาพของประชากรไทยในปัจจุบันนี้  จะเห็นประชากรที่มีอายุตั้งแต่  15  ปี
ขึ้นไป  มีจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้หนังสือ  เนื่องจากสาเหตุหลายประการ  เช่น  การอพยพย้ายถิ่น  ความยากจน  ขาดโอกาส  การลืมหนังสือเหล่านี้  จึงจำเป็นที่ต้องดำเนินการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ประชากร  กลุ่มดังกล่าว  ให้เป็นผู้รู้หนังสือ  เพื่อสามารถพัฒนาตนเองและเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

วัตถุประสงค์

          1.  ส่งเสริมการรู้หนังสือให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
          2.  ขยายโอกาสการรู้หนังสือ

กิจกรรมหลัก

          1.  สำรวจจำนวนหมู่บ้านที่เป็นตัวแทนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน  บ้านหังสืออัจฉริยะ
          2.  กิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

          1.  จำนวนผู้ไม่รู้หนังสือลดลง
          2.  นักศึกษาสามารถอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้น

เป้าหมาย

          -  ผู้อ่าน-เขียนยังไม่ได้และยังอ่านหนังสือไม่คล่อง

งบประมาณ      -

พื้นที่ดำเนินการ

          ศรช.บ้านเลิงเปือย  และ  กศน.ตำบลพระลับ
ผู้รับผิดชอบ

นางสาวณปภัช   วงษ์คณานุรักษ์  ครู กศน.ตำบลพระลับ
          นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง  ครูศูนย์การเรียนชุมชน
          โทร.
043-910801 ,  081-8492318,  Fax. 043-915107






โครงการวันแม่แห่งชาติ

ศรช.  บ้านเลิงเปือย  กศน.    ตำบลพระลับ   ระดับ ประถม,มัธยมต้น,มัธยมปลาย
 เสนอต่อ
     ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น

โครงการเพื่อ          ( )     พัฒนาตนเองและครอบครัว
                          (
)     พัฒนาชุมชน  สังคมและสิ่งแวดล้อม
                          (
ü )     สนับสนุนกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
                          (     )     อื่น ๆ   ถ้ามี

หลักการและเหตุผล

              ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  กศน.ตำบลพระลับ ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการศึกษาตาม   พ.รบ. การศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ. 2542    ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดกระบวนการเรียนรู้ การศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544   ที่เน้นการเรียนสอดคล้องกับสภาพวิถีชีวิตของผู้เรียน  โดยน้ำไปใช้เพื่อการดำเนินชีวิตประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆได้

วัตถุประสงค์

          1     เพื่อส่งเสริมให้ผู้สนใจมีโอกาสในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
          2     เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนของศูนย์การเรียนชุมชน
          3     เพื่อพัฒนาและปรับปรุงบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
          4     เพื่อบริการนักศึกษา  ประชาชน  และผู้สนใจทั่วไป
          5     เพื่อเป็นแหล่งศึกษา  ค้นคว้า   ของนักศึกษา  และ  ประชาชนทั่วไป
         6     เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รำลึกในพระคุณแม่ที่แม่ต่อตนเองและต่อชาติ

เป้าหมาย

          1.    นักศึกษาศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  กศน.ตำบลพระลับ 
          2.    ประชาชนในเขตตำบลพระลับ
          3.    ประชาชนผู้สนใจทั่วไป

ขั้นตอน/แผนงานการปฏิบัติโครงการ
          1.    ประชุมคณะกรรมการนักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ

          2.     เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
          3.    ดำเนินการตามโครงการ  
          4.    สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อ เทศบาลตำบลพระลับ

สถานที่ดำเนินการ

         เทศบาลตำบลพระลับ


ระยะเวลาดำเนินโครงการ

          วันที่   12   เดือน    สิงหาคม    ของทุกปี   

ปัจจัยการดำเนินโครงการ

       1.   งบประมาณจากนักศึกษา ประถม,ม.ต้น และม.ปลาย และเทศบาลตำบลพระลับ
          จำนวน  5,000  บาท    (ห้าพันบาทถ้วน)
       2.   แรงงาน/นักศึกษา/ประชาชน/เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลพระลับทุกคน
       3.   คณะกรรมศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ  

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

      1.   ได้แหล่งเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสาร  ให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป
      2.   ให้ผู้ทีส่วนเกี่ยวข้องตระหนักในพระคุณแม่
      3.    สามารถพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหน่วยงานอื่นๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ปรึกษาโครงการ

      1.     นายพงศ์ธร  พิศาพิทักษ์กุล                         นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระลับ
      2.     นายเอกชัย                       อนุพันธ์                     ปลัดเทศบาลตำบลพระลับ
      3.     นางสาวณปภัช         วงษ์คณานุรักษ์             ครู กศน.ตำบลพระลับ
      4.     นางสาวมุลี             พงษ์สระพัง                ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ผู้รับผิดชอบ

นางสาวณปภัช   วงษ์คณานุรักษ์   ครู กศน. ตำบลพระลับ
นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง  ครู กศน.ตำบล 

โทร. 043-910801 ,  081-8492318Fax. 043-915107

 













โครงการวันพ่อแห่งชาติ

ศรช.  บ้านเลิงเปือย  กศน.  ตำบลพระลับ   ระดับ ประถม,มัธยมต้น,มัธยมปลาย
เสนอต่อ
     ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น

โครงการเพื่อ            (ü  )     พัฒนาตนเองและครอบครัว
                           (
ü )     พัฒนาชุมชน  สังคมและสิ่งแวดล้อม
                           (
ü )     สนับสนุนกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
                           (     )      อื่น ๆ   ถ้ามี

หลักการและเหตุผล

              ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  กศน.ตำบลพระลับ  ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการศึกษาตาม   พ.รบ. การศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ. 2542    ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดกระบวนการเรียนรู้ การศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544   ที่เน้นการเรียนสอดคล้องกับสภาพวิถีชีวิตของผู้เรียน  โดยน้ำไปใช้เพื่อการดำเนินชีวิตประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆได้

วัตถุประสงค์

          1     เพื่อส่งเสริมให้ผู้สนใจมีโอกาสในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
          2     เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนของศูนย์การเรียนชุมชน
          3     เพื่อพัฒนาและปรับปรุงบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น.
          4     เพื่อบริการนักศึกษา  ประชาชน  และผู้สนใจทั่วไป
          5     เพื่อเป็นแหล่งศึกษา  ค้นคว้า   ของนักศึกษา  และ  ประชาชนทั่วไป
          6     เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รำลึกในพระคุณพ่อที่มีต่อตนเองและต่อชาติ

เป้าหมาย

          1.    นักศึกษาศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  กศน.ตำบลพระลับทุกระดับ
          2.    ประชาชนในเขตตำบลพระลับ
          3.    ประชาชนผู้สนใจทั่วไป

ขั้นตอน/แผนงานการปฏิบัติโครงการ

          1.    ประชุมคณะกรรมการนักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ
          2.    เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ

          3.    ดำเนินการตามโครงการ   
          4.    สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อ เทศบาลตำบลพระลับ

สถานที่ดำเนินการ

         เทศบาลตำบลพระลับ

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

          วันที่   5   เดือน    ธันวาคม    ของทุกปี

ปัจจัยการดำเนินโครงการ

       1.   งบประมาณจากนักศึกษา ประถม,ม.ต้น และม.ปลาย และเทศบาลตำบลพระลับ           จำนวน 5,000  บาท   
       2.   แรงงาน/นักศึกษา/ประชาชน/เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลพระลับทุกคน
       3.   คณะกรรมศูนย์การเรียนชุมชนเทศบาลตำบลพระลับ  

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

      1.   ได้แหล่งเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสาร  ให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป
      2.   ให้ผู้ทีส่วนเกี่ยวข้องตระหนักในพระคุณพ่อ
      3.    สามารถพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหน่วยงานอื่นๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ปรึกษาโครงการ

      1.  นายพงศ์ธร  พิศาพิทักษ์กุล                            นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระลับ
      2.  นายเอกชัย   อนุพันธ์                                  ปลัดเทศบาลตำบลพระลับ
      3.  นางอภิญญา  วงศ์การดี                              ครู กศน.ตำบล

ผู้รับผิดชอบ

นางอภิญญา  วงศ์การดี                                ครู กศน.ตำบล   
นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง                               ครูศูนย์การเรียนชุมชน

โทร. 043-910801 ,  081-8492318Fax. 043-915107

 

 











โครงการไหว้ครู,ปฐมนิเทศและรับใบประกาศนียบัตร


ศรช.  บ้านเลิงเปือย  กศน.  ตำบลพระลับ  ระดับ ประถม,มัธยมต้น,มัธยมปลาย
เสนอต่อ
     ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น

โครงการเพื่อ           ( )    พัฒนาตนเองและครอบครัว
                          (
 )     พัฒนาชุมชน  สังคมและสิ่งแวดล้อม
                          (
ü )     สนับสนุนกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
                          (     )     อื่น ๆ   ถ้ามี

หลักการและเหตุผล

              ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการศึกษาตาม   พ.รบ. การศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ. 2542    ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดกระบวนการเรียนรู้ การศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544   ที่เน้นการเรียนสอดคล้องกับสภาพวิถีชีวิตของผู้เรียน  โดยน้ำไปใช้เพื่อการดำเนินชีวิตประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆได้

วัตถุประสงค์

          1     เพื่อส่งเสริมให้ผู้สนใจมีโอกาสในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
          2     เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนของศูนย์การเรียนชุมชน
          3     เพื่อพัฒนาและปรับปรุงบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
          4     เพื่อบริการนักศึกษา  ประชาชน  และผู้สนใจทั่วไป
          5     เพื่อเป็นแหล่งศึกษา  ค้นคว้า   ของนักศึกษา  และ  ประชาชนทั่วไป
          6     เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รำลึกในพระคุณครู

 เป้าหมาย

          1.    นักศึกษาศูนย์การเรียนชุมชนเทศบาลตำบลพระลับทุกระดับ
          2.    ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระลับ
          3.    ประชาชนผู้สนใจทั่วไป

ขั้นตอน/แผนงานการปฏิบัติโครงการ

          1.    ประชุมคณะกรรมการนักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ
          2.     เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
          3.    ดำเนินการตามโครงการ
          4.    สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อ เทศบาลตำบลพระลับ
 สถานที่ดำเนินการ

         เทศบาลตำบลพระลับ


ระยะเวลาดำเนินโครงการ

          เดือน มิถุนายน ของทุกปี   

 ปัจจัยการดำเนินโครงการ

       1.   งบประมาณจากนักศึกษา ประถม,ม.ต้น และม.ปลาย และเทศบาลตำบลพระลับ           จำนวน  15,000  บาท    (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
       2.   แรงงาน/นักศึกษา/ประชาชน/เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลพระลับทุกคน
       3.   คณะกรรมศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ  

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

      1.   ได้แหล่งเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสาร  ให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป
      2.   ให้ผู้ทีส่วนเกี่ยวข้องตระหนักในครู
      3.    สามารถพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหน่วยงานอื่นๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ปรึกษาโครงการ

      1.     นายพงศ์ธร  พิศาพิทักษ์กุล               นายกเทศมนตรีตำบลพระลับ
      2.     นายเอกชัย  อนุพันธ์                      ปลัดเทศบาลตำบลพระลับ
      3.     นางอภิญญา  วงศ์การดี                   ครู กศน.ตำพระลับ

ผู้รับผิดชอบ

นางอภิญญา  วงศ์การดี   ครู กศน.ตำบลพระลับ
นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง  ครูศูนย์การเรียนชุมชน  
โทร.
043-910801 ,  081-8492318, Fax. 043-915107

 












โครงการ เทศบาลพระลับสัญจร

หลักการและเหตุผล

  ตามนโยบายรัฐบาลในการปกครองตามหลักธรรมาภิบาลและประโยชน์สุขของประชาชน   เทศบาลตำบลพระลับร่วมกับหน่วยงานของรัฐฯทุกภาคส่วนโดยการประสานงามงานของเทศบาลตำบลพระลับ นำสู่ผลอันพึงประสงค์คือการพัฒนาคุณภาพและประโยชน์สุขของประชาชนให้ดีขึ้น ซึ่งเทศบาลตำบลพระลับจึงทำงานเชิงรุก และปฏิบัติงานแบบบูรณาการณ์กับการมีส่วนร่วมของหน่วยงานของรัฐฯที่ร่วมกันทำงานเพื่อประชาชน   และร่วมกันดำเนินการให้บริการประชาชน เทศบาลตำบลพระลับจึงได้ขอความร่วมมือกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  อำเภอเมืองขอนแก่น  ศูนย์การเรียนชุมชนเทศบาลตำบลพระลับ ให้ดำเนินการประสานงานขอความร่วมมือ  กับการศึกษาสายอาชีพนำนักศึกษาออกมาปฏิบัติงานนอกพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลพระลับ  เพื่อบริการประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระลับ ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานและ  ประเมินความพึงพอใจของประชาชน  และนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์  สำหรับศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ ในการพัฒนาการดำเนินงานในโอกาสต่อไป  จึงได้จัดทำสรุปผลการประเมินโครงการเทศบาลตำบลพระลับ  ร่วมกับหน่วยงานราชการ เคลื่อนที่พบประชาชน  ในเขตพื้นที่ ประจำปี 2555

วัตถุประสงค์

1.        เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการความสัมพันธ์ชุมชน

2.        เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชนในเขตพื้นที่

3.       เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ความต้องการของประชาชนอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน

4.       เพื่อให้ประชาชนรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานรัฐฯ ต่อชุมชน

5.       เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นกับเครือข่ายร่วมกัน

ขั้นตอน/แผนงานการปฏิบัติโครงการ

          1.    ประชุมคณะกรรมการนักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ
          2.     เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
          3.    ดำเนินการตามโครงการ
          4.    สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อ เทศบาลตำบลพระลับ

 

 สถานที่ดำเนินการ

ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลพระลับทั้ง 19 หมู่บ้าน ประจำปี 2556



ระยะเวลาดำเนินโครงการ

          เดือน มีนาคม ของทุกปี   

 ปัจจัยการดำเนินโครงการ

        1.   แรงงาน/นักศึกษา/ประชาชน/เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลพระลับทุกคน
       2.   คณะกรรมศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ  

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.       ประชาชนมีและหน่วยงานของรัฐมีการปรับปรุงและพัฒนาการความสัมพันธ์ชุมชน

2.       ประชาชนมีความสะดวกในการได้รับบริการ

3.       เชื่อมความสัมพันธ์ ความต้องการของประชาชนอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนต่อไป

4.       ประชาชนรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานรัฐฯ ต่อชุมชน

5.       ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นกับเครือข่ายร่วมกัน

ที่ปรึกษาโครงการ

  1.    นายพงศ์ธร  พิศาพิทักษ์กุล                    นายกเทศมนตรีตำบลพระลับ
            2.     นายเอกชัย              อนุพันธ์              ปลัดเทศบาลตำบลพระลับ
            3.     นางอภิญญา  วงศ์การดี   ครู กศน.ตำพระลับ

ผู้รับผิดชอบ

นางอภิญญา  วงศ์การดี                 ครู กศน.ตำบลพระลับ
นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง                 ครูศูนย์การเรียนชุมชน
โทร.
043-910801 ,  081-8492318Fax. 043-915107

 

 

 








โครงการปรับพื้นฐานด้านวิชาการ

หลักการและเหตุผล

                   การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง แต่ละกลุ่มของผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมีการช่วยกันวิเคราะห์ สรุปและรายงานผลประกอบกับการฝึกโดยการทำกิจกรรมร่วมกัน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจและภูมิใจเมื่อประสบความสำเร็จ ซึ่งจะส่งผลต่อเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์การจัดค่ายคณิตศาสตร์ได้อาศัยหลักการดังกล่าวเป็นพื้นฐานจึงมั่นใจว่าจะนำพาผู้เรียนที่เข้าค่ายปรับพื้นฐานไปสู่ความสำเร็จในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นปัจจุบันและในอนาคตเพื่อเป็นการปรับพื้นฐานเข้าสู่บทเรียน
          จากสาเหตุดังกล่าวเชื่อว่ากิจกรรมค่ายปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นการจำลองสถานการณ์ในการฝึกทักษะกับ ครูผู้สอนและกลุ่มเพื่อน จะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะในวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งนอกจากนั้น   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองขอนแก่น  ได้กำหนดยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนรู้ให้มีค่ายส่งเสริมอัจฉริยภาพเพื่อส่งเสริมความสามรถเฉพาะของนักเรียนในศูนย์การเรียนแต่ละศูนย์การเรียน   ด้วยกิจกรรมค่ายที่จัดขึ้นเชื่อว่าจะพัฒนาและส่งเสริมทักษะแก่นักศึกษาที่มีความสามารถ  และความสนใจด้านวิชาคณิตศาสตร์  ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์

                  เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะด้านวิชาคณิตศาสตร์ ตามอัจฉริยภาพและความสนใจของตนเองเพื่อให้นักศึกษา ได้รับประสบการณ์จำลองของค่าย เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ในศูนย์การเรียน เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศ ความร่วมมือในการทำงานเชิงวิชาการ

 เป้าหมาย

                  ด้านปริมาณ  ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์   ณ ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย  เป็นเวลา  12 วัน วันละ 3 ชั่วโมง และผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 60 คน
                             นักศึกษาระดับมัธยมต้น             จำนวน           30      คน
                             นักศึกษาระดับมัธยมปลาย          จำนวน           30      คน

                  ด้านคุณภาพ  นักศึกษา ได้ฝึกฝนทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ในสถานการณ์จำลองเพิ่มขึ้น ส่งเสริมอัจฉริยภาพของนักศึกษาตามความถนัดและความสนใจนักศึกษา  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ
          ยุทธศาสตร์ที่ 1  : การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ความสอดคล้องกับกรอบนโยบายจังหวัดขอนแก่น
          -      ภาคพื้นการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม   เร่งรัดเรียนรู้
ความสอดคล้องกับกรอบนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน กศน. จังหวัดขอนแก่น และกศน.เมืองขอนแก่น
          ข้อ 6 .  นโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จุดเน้นการดำเนินงาน

          การพัฒนาวิชาการ : มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตร สื่อ รูปแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐานของการพัฒนาและมุ่งหมายในงานวิชาการเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติที่มีคุณภาพ

ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ( ปี 51-54 )

กลยุทธ์ที่ 2  :   จัดการเรียนรู้คู่การปฏิบัติจริง

กลยุทธ์ที่ 3  :  พึ่งพิงอิงเครือข่าย

แนวทางการจัดการเรียนรู้

กิจกรรมหลัก
 -   จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ   จำนวน     12   วัน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ
-      ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 
 -     เครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
-     ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ทันที

ขั้นตอนการดำเนินงาน
                     1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์การเรียนและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินงานและวัตถุประสงค์
                     2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ติดต่อประสานงานสถานที่และเชิญวิทยากร

                     3. ประชุม และมอบหมาย งานรับผิดชอบของบุคลากรส่วนต่างๆ
                     4. กำหนดกิจกรรเตรียมเอกสาร และประสานงานนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ดำเนินการจัดกิจกรรมตามวันเวลาและสถานที่ที่กำหนด ประเมินผลสรุปรายงานผู้บริหาร

ระยะเวลาดำเนินการ
                     เริ่มโครงการ                                สิ้นสุดโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
                   ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย

งบประมาณ
                   จำนวนเงินจากผู้สนับสนุนโครงการ   4,800 บาท  เพื่อเป็นค่าตอบแทนวิทยากร  

ผลคาดว่าจะได้รับ
                  นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะในสถานการณต่างๆ และเพิ่มพูนทักษะวิชาวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สร้างบรรยากาศในการร่วมงานเชิงวิชาการของครูและนักศึกษา

การประเมินผล
                   1. ประเมินความพึงพอใจโดยการกรอกแบบประเมิน  
                   2.  สังเกตพฤติกรรมที่จัดขึ้นและการแสดงออกของนักศึกษา
                   3. ใช้แบบสอบถาม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง  ครู ศรช.บ้านเลิงเปือย
โทร.
043-910801 ,  081-7173991,  Fax. 043-915107

 

 

 

 

 

 

 

 

 




 

 

 



ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ  2558
 ศรช.บ้านเลิงเปือย  กศน.ตำบลพระลับ  กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น  สำนักงาน  กศน.จังหวัดขอนแก่น
สอดคล้องกับนโยบาย  และจุดเน้นการดำเนินงาน  กศน.  ข้อที่  1
ชื่องาน/โครงการ 
โครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต  (กพช.)

 

ที่

 

วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมหลัก

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ


พื้นที่ดำเนินการ

เป้าหมาย

งบประมาณ   บาท

ประเภทกลุ่มเป้า
หมาย

จำนวนเป้าหมาย

ไตรมาสที่1

ไตรมาสที่2

ไตรมาสที่3

ไตรมาสที่4

7.

เพื่อการพัฒนานักศึกษา  ครอบครัว  ชุมชน  และสังคม

-เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสี 
-การมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์การเรียน  และสังคม

-เข้าร่วมกิจกรรม  เป็นตัวแทนในการทำกิจกรรม
-  มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  และสังคม

-ศรช.บ้านเลิงเปือย
-กศน.อ.เมืองขอนแก่น

นักศึกษา  ศรช.บ้านเลิงเปือย

ระดับ
ม.ต้น

 

/

 

 


ผู้รับผิดชอบ  ชื่อนางสาวมุลี  พงษ์สระพัง  โทรศัพท์  081-7173991   

     


แผนภูมิที่ 1 : โครงสร้างระบบบริหารของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลพระลับ  กศน.ตำบลพระลับ

       ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่น

 


          ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น

                                                         

งานบริหาร

งานสนับสนุนการศึกษา

งานสายอาชีพ

งานสายสามัญ

 

 

 

 


พนักงานราชการ

                                                                                      

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ครูเครือข่าย

 

 

 

 

 










รายชื่อคณะกรรมการ กศน.ตำบลพระลับ

1.  นายพงศ์ธร  พิศาพิทักษ์กุล     นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระลับ                  ประธานกรรมการ
2.  นายไชยภัทร  สมอเขียว                  เลขาฯนายกเทศมนตรี                                  กรรมการ
3.  นายวารินทร์  อินธิสอน                  ผอ.กองการศึกษา                                       กรรมการ
4  นายเคน  ละน้อย                         ประธานสภาเทศบาลตำบลพระลับ                    กรรมการ
5.  นายสม  ดวงบรรเทา                     กำนันตำบลพระลับ                                    กรรมการ
6.  นายสมบัติ  ฤทธิ์ชัย                      ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ
7.  นายบุตรศรี  ศรีชาทุม                    ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ

9นายสมประสงค์  ศรีทาโส                ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ
10.  นางจินตนา  โนนศรี                    ใหญ่บ้าน                  
                             กรรมการ
11.  นายจรัส  ยุทธศิลป์เสวี                 ผู้ใหญ่บ้าน
                                              กรรมการ
12.  นายธงชัย  ใจกว้าง                     ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ
13นายบัณฑิต  พรหมพินิจ                ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ
14.  นางเบญจรัตน์  นามมณี                ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ
15. นายสุเนตร  ปัสสาคร                    ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ
16.  นายบุญชู  สุวรรณสาร                 ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ
17นายวิรัตน์  ละน้อย                     ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ
18.  นายชัยมงคล  บรรเทา                  ผู้ใหญ่บ้าน                                              กรรมการ
19.  นายสุทัศน์  โฮชิน                       ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
20
นายสุรัตน์  ปาสาทัง                    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
21
นางพันพร  ใจตรง                      ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
22.  นายนิพนธ์  ถาปาบุตร                  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
23.  นางกัลยารัตน์  เที่ยงธรรม              ประธาน อสม.                                          กรรมการ
24.  นายฮวด  แสงสุวรรณ                  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
25.นายสมหวัง  ศรีมงคุณ                    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
26.  นายสมาน  วงศ์เทเวศ                  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
26.  นายร้อย  วิลัยฤทธิ์                     ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
27.  นายประเสริฐ  อาจคำภา               ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
28.  นางมะลิวัลย์  เรืองจรัส                 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
29.  นายบุญหลาย  ชนะเสภา              ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                        กรรมการ
30.  นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง                ครูศูนย์การเรียนชุมชน                                กรรมการ
31.  นางอภิญญา  วงศ์การดี                ครู กศน.ตำบล                             กรรมการและเลขานุการ

 

รายชื่อคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย

1.  นายพงศ์ธร  พิศาพิทักษ์กุล     นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระลับ                 ประธานกรรมการ
2.  พระธรรมดิลก   สมาน (สุเมโธ) เจ้าคณะภาค 9                                         ที่ปรึกษา
3.  นายวารินทร์  อินธิสอน        ผอ.กองการศึกษาเทศบาลตำบลพระลับ           รองประธานกรรมการ
4.  นายเอกชัย   อนุพันธ์                     ปลัดเทศบาลตำบลพระลับ                                      ที่ปรึกษา

5.  นายประยุทธ์  บรรเทา                   ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 13                                     กรรมการ
6.  นางจินตนา  โนนศรี                     ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 15                                     กรรมการ
7.  นายสม  ดวงบรรเทา                     กำนันตำบลพระลับ                                    กรรมการ

8.  นายไชยภัทร  สมอเขียว        เลขานายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระลับ                     กรรมการ
9.  นายเคน  ละน้อย                         ประธานสภาเทศบาลตำบลพระลับ                    กรรมการ
10.  นางเบญจรัตน์   นามมณี               ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 
18                                    กรรมการ
11.  นายสมประสงค์  ศรีทาโส              ผู้ใหญ่บ้าน หมู่  2                                      กรรมการ
12. นางอภิญญา  วงศ์การดี                 ครู กศน.ตำบล
                                        กรรมการ
13.  นางสาวมุลี  พงษ์สระพัง                ครูศูนย์การเรียนชุมชน                 กรรมการและเลขานุการ

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 









โครงการ/กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

พ.ศ.2558

พ.ศ.2558

 

คน

งบ

คน

งบ

1.ส่งเสริมการรู้หนังสือ

50

 

50

 

 

2.การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

50

 

50

 

 

3.การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

200

 

200

 

 

4.การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

200

 

200

 

 

5.การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

450

 

450

 

 

 

โครงการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ระดับ

กลุ่มเป้าหมาย

พ.ศ.2558

พ.ศ.2558

หมายเหตุ

คน

งบ

คน

งบ

1. ประถมศึกษา

55

 

55

 

 

2. มัธยมศึกษาตอนต้น

130

 

130

 

 

3. มัธยมศึกษาตอนปลาย

121

 

121

 

 

รวม

306

 

306

 

 

 



บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ได้แก่

จำนวนแหล่งเรียนรู้

ลำดับที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1

กศน.ตำบลพระลับ

2

ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเลิงเปือย 

3

โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน  2  (สมาน  สุเมโธ)

4

วัดป่าแสงอรุณ

5

ศูนย์ปฏิบัติธรรมทุ่งเศรษฐี

6

ศูนย์ปฏิบัติธรรมธรรมรตา

7

ศูนย์สาธารณสุข เทศบาลตำบลพระลับ

8

สำนักงานหมอลำปฐมบันเทิงศิลป์

 











รายชื่อภูมิปัญญาชาวบ้าน

ลำดับที่

ชื่อ – สกุล

ความรู้ด้าน

1.

พระธรรมดิหลก(สมาน  สุเมโธ)

ปรัชญา  ศาสนา,  ประเพณี,  วัฒนธรรม  และศีลธรรม

2.

นายอร่าม  มุงคำภา

ศิลปพื้นบ้าน

3.

นางสำลี  จันทะพงษ์

การทำบายศรี

4.

นายบัวแดง  ขันธวุธ

  หมอแผนโบราณ,  ต่อกระดูก  และ  เป่างูสวัด,  เลิม

5.

นายล้วน  ซาธรรม

ศิลปพื้นบ้าน

6.

นางพรหมชิต  ชูศรี

เพาะเห็ด

7.

นายพงษ์ณที  เพียอ้ม

ศิลปกรรม

8.

นายอ้วน  จิกแหล่ม

ศิลปกรรม

9.

นายเหรียญ  จันทร์ศรีเสาร์

สู่ขวัญ(เชิญขวัญ)งานพิธี

10.

นายถาวร  สายทองคำ

ศิลปิน  ภาษา  และวรรณกรรม

11.

นายอุทิศ  โนนทนวงษ์

ศิลปกรรม

12.

นายทำเนียบ  ศรีวิชา

ทำไม้กวาด,  จักสาน

13.

นางลิขิต  โนนทนวงษ์

งานใบตอง

14.

นายสงบ  ภูจักรเพ็ชร

ศิลปพื้นบ้าน

15.

นายทองยศ  เพียอ้ม

แพทย์แผนไทย

16.

นางวงศ์สุวรรณ์  พรหมบุตร

งานประดิษฐ์จากผ้าใยบัว  และเศษวัสดุเหลือใช้

17.

นางพรพิศ  แสงสุวรรณ

ทำบายศรีจากใบตอง

18.

น.ส.มาเรียม  ขันธวิธิ

ทำบายศรีจากใบตอง

19.

นายจันทร์  ถาบัว

หมอธรรม

20.

นายเลิศ  พลมิตร

แพทย์แผนไทย

21

นางทองยุ่น  รักษาเคน

ทอเสื่อ

22.

นางคำมาย  สุทธิรักษา

หมอลำ

23.

นายสนั่น  พระโคตร

กลองยาว,  จักสาน

24.

นางคำศรี  เพชรสังหาร

หมอลำ

25.

นายสมชาย  จันทรควร

แพทย์แผนไทย

26.

นายกาว  ดวงพิมพ์

สู่ขวัญ,  หมอดู  และทำน้ำมนต์

27.

นายเสร็จ  ดวงพิมพ์

แคน  หมอลำ

28.

นายสันติ  สิมาสน

หมอลำ

29.

นางสมาน  แสงสุวรรณ

ทำพานพุ่ม  ทำดอกไม้จากใบเตย

30.

นายประสิทธิ  แก้วนิโฮม

สวดมนต์ศาสนพิธี

31.

นายสมพงษ์  นาคกลาง

จักสานไม้ไผ่

32.

นายบุญหนา  ดันปิ่น

สานแห

33.

นางสุวรรณ  ขยันจิตร

ทำพานบายศรี ทำดอกไม้จากใบเตย  ใบตอง

34.

นางฉวีวรรณ  บัวผัน

ทำพานบายศรี ทำดอกไม้จากใบเตย  ใบตอง

35.

นางยี่สุ่น  ใจตรง

ทำตุง,  ทอผ้า

36.

นายสมอ  ไชยบุญเรือง

สู่ขวัญงานพิธี

37.

นายสมาน  ดาทุมมา

จักสาน

38.

นางปอง  โยคุณ

ทำบายศรี

39.

นายด้วง  บุบผา

ทำไม้กวาด

40.

นายประมูล  ลัพพงษ์

จักสาน

41.

นางนันทรา  พระสุวรรณ

ร้อยอุบะ

42.

นายนวล  เสนาคุณ

สวดมนต์ศาสนพิธี

43.

นางทองล้วน  เสนาคุณ

ทำพานบายศรี

44.

นายสุรศักดิ์  โคจำนงค์

แพทย์แผนไทย,เป่าพิษไฟไหม้,  น้ำร้อนลวก

 

















รายชื่ออาสาสมัคร กศน.

ลำดับที่

ชื่อ – สกุล

1

นายบัณฑิต  พรหมพินิจ 

2

นางสิริรดา  แสนสิริโสภา

3

นางมะลิวัลย์   เรืองจรัส

4

นางหนูเล็ก  วรรณสาร

5

นายบัวแดง  ขันธวุธ

 

 

 

 


 



เข้าชม : 3776
 
 
กศน.ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  หน้าวัดป่าแสงอรุณ บ้านเลิงเปือย หมู่ที่ 9 ตำบลพระลับ อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น 40000

โทรศัพท์ 0-4391-5107   082-847-8895 โทรสาร 
0-4391-5107 E-mail : phralap.nfekk@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี