[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  
โรคใกล้ตัว "ข้อไหล่ติด"
โดย : เคดีบี   เมื่อวันที่ : พุธ ที่ 31 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2565   


โรคใกล้ตัว "ข้อไหล่ติด"

อาการปวดไหล่เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในบรรดาคนไข้ที่มารับการตรวจที่แผนกกระดูกและข้อ แต่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่นอกจากจะปวดแล้ว ยังขยับข้อไหล่ได้น้อยลงอีกด้วย ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า "ข้อไหล่ติด" แม้จะเป็นปัญหาที่ไม่ถึงกับร้ายแรงนัก แต่ก็สร้างความรำคาญใจอย่างมาก เพราะรบกวนการใช้งานในชีวิตประจำวัน แถมยังตามรังควานไปถึงตอนนอนอีกด้วย

ข้อไหล่ติดคืออะไร

อาการข้อไหล่ติดมีลักษณะที่สำคัญคือ การปวดข้อไหล่ร่วมกับการขยับข้อไหล่ได้น้อยลงพบได้ประมาณร้อยละ 2-5 ของประชากรทั่วไปซึ่งจากจำนวนเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นภาวะที่เจอได้บ่อยเลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่พบในช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การขยับข้อไหลได้น้อยลงของภาวะข้อไหล่ติดเกิดขึ้นทุกทิศทางของการเคลื่อนไหว จึงทำให้รบกวนการใช้งานต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การยกมือขึ้นเหนือศีรษะ การสวมหรือถอดเสื้อ การฟอกสบู่ถูตัวขณะอาบน้ำ การเกาหลัง การเอื้อมหยิบหรือยกสิ่งของต่างๆ เป็นต้น ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการปวดในช่วงกลางคืนร่วมด้วย ซึ่งรบกวน
การพักผ่อนหลับนอน และอาจปวดมากขึ้นหากเผลอนอนตะแคงทับข้อไหล่ข้างที่มีอาการ

อะไรคือสาเหตุ

อันนี้เป็นอีกคำถามที่ตอบไปแล้วคนไข้ก็จะนึกว่าหมอกวน เพราะคำตอบน่าจะเป็นประมาณว่า "ไม่รู้" หรือว่า "เป็นได้เอง" เพราะในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะข้อไหล่ติดแต่พบว่ามีบางกรณีที่เป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดข้อไหล่ติด ได้แก่ โรคเบาหวานโรคของต่อมไทรอยด์ ทั้งภาวะที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไปและผลิตมากเกินไปโรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน รวมทั้งการมีประวัติบาดเจ็บที่ข้อไหล่มาก่อน หรือมีเหตุให้ต้องจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่

ใช้เวลารักษานานแค่ไหน

ภาวะข้อไหล่ติดสามารถหายได้เอง แต่ถ้าถามว่านานแค่ไหน บอกได้คำเดียวสั้นๆ ว่า "นาน"ครับ ไม่ใช่แค่แรมเดือนเท่านั้น แต่เป็นแรมปีเลยที่เดียว ดูได้จากชื่อภาษาอังกฤษของภาวะข้อไหล่ติดที่ว่า "Frozen Shoulder" ก็เหมือนกับข้อไหล่ถูกแช่แข็ง ซึ่งต้องรอเวลาให้มันค่อยๆ

ละลายไปเอง อาการข้อไหล่ติดแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

1. ระยะปวด (Painful Stage) มีอาการปวดไหล่ร่วมกับวงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ที่ลดลง กินเวลาประมาณ 29 เดือน

2. ระยะแซ่แข็ง (Frozen Stage) อาการปวดจะลดลง ตอนอยู่เฉยๆ มักไม่ค่อยปวดแต่ยังขยับข้อไหล่ได้น้อย ใช้งานลำบากกินเวลาประมาณ 46 เดือน

3. ระยะละลาย (Thawing Stage) เป็นช่วงที่ค่อยๆ ขยับไหลได้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติซึ่งกินเวลาประมาณ 6-24 เดือน

การรักษาภาวะไหล่ติด

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าใช้เวลายาวนานเลยทีเดียวกว่าอาการจะกลับมาเป็นปกติกระบวนการรักษาต่างๆ จึงมีเป้าหมายในการบรรเทาอาการปวด และช่วยให้ข้อไหล่ขยับเคลื่อนไหวเป็นปกติภายในระยะเวลาที่สั้นลงแต่ก็ต้องทำใจว่า "นาน" อยู่ดี ประเด็นหลังนี้สำคัญเพราะความไม่เข้าใจในการดำเนินโรคจะทำให้ผู้ป่วยมีความกังวลใจ พลางคิดว่าการรักษาที่ทำอยู่ไม่ได้ผล อาจตระเวนไปหาหมอหลายต่อหลายแห่ง ทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและพึ่งการรักษาแบบทางเลือกต่างๆ
ทดลองเล่นบาคาร่าออนไลน์ฟรี
โดยทั่วไปแล้วการรักษาข้อไหล่ติดแพทย์มักจะใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและแนะนำให้บริหารแขนเพื่อเพิ่มวงการเคลื่อนไหวข้อไหล่ การใช้ยาส่วนใหญ่จะเป็นยารับประทานซึ่งในช่วงแรกที่มีอาการปวดมากอาจต้องใช้ยาหลายชนิด ซึ่งแพทย์จะต้องปรับลดเมื่ออาการทุเลาลง ในบางครั้งแพทย์อาจฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณข้อไหล่เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ ซึ่งยาสเตียรอยด์ที่ฉีดเข้าไปจะออกฤทธิ์เฉพาะที่เท่านั้น ไม่ได้มีผลข้างเคียงต่อร่างกายเหมือนยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน หรือชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ



เข้าชม : 24





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น 
ถนนดรุณสำราญ ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น โทรศัพท์ 043-224973 โทรสาร  043-225242  
red.devils2521@gmail.com  red_devils2521@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05