อำนาจ"เงิน"
ณคิดว่า "เงิน" คืออะไร? ถ้าอยากรวยส่วนกระแสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเพิ่ม"เงิน" ความสุขให้ตัวเอง คุณก็ควรจะคิดทบทวนดูให้ดี
เงินไม่ใช่สิ่งที่ควบคุมได้ง่าย ๆ อย่างที่เข้าใจกัน เพราะถึงเราจะยึดมั่นในหลักการสักแค่ไหน เงินก็ยังทำให้เผลอไผลได้อย่างง่ายดาย และทุกคนก็มีโอกาสที่จะตกอยู่ภายใต้อำนาจบิดเบือนของเงิน อย่างในผลวิจัยของมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาที่ซี้ว่า แค่เห็นเงิน กลุ่มตัวอย่างก็คิดว่าตัวเองทำแบบทดสอบ ความรู้เรื่องคำศัพท์ได้ดีเกินจริงแล้ว พูดง่ายๆ ก็คือแวบเดียวที่ปรากฎแก่สายตาเงินก็ส่งผลให้เราทำเรื่องโง่ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหนี้ การซื้อของไร้ประโยชน์ หรือการลงทุนผิดพลาด และเราก็ยังอยากมีเงินมากขึ้นเรื่อยๆแม้ผลวิจัยจะชี้ว่าพอสนองความต้องการขั้นพื้นฐานได้ครบแล้ว เงินที่หาได้มากขึ้นก็จะไม่ช่วยเพิ่มความสุขให้เราอีกก็ตาม เราจึงควรจะเลิกดูหมิ่นอำนาจเงินโดยเริ่มที่การหาคำตอบให้ได้ว่าเงินมีอำนาจในแง่มุมใดบ้าง และต้องทำอย่างไรเราถึงจะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจดังกล่าว
เงินคือสิ่งเสพติดแต่คุณก็ใช้อำนาจของงินในแง่มุมนี่ให้เป็นประโยชน์ได้
เมื่อปี 2006 ดร.สตีเฟน เลอา ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยเอกซีเตอร์คิดว่าทฤษฎีการเงินพื้นฐาน (เงินเป็นเพียงเครื่องมือที่เราใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ อาจจะเป็นทฤษฎีที่ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะมีคำถามมากมายที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีดังกล่าว อย่างเช่น ทำไมเงินถึงมีอำนาจดึงดูดใจเกินประโยชน์จริงมากนัก ทำไมเราถึงมองว่าขอแค่มีเงินก็พอ ทั้งๆ ที่ควรจะนำอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นตัวกำหนดมูลค่าที่แท้จริงของเงินมาพิจารณาด้วย และทำไมเงินถึงทำให้เราตาบอดจนมองข้ามประโยชน์สูงสุดของตัวเองได้ทุกครั้ง
แล้วจู่ๆ ดร.เลอาก็เกิดจำการทดลองเก่าแก่ของนักวิจัยคนหนึ่งขึ้นมาได้โดยในครั้งแรกนักวิจัยขอให้กลุ่มตัวอย่างพยายามห้อยตัวจากบาร์โหนให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในครั้งที่สองนักวิจัยขอให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบเดิมและพูดให้กำลังใจไปด้วย ส่วนครั้งที่สามนักวิจัยเปลี่ยนจากการพูดให้กำลังใจเป็น การหยิบธนบัตรห้าดอลลาร์ให้ดูและรับปากว่าถ้าห้อยตัวได้นานกว่าสองครั้งก่อน กลุ่มตัวอย่างจะได้ธนบัตรฉบับนี้ไป ผลปรากฏว่าครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างห้อยตัวได้นานกว่าครั้งแรกประมาณ 2 เท่าและนานกว่าครั้งที่สองถึง 50 เปอร์เซ็นต์
นั่นทำให้ ดร.เลอาเริ่มคิดว่าเงินอาจจะเป็นสิ่งเสพติดอย่างหนึ่งเพราะการคิดถึงเงินทำให้สมองส่วนที่ตอบสนองต่อการได้รางวัลถูกกระตุ้นเหมือนกับตอนที่เสพยา เงินยังเปลี่ยนวิธีคิดของเราด้วย โดยผลวิจัยของมหาวิทยาลัยมินนิโชตาชี้ว่า แค่เราเห็นรูปเงิน สมองก็ถูกกระตุ้นให้มีความจำเกี่ยวกับตัวเลขดีขึ้นและจดจ่อกับผลตอบแทนที่จะได้รับแล้ว และเงินก็เป็นแรงกระตุ้นที่ดีพอๆ กับคาเฟอีนเลยทีเดียว ผลวิจัยเมื่อปี 2006 ชี้ว่ถ้าเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่มีเครื่องเตือนใจให้คิดถึงเงินจะทำงานที่ได้รับมอบหมายได้นานกว่าถึง 70 เปอร์เซ็นต์และผลวิจัยที่ตามมาก็ชี้ว่าเงินยังมีผลเชิงสังคมด้วย คือช่วยเพิ่มความมั่นใจและป้องกันไม่ให้เรารู้สึกแย่เมื่อถูกปฏิเสธ
คอยเตือนใจให้คิดถึงเงิน
พยายามใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาตอบสนองโดยอัตในมัติที่คุณมีต่อเงินอย่างเต็มที่ ตร.แคทลีน โวห์ส ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคนริเริ่มงานวิจัยเรื่องนี้เผยว่า การตกแต่งออฟฟิศด้วยเครื่องเตือนใจที่ทำให้คิดถึงเงินจะช่วยปรับสมองให้อยู่ในภาวะพร้อมทำงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยคุณจะใช้โปรแกรมถนอมหน้าจอที่มี "เงิน" เป็นธีม หรือวานให้เพื่อนมากระซิบคำว่า"เงิน" ที่หูทุกๆ 15 นาทีก็ได้ เครื่องเตือนใจที่ทำให้คิดถึงเงินยังเป็นประโยชน์ต่อคนที่ "ยอมคน" มากเกินไปด้วย โดยผลวิจัยชี้ว่าถ้าเทียบกับคนที่ยินดีจะเสี่ยงกับการทำให้คนอื่นไม่พอใจ คนที่ยอมคนมากเกินไปก็มีรายได้น้อยกว่ามากทีเดียวแต่เครื่องเตือนใจที่ทำให้คิดถึงเงินก็อาจจะช่วยกระตุ้นเตือนให้คุณรู้จักปกป้องสิทธิของตัวเอง ไม่ใช่ยอมคนเสียจนกิดผลดังกล่ำว การเสพติดเงินอาจทำให้เราแย่ถ้าไม่เพลาลงบ้าง ความหมกมุ่นอาจจะทำให้ชีวิตเราแย่ ความนิยมชมชอบเงินมี ทดลองเล่นสล็อตฟรี ผลข้างเคียงมากมายอย่างการเสพติดเงินซึ่งทำให้เราอยากมีเงินมากขึ้นเรื่อยๆหรืออยากมีเงินในจำนวนที่เราเชื่อว่าจำเป็นต้องมีเพื่อที่จะไม่ต้องพึ่งพาใครอีก "แต่ความอยากมั่งมีก็ไม่ได้ทำให้คุณมีความมั่นคงและความสงบทางใจอย่างที่หลายคนเชื่อ" แมนเฟรด เคทส์ เดอ วรีส์ศาสตราจารย์ด้านการพัฒนาความเป็นผู้นำ กล่าวถึงแม้เงินจะเป็นแรงกระตุ้นที่ดีและช่วยเพิ่มความมั่นใจ แต่มีผลวิจัยชี้ว่าเงินจะทำให้เราไม่ค่อยทำบุญขาดทักษะทางสังคมและน่าคบน้อยลง ความอยากมั่งมีแบบไม่รู้จักพอจึงอาจทำให้ชีวิตแย่ อย่างในผลวิจัยของมหาวิทยาลัยมินนิโซตาซึ่งชี้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเครื่องเตือนใจให้คิดถึงเงินจะชอบทำงานคนเดียวมากกว่าทำงานกับคนอื่นถึง 3 เท่า และเวลาที่ต้องเข้าสังคม การคิดถึงเงินก็ทำให้กลุ่มตัวอย่างนั่งห่างกันมากขึ้นประมาณ 1 ฟุต พูดง่ายๆ คือ แค่คิดถึงเงิน เราก็ทนคนอื่นได้น้อยลงแล้ว
เข้าชม : 79
|